คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยที่1ที่2อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นแต่ศาลอุทธรณ์ภาค1คงพิจารณาและพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่1เท่านั้นการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค1จึงไม่ชอบแต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้วเพื่อให้ขบวนการยุติธรรมดำเนินไปโดยรวดเร็วศาลฎีกาเห็นสมควรพิจารณาพิพากษาไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยอีกได้ การที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้จะต้องเป็นกรณีต้องด้วยมาตรา296วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกล่าวคือเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและเกิดการเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นๆที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีบุคคลดังกล่าวจึงจะมีสิทธิยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีเสร็จลงขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนได้ดังนั้นตามคำร้องของจำเลยที่1ที่อ้างว่าผู้เข้าสู้ราคาเป็นผู้มีส่วนได้เสียและรู้เห็นเป็นใจต่อกันทำให้ทรัพย์สินของจำเลยได้ราคาต่ำนั้นหากจะเป็นความจริงก็มิใช่เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่อาจยกเหตุที่จำเลยที่1อ้างมาเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดและศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขายแล้วหากจำเลยที่2เห็นว่าการขายทอดตลาดเป็นไปโดยมิชอบจำเลยที่2จะต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองก่อนจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาได้ดังนั้นเมื่อจำเลยที่2มิได้ยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดต่อศาลชั้นต้นจำเลยที่2จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งดังกล่าวได้

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น พิพากษา ตามยอม ให้ จำเลย ทั้ง สี่ร่วมกัน ชำระ เงิน 1,189,748.78 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 17.5ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 1,129,630.76 บาท นับ ตั้งแต่ วันที่ 30 เมษายน2534 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ และ ร่วมกัน ชำระค่าฤชาธรรมเนียม ที่ ศาล ไม่ สั่ง คืน เฉพาะ ค่า ทนายความ 5,000 บาทแทน โจทก์ จำเลย ทั้ง สี่ ไม่ปฏิบัติ ตาม คำพิพากษา โจทก์ ขอบังคับคดีและ นำ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึด ที่ดิน โฉนด เลขที่ 607 ตำบล ปากช่อง อำเภอ ปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา พร้อม ตึกแถว 2 ชั้น 1 คู หา ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ออก ขายทอดตลาด เพื่อ ชำระหนี้ ตาม คำพิพากษามี การ ขายทอดตลาด รวม 5 ครั้ง ครั้งสุดท้าย โจทก์ เป็น ผู้ ให้ ราคาสูงสุด เป็น เงิน จำนวน 600,000 บาท ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง อนุญาต ให้ ขาย
จำเลย ที่ 1 ยื่น คำร้อง ว่า การ ขายทอดตลาด ไม่สุจริต เพราะ มีตัวแทน โจทก์ และ เจ้าหน้าที่ ฝ่าย สินเชื่อ ของ โจทก์ เป็น ผู้ สู้ราคาเพียง 2 ราย และ ราคา ที่ ขาย ต่ำ ไป ราคา ซื้อ ขาย ทั่วไป ไม่ ต่ำกว่า1,000,000 บาท
ศาลชั้นต้น สั่ง คำร้อง ว่า จาก การ ดำเนินการ ขายทอดตลาด ที่ ผ่าน มาจำเลย ชอบ ที่ จะ หา ผู้ มา สู้ราคา ได้ แต่ ปรากฏว่า จำเลย ไม่เคย ดำเนินการจึง ไม่มี เหตุ เปลี่ยนแปลง คำสั่ง เดิม ยกคำร้อง
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์ คำสั่ง
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์ คำสั่งของ ศาลชั้นต้น แต่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 คง พิจารณา และ พิพากษา เฉพาะ อุทธรณ์คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 1 เท่านั้น การ พิจารณา คดี ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 จึงไม่ชอบ แต่เมื่อ คดี ขึ้น มา สู่ ศาลฎีกา แล้ว ดังนี้ เพื่อ ให้ ขบวน การยุติธรรม ดำเนิน ไป โดย รวดเร็ว ศาลฎีกา เห็นสมควร พิจารณา พิพากษา ไปโดย ไม่ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย อีก สำหรับฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 นั้น เห็นว่า เมื่อ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ดำเนินการขายทอดตลาด ทรัพย์ ที่ ยึด และ ศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ ขาย แล้ว หาก จำเลยที่ 2 เห็นว่า การ ขายทอดตลาด เป็น ไป โดยมิชอบ จำเลย ที่ 2 จะ ต้องยื่น คำร้องคัดค้าน ต่อ ศาลชั้นต้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง เสีย ก่อน จึง จะ ใช้ สิทธิ อุทธรณ์ หรือ ฎีกา ได้แต่ คดี นี้ จำเลย ที่ 2 หา ได้ ยื่น คำร้องคัดค้าน การ ขายทอดตลาด ต่อศาลชั้นต้น ไม่ จำเลย ที่ 2 จึง ไม่มี สิทธิ อุทธรณ์ หรือ ฎีกา คำสั่งดังกล่าว ได้ แม้ ศาลชั้นต้น จะ สั่ง รับ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ขึ้น มาศาลฎีกา ก็ ไม่รับ วินิจฉัย ให้
ส่วน ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ที่ ว่า การ ขายทอดตลาด เป็น การ ขาย โดยไม่สุจริต และ ฝ่าฝืน ต่อ กฎหมาย เนื่องจาก ผู้ เข้า สู้ราคา มี ส่วนได้เสียและ รู้เห็นเป็นใจ ต่อ กัน ทำให้ ทรัพย์สิน ของ จำเลย ขาย ได้ ราคา ต่ำกว่า ความ เป็น จริง นั้น เห็นว่า การ ที่ ศาล จะ สั่ง เพิกถอน การ ขายทอดตลาดได้ จะ ต้อง เป็น กรณี ต้องด้วย มาตรา 296 วรรคสอง แห่ง ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง กล่าว คือ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ต้อง ดำเนินการ บังคับคดี ฝ่าฝืน ต่อ บทบัญญัติ แห่ง ลักษณะ การ บังคับคดี ตาม คำพิพากษาหรือ คำสั่ง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และ เกิด การ เสียหายแก่ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ ตาม คำพิพากษา หรือ บุคคลอื่น ๆที่ มี ส่วนได้เสีย ใน การ บังคับคดี บุคคล ดังกล่าว จึง จะ มีสิทธิ ยื่นคำขอ โดย ทำ เป็น คำร้อง ต่อ ศาล ก่อน การ บังคับคดี เสร็จ ลง ขอให้ งด การบังคับคดี ไว้ ก่อน ได้ ตาม คำร้องขอ งจำเลย ที่ 1 ที่ อ้างว่า ผู้ เข้า สู้ราคา เป็น ผู้มีส่วนได้เสีย และ รู้เห็นเป็นใจ ต่อ กัน ทำให้ ทรัพย์สินของ จำเลย ได้ ราคา ต่ำ นั้น หาก จะ เป็น ความจริง ก็ มิใช่ เป็น การกระทำของ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ส่วน ข้ออ้าง ที่ ว่า ขาย ได้ ใน ราคา ต่ำกว่าความ เป็น จริง นั้น ก็ ปรากฏว่า ใน ขณะ ทำการ ยึดทรัพย์สิน เจ้าพนักงานบังคับคดี ประเมิน ราคา ทรัพย์ ที่ ยึด ไว้ เพียง 350,000 บาท เท่านั้นอีก ทั้ง ทรัพย์ ดังกล่าว ได้ มี การ ประกาศ ขายทอดตลาด ถึง 5 ครั้ง แล้วโดย ครั้งแรก และ ครั้งที่ ห้า ทิ้ง ระยะ ห่าง กัน ถึง 7 เดือน และ ใน การ ขายทุกครั้ง มี ผู้ ให้ ราคา สูงสุด เพียง 600,000 บาท ซึ่ง จำเลย ที่ 1ก็ ค้าน ว่า ราคา ที่ มี ผู้ประมูล ได้ ต่ำ ไป ทุกครั้ง อีก ทั้ง จำเลย ที่ 1เคย แถลง ขอให้ ชะลอ การ ขาย ใน ครั้งก่อน โดย รับ ว่า จะ หา ผู้ สนใจ มา สู้ราคาหาก ไม่สามารถ หา ผู้ สนใจ มา สู้ราคา ใน นัด หน้า ได้ ก็ จะ ไม่ คัดค้าน ราคาสูงสุด ดังกล่าว อีก ดังนี้ ข้ออ้าง ของ จำเลย ที่ 1 ที่ ว่า ขาย ทรัพย์ไป ต่ำกว่า ความ เป็น จริง จึง ฟังไม่ขึ้น กรณี เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 1ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัย ให้ยก คำร้อง ต้อง กัน มา ศาลฎีกา เห็นพ้องด้วย ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share