คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ทำสัญญาตกลงจ่ายค่าตอบแทนเป็นค่าสิทธิในการใช้ชื่อและเครื่องหมายการค้าให้แก่บริษัท ซ. และโจทก์ยังได้ทำสัญญาจ่ายค่าตอบแทนการให้ความรู้ทางวิศวกรรมกับบริษัท น. โดยบริษัท ซ. และบริษัท น. มีสำนักงานบริษัทตั้งอยู่ที่ เวเว่ย์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ แห่งเดียวกันสัญญาที่โจทก์ทำกับบริษัททั้งสองดังกล่าวมีอายุสัญญาและมีรายละเอียดเริ่มต้นกับวันสิ้นสุดเหมือนกันทั้งมีเงื่อนไขว่าหากบริษัท น. เลิกสัญญากับโจทก์บริษัท ซ.ก็มีสิทธิเลิกสัญญากับโจทก์เช่นเดียวกันและสัญญาทั้งสองฉบับยังระบุให้บริษัททั้งสองซึ่งเป็นสัญญากับโจทก์จัดหาและแนะนำกรรมวิธีการผลิตตำรับสูตรหรือความรู้อื่นที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์ของโจทก์โดยเฉพาะข้อตกลงซึ่งโจทก์ทำไว้กับบริษัท น. นั้นนอกจากบริษัท น. จะต้องให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับเทคนิคทางวิศวกรรมแล้วยังต้องให้ข้อแนะนำวิธีในการผลิตแก่โจทก์ศึกษาและแนะนำวิธีการใช้กรรมวิธีใหม่และพัฒนาให้ดีขึ้นส่วนบริษัท ซ.ไม่ปรากฏว่าเคยให้ข้อแนะนำแก่โจทก์เกี่ยวกับเรื่องสูตรหรือกรรมวิธีการผลิตเลยแสดงว่าการผลิตของโจทก์อยู่ภายใต้เงื่อนไขและควบคุมของบริษัท น. เงินค่าตอบแทนที่บริษัท น. ได้รับจึงไม่ใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระประเภทวิศวกรรมตามความหมายของประมวลรัษฎากรมาตรา40(6)แต่เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทค่าแห่งสิทธิตามมาตรา40(3) บริษัท น. เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยดังนั้นเงินได้ซึ่งบริษัท น.ได้รับจากโจทก์โจทก์ต้องหักภาษีแล้วนำส่งจำเลยตามประมวลรัษฎากรมาตรา70(2)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน หนังสือ แจ้ง ให้ นำ ส่ง ภาษีเงินได้ นิติบุคคลที่ 3.4/1041/2/04211-04215 และ ให้ เพิกถอน คำวินิจฉัย อุทธรณ์ เลขที่16/2536/1 หาก ฟัง ว่า เป็น กรณี ตาม มาตรา 40(3) แห่ง ประมวลรัษฎากรขอให้ งด หรือ ลด เงินเพิ่ม ให้ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า การ ประเมิน ภาษี ของ โจทก์ โดย เจ้าพนักงาน ประเมินและ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ นั้น ถูกต้องตาม ความ เป็น จริง และ ชอบ ด้วย กฎหมาย แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลาง พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ เพิกถอน การ ประเมินภาษี ตาม หนังสือ แจ้ง ให้ นำ ส่ง ภาษีเงินได้ นิติบุคคล ที่ต.4/1041/2/04211-04215 รวม 5 ฉบับ และ ให้ เพิกถอน คำวินิจฉัยอุทธรณ์ เลขที่ 16/2536/1 ให้ จำเลย ชำระ ค่าฤชาธรรมเนียม แทน โจทก์โดย กำหนด ค่า ทนายความ ให้ 40,000 บาท
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้น ฟังได้ จาก พยานหลักฐาน โจทก์ และ พยานหลักฐาน จำเลย ว่าโจทก์ เป็น บริษัท จำกัด ผลิต ครี มเทียม ยี่ห้อ คอฟฟี่เมต ใน ประเทศ ไทย โดย ก่อน วันที่ 1 กรกฎาคม 2528 โจทก์ ได้รับ อนุญาต ให้ ใช้ เครื่องหมายการค้า จาก บริษัท คาร์เนชั่น ประเทศ สหรัฐ อเมริกา จำกัด โดย โจทก์ จะ ต้อง จ่าย ค่าตอบแทน เป็น ค่า สิทธิ ใน การ ใช้ ชื่อ และ เครื่องหมายการค้าให้ บริษัท คาร์เนชั่น ประเทศ สหรัฐ อเมริกา จำกัด ร้อยละ 5 ของ ยอด ขาย สุทธิ หลังจาก วันที่ 1 กรกฎาคม 2528 บริษัท คาร์เนชั่น ประเทศ สหรัฐ อเมริกา จำกัด ได้ โอนสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ให้ แก่บริษัท โซซิเอเต้ เดส์ โปรดุยต์ส เนสท์เล่ เอส.อา. จำกัด โจทก์ จึง ตกลง จ่าย ค่า สิทธิ ให้ แก่ บริษัท โซซิเอเต้ เดส์ โปรดุยต์ส เนสท์เล่ เอส.อา. จำกัด ใน อัตรา ร้อยละ 4 ของ ยอด ขาย สุทธิ ปรากฏ ตาม สัญญา เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 80 นอกจาก นี้ โจทก์ ยัง ได้ ทำ สัญญาการ ให้ ความรู้ ทาง วิศวกรรม กับ บริษัท เนสท์เท็ค จำกัด โดย จะ ต้อง จ่าย ค่าตอบแทน ให้ บริษัท เนสท์เท็ค จำกัด อีก ร้อยละ 2.5 ของ ยอด ขาย สุทธิ ตาม สัญญา เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 73 มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัยตาม อุทธรณ์ ของ จำเลย ว่า ค่าตอบแทน ที่ โจทก์ จ่าย ให้ บริษัท เนสท์เท็ค จำกัด ตาม สัญญา เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 73 เป็น เงินได้พึงประเมินตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(3) หรือ 40(6) เห็นว่า บริษัท โซซิเอเต้ เดส์ โปรดุยต์ส เนสท์เล่ เอส.อา. จำกัด กับ บริษัท เนสท์เท็ค จำกัด มี สำนักงาน บริษัท ตั้ง อยู่ ที่ เวเว่ย์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ แห่ง เดียว กัน สัญญา ที่ โจทก์ ทำ กับ บริษัท ทั้ง สอง ดังกล่าว มี อายุ สัญญาและ มี รายละเอียด เริ่มต้น กับ วันสิ้นสุด เหมือนกัน คือ เริ่ม แต่ วันที่1 กรกฎาคม 2528 และ สิ้นสุด ใน วันที่ 1 มกราคม 2533 ดัง ปรากฏ ตามเอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 77 และ แผ่น ที่ 86 ทั้ง มี เงื่อนไข ว่า หากบริษัท เนสท์เท็ค จำกัด เลิกสัญญา กับ โจทก์ บริษัท โซซิเอเต้ เดส์ โปรดุยต์ส เนสท์เล่ เอส.อา. จำกัด ก็ มีสิทธิ เลิกสัญญา กับ โจทก์ เช่นเดียวกัน ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 87 ข้อ 24(จ) สัญญาทั้ง สอง ฉบับ ดังกล่าว นอกจาก ระบุ ให้ โจทก์ ใช้ เครื่องหมายการค้า และบริษัท เนสท์เท็ค จำกัด จะ ต้อง ให้ ความ ช่วยเหลือ ทาง วิศวกรรม แล้ว ยัง ระบุ ใน ข้อ 3 ของ สัญญา อนุญาต ให้ ใช้ เครื่องหมายการค้า และ ข้อ 2ของ สัญญา การ ให้ ความรู้ ทาง วิศวกรรม ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 81และ แผ่น ที่ 74 ตามลำดับ ให้ บริษัท ทั้ง สอง ซึ่ง เป็น คู่สัญญา กับโจทก์ จัดหา และ แนะนำ กรรมวิธี การ ผลิต ตำ รับ สูตร หรือ ความรู้ อื่นที่ เกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ ของ โจทก์ โดยเฉพาะ ข้อตกลง ซึ่ง โจทก์ ได้ทำ ไว้ กับ บริษัท เนสท์เท็ค จำกัด ตาม สัญญา เอกสาร หมาย ล. 1 ข้อ 1และ ข้อ 2 นั้น นอกจาก บริษัท เนสท์เท็ค จำกัด จะ ต้อง ให้ ความ ช่วยเหลือ เกี่ยวกับ เทคนิค ทาง วิศวกรรม เพื่อ ให้การ ผลิต มี ประสิทธิภาพและ รักษา ระดับ คุณภาพ ของ ผลิตภัณฑ์ ให้ ได้ มาตรฐาน สูง แล้ว บริษัท เนสท์เท็ค จำกัด ยัง ต้อง ให้ ข้อ แนะนำ วิธี ใน การ ผลิต แก่ โจทก์ ศึกษา และ แนะนำ วิธีการ ใช้ กรรมวิธี ใหม่ และ พัฒนา ให้ ดี ขึ้น ดัง ปรากฏจาก คำเบิกความ ของ นาง ชลลดา ฟูวัฒน์ศิลป์ เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบ ภาษี ของ จำเลย ว่า เงิน ตอบแทน ที่ โจทก์ จ่าย ให้ แก่ บริษัท เนสท์เท็ค จำกัด นั้น เป็น ค่าบริการ เกี่ยวกับ กรณี ที่ บริษัท เนสท์เท็ค จำกัด ให้ คำแนะนำ ใน เรื่อง กรรมวิธี การ ผลิต สินค้า โดย มี ข้อกำหนด ให้ โจทก์เก็บรักษา คำแนะนำ ไว้ เป็น ความลับ เมื่อ เลิกสัญญา แล้ว ต้อง ส่ง เอกสารต่าง ๆ คืน ส่วน บริษัท โซซิเอเต้ เดส์ โปรดุยส์ เนสท์เล่ เอส.อา. จำกัด นั้น ไม่ปรากฏ ว่า เคย ให้ ข้อ แนะนำ แก่ โจทก์ เกี่ยวกับ เรื่องสูตร หรือ กรรมวิธี การ ผลิต เลย จึง แสดง ให้ เห็น ได้ว่า การ ผลิต ของ โจทก์อยู่ ภายใต้ เงื่อนไข และ การ ควบคุม ดูแล ของ บริษัท เนสท์เท็ค จำกัด เงิน ค่าตอบแทน ที่ บริษัท เนสท์เท็ค จำกัด ได้รับ จึง ไม่ ใช้ เงินได้ จาก วิชาชีพ อิสระ ประเภท วิศวกรรม ตาม ความหมาย ของ ประมวลรัษฎากรมาตรา 40(6) หาก แต่ เป็น ค่าตอบแทน ที่ โจทก์ ได้ สิทธิ ใน การ ผลิต ครี มเทียมยี่ห้อ คอฟฟี่เมต ตาม สูตร และ ความรู้ ที่ ได้รับ ตาม ข้อ แนะนำ เกี่ยวกับ กรรมวิธี การ ผลิต ของ บริษัท เนสท์เท็ค จำกัด ตลอด เวลา ของ อายุ สัญญา ที่ ได้ ทำ กัน ไว้ ซึ่ง โจทก์ จะ ต้อง รักษา ไว้ เป็น ความลับ และ ส่ง คืนบรรดา เอกสาร ทั้งปวง ที่ เกี่ยวกับ สูตร และ ความรู้ ดังกล่าว แก่ บริษัท เนสท์เท็ค จำกัด เมื่อ สิ้น อายุ สัญญา หรือ สัญญา เลิก เงินได้ ดังกล่าว เป็น เงินได้พึงประเมิน ประเภท ค่า แห่ง สิทธิ ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 40(3) ที่ บริษัท เนสท์เท็ค จำกัด ซึ่ง เป็น บริษัท ที่ ตั้ง ขึ้น ตาม กฎหมาย ของ ต่างประเทศ และ มิได้ ประกอบ กิจการ ใน ประเทศ ไทย ได้รับจาก โจทก์ โจทก์ ต้อง หัก ภาษี แล้ว นำ ส่ง ต่อ จำเลย ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 70(2) ที่ ใช้ บังคับ อยู่ ใน ขณะ นั้น การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงานประเมิน และ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ชอบ ด้วยกฎหมาย แล้ว ที่ ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วยอุทธรณ์ ของ จำเลย ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์

Share