แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ที่หนังสือรับสภาพหนี้และขอผ่อนชำระหนี้มีข้อความระบุว่าถ้าจำเลยที่1สามารถชำระหนี้ได้ถูกต้องครบถ้วนตามระยะเวลาที่กำหนดโจทก์จะไม่คิดดอกเบี้ยในหนี้ที่ค้างชำระนั้นแสดงว่าหากจำเลยผ่อนชำระหนี้ตามจำนวนและเวลาที่กำหนดไว้โจทก์ย่อมไม่เสียหายโจทก์จึงไม่คิดดอกเบี้ยแต่ที่ระบุไว้ว่าถ้าจำเลยที่1ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามจำนวนและในเวลาที่กำหนดไม่ว่าในงวดใดให้ถือว่าจำเลยที่1ผิดนัดทุกงวดโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่1ชำระหนี้ที่ค้างพร้อมดอกเบี้ยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแสดงว่าในกรณีที่จำเลยที่1ประพฤติผิดเงื่อนไขและโจทก์เสียหายโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่1ในหนี้ที่ค้างชำระได้ดอกเบี้ยที่กำหนดตามหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวจึงถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้ามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยที่1ผิดนัดไม่ผ่อนชำระหนี้ตามจำนวนเงินและในเวลาที่กำหนดไว้จึงถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่1ได้โจทก์คิดดอกเบี้ยซึ่งเป็นเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีของต้นเงินที่จำเลยที่1ยังค้างชำระเบี้ยปรับจึงไม่สูงเกินส่วน จำเลยไม่ได้ยกปัญหาอายุความดอกเบี้ยค้างส่งขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ และ ขอผ่อนชำระ หนี้ ต่อ โจทก์ โดย ตกลง ผ่อนชำระ เป็น งวด รายเดือนหาก ผิดนัด งวด หนึ่ง งวด ใด ให้ ถือว่า ผิดนัด ทุก งวด โจทก์ มีสิทธิ เรียกร้องให้ จำเลย ที่ 1 ชำระหนี้ ที่ ค้าง ได้ ทันที พร้อม ดอกเบี้ย จำเลย ที่ 1มิได้ ผ่อนชำระ หนี้ ให้ ตรง ตาม ข้อกำหนด ใน สัญญา โจทก์ จึง คิด ดอกเบี้ยแก่ จำเลย ที่ 1 อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ที่ ค้าง นับแต่วัน ผิดสัญญา จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ หุ้นส่วน ผู้จัดการ ของ จำเลย ที่ 1ต้อง ร่วมรับผิด ใน หนี้สิน ดังกล่าว ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันชำระ เงิน จำนวน 155,451.69 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 133,082.84 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ผ่อนชำระ หนี้ให้ โจทก์ แต่ วันที่ ชำระหนี้ และ จำนวนเงิน ที่ ผ่อนชำระ ไม่ ตรง ตามข้อกำหนด ใน สัญญา ซึ่ง โจทก์ ก็ ไม่ได้ ถือว่า จำเลย ที่ 1 ผิดนัด คง ยอมรับชำระหนี้ ที่ จำเลย ที่ 1 ผ่อนชำระ เรื่อย มา จำเลย ที่ 1 ยัง คง ค้างชำระหนี้ โจทก์ เป็น เงิน 38,291.29 บาท โจทก์ ไม่มี สิทธิ คิด ดอกเบี้ยจาก จำนวนเงิน ที่ ค้างชำระ เพราะ โจทก์ มิได้ ยึดถือ เอา จำนวนเงินที่ ผ่อนชำระ และ กำหนด เวลา ชำระ ตาม สัญญา เป็น สาระสำคัญ โจทก์มีสิทธิ เรียกร้อง ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระหนี้ เพียง 38,291.29 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง เท่านั้น
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 โดยนาย สมิทธิ์ สิริพงศ์ไพบูลย์ ผู้ชำระบัญชี และ จำเลย ที่ 2 ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 133,082.84 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 26 กรกฎาคม 2533 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า หนังสือ รับสภาพหนี้ และ ขอ ผ่อนชำระ หนี้เอกสาร หมาย จ. 3 มี ข้อความ ระบุ ไว้ ตอนท้าย ว่า ถ้า จำเลย ที่ 1สามารถ ชำระหนี้ ได้ ถูกต้อง ครบถ้วน ตาม ระยะเวลา ที่ กำหนด โจทก์จะ ไม่ คิด ดอกเบี้ย ใน หนี้ ที่ ยัง ค้างชำระ นั้น แสดง ว่า ถ้า จำเลย ที่ 1สามารถ ผ่อนชำระ หนี้ ตาม จำนวน และ ใน เวลา ที่ กำหนด ไว้ โจทก์ ย่อมไม่เสีย หาย โจทก์ จึง ไม่ คิด ดอกเบี้ย จาก จำเลย ที่ 1 ใน หนี้ที่ ยัง ค้างชำระ แต่ ที่ ระบุ ไว้ ว่า ถ้า จำเลย ที่ 1 ผิดนัด ไม่ชำระ หนี้แก่ โจทก์ ตาม จำนวน และ ใน เวลา ที่ กำหนด ไม่ว่า ใน งวด ใด ให้ ถือว่าจำเลย ที่ 1 ผิดนัด ทุก งวด โจทก์ มีสิทธิ เรียก ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระหนี้ที่ ค้าง พร้อม ดอกเบี้ย ค่าเสียหาย ฯลฯ ที่ เกิดขึ้น นั้น เป็น ข้อ แถลงที่ จำเลย ที่ 1 สัญญา แก่ โจทก์ ว่า จะ ใช้ เงิน จำนวน หนึ่ง เป็น ดอกเบี้ยเมื่อ ตน ผิดนัด ไม่ชำระ หนี้ ทั้งหมด หรือ ชำระหนี้ ไม่ ตรง ตาม กำหนดแสดง ว่า ใน กรณี ที่ จำเลย ที่ 1 ประพฤติ ผิด เงื่อนไข ดังกล่าว ใน สัญญาและ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย โจทก์ จึง มีสิทธิ คิด ดอกเบี้ย จาก จำเลย ที่ 1ใน หนี้ ที่ ยัง ค้างชำระ ได้ ดอกเบี้ย ที่ กำหนด ตาม หนังสือ รับสภาพหนี้และ ขอ ผ่อนชำระ หนี้ ดังกล่าว จึง ถือ เป็น ค่าเสียหาย ที่ กำหนด ไว้ ล่วงหน้ามี ลักษณะ เป็น เบี้ยปรับ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383หาก สูง เกิน ส่วน ศาล มีอำนาจ ลดลง เป็น จำนวน พอสมควร ได้ คดี นี้ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ที่ 1 เริ่ม ผิดนัด ไม่ ผ่อนชำระ หนี้แก่ โจทก์ ตาม จำนวนเงิน และ ใน เวลา ที่ กำหนด ไว้ ตั้งแต่ งวด วันที่12 เมษายน 2527 ซึ่ง เป็น ข้อเท็จจริง ที่ ศาลฎีกา ต้อง ถือ ตาม เมื่อข้อเท็จจริง ต้อง ฟัง ดังกล่าว จึง ถือได้ว่า โจทก์ ได้รับ ความเสียหายเนื่องจาก จำเลย ที่ 1 ไม่ ปฎิบัติ ตาม เงื่อนไข ที่ ตกลง ไว้ ใน สัญญาโจทก์ จึง มีสิทธิ คิด ดอกเบี้ย จาก จำเลย ที่ 1 โดย ถือว่า เป็น เบี้ยปรับตาม บท กฎหมาย ที่ กล่าว ข้างต้น ได้ โดย ไม่จำเป็น ต้อง วินิจฉัย ว่าโจทก์ จะ มีสิทธิ คิด ดอกเบี้ย จาก จำเลย ที่ 1 ได้ ต่อเมื่อ โจทก์ได้ ยึดถือ ข้อกำหนด เรื่อง จำนวนเงิน และ กำหนด เวลา ชำระหนี้ตาม ข้อตกลง ใน สัญญา เป็น สาระสำคัญ และ โจทก์ จะ ต้อง ฟ้องคดี ทันทีเมื่อ จำเลย ที่ 1 ปฏิบัติ ผิด เงื่อนไข ดังกล่าว ดัง ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกาได้ความ ว่า โจทก์ คิด ดอกเบี้ย ซึ่ง เป็น เบี้ยปรับ จาก จำเลย ที่ 1 ใน อัตราร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน ที่ ยัง ค้างชำระ ดังนั้น เบี้ยปรับ ดังกล่าวจึง ไม่ สูง เกิน ส่วน ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ว่า โจทก์ ไม่เคย คิด ดอกเบี้ยใน หนี้ ที่ ค้างชำระ จาก จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 ได้ ผ่อนชำระ หนี้ ให้ โจทก์เกือบ ครบถ้วน แล้ว ยัง คง ค้างชำระ เพียง 3 หมื่น บาท เศษ บัญชี แสดงการ ชำระหนี้ ของ จำเลย ที่ 1 ตาม เอกสาร หมาย จ. 4 ทำ ขึ้น ภายหลังเมื่อ โจทก์ จะ ฟ้องคดี เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัยและ ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า โจทก์ ฟ้องคดี เรียกดอกเบี้ย ค้าง ส่ง จาก จำเลย ที่ 1 เกิน กำหนด อายุความ 5 ปี คดี ของ โจทก์ใน ส่วน ดอกเบี้ย จึง ขาดอายุความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 166 เดิม (มาตรา 193/33 ที่ แก้ไข ใหม่ ) นั้น เห็นว่าจำเลย ทั้ง สอง ไม่ได้ ยก ปัญหา ข้อ นี้ ขึ้น ต่อสู้ ไว้ ใน คำให้การจึง เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ และ อายุความ ดอกเบี้ย ค้าง ส่ง ไม่ใช่ ปัญหา เกี่ยวกับความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ศาลฎีกา จึง ไม่รับ วินิจฉัย
พิพากษายืน