คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยที่3ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองสวัสดิการของโจทก์ตั้งแต่วันที่5กุมภาพันธ์2519ถึงวันที่14พฤศจิกายน2519แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่3เมื่อวันที่1กรกฎาคม2528แม้จะฟังว่าโจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนด1ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ตามแต่เมื่อนับถึงวันที่จำเลยที่3ทำละเมิดก็ต้องหมายถึงว่าในขณะที่จำเลยที่3ปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งหัวหน้ากองสวัสดิการของโจทก์นั่นเองดังนั้นการทำละเมิดของจำเลยที่3ต่อโจทก์ช่วงตั้งแต่วันที่5กุมภาพันธ์2519ถึงวันที่30มิถุนายน2519ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนฟ้อง10ปีฟ้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคหนึ่งโจทก์คงฟ้องจำเลยที่3ได้เฉพาะการทำละเมิดในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่1กรกฎาคม2519ถึงวันที่14พฤศจิกายน2519ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน10ปีเท่านั้น โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่3ที่4ที่6ที่8และที่9ปฎิบัติหน้าที่ราชการโดยความบกพร่องและโดยความประมาทเลินเล่อไม่ปฎิบัติตามระเบียบที่โจทก์กำหนดไว้อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริงไม่ใช่ฎีกาโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายของระเบียบหรือคำสั่งของโจทก์อันจะเป็นข้อกฎหมายเมื่อโจทก์ฎีกาให้จำเลยที่3ที่4ที่6ที่8และที่9รับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่3ร่วมรับผิดไม่เกิน140,645บาทจำเลยที่4ร่วมรับผิดไม่เกิน70,820บาทจำเลยที่6ร่วมรับผิดไม่เกิน64,145บาทจำเลยที่8ร่วมรับผิดไม่เกิน97,835บาทและจำเลยที่9ร่วมรับผิดไม่เกิน104,400บาทแยกจากกันจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่างโจทก์กับจำเลยที่3ที่4ที่6ที่8และที่9แต่ละรายไม่เกิน200,000บาทคดีโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง หนี้ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่10และที่11ชดใช้ให้แก่โจทก์จำนวน264,735บาทและจำนวน277,320บาทตามลำดับเป็นหนี้ที่ถึงที่สุดแล้วโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและหนี้ทั้งสองจำนวนดังกล่าวแม้จะเป็นหนี้ร่วมกับจำเลยอื่นอันเกิดจากมูลละเมิดก็ตามแต่เกิดจากการกระทำที่แตกต่างกันและศาลชั้นต้นก็ได้แยกความรับผิดที่จำเลยอื่นจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่10และที่11ไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยคนไหนจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่10และที่11ต่อโจทก์จึงเป็นหนี้ที่แบ่งแยกได้เมื่อหนี้ที่จำเลยที่10และที่11จะต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยอื่นที่อุทธรณ์เป็นหนี้ที่แบ่งแยกได้คดีของจำเลยที่10และที่11จึงไม่ได้ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ศาลอุทธรณ์จะอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่10และที่11ที่คดีถึงที่สุดโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วเพื่อมิให้จำเลยที่10และที่11ต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ด้วยไม่ได้ ฎีกาของจำเลยที่9ในข้อที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่9ขาดอายุความนั้นเมื่อตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยที่9ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ฎีกาของจำเลยที่9ทุกข้อจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า ขณะเกิดเหตุคดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 11เป็นข้าราชการของโจทก์ได้ร่วมกันโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายกล่าวคือ เมื่อระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2518 ถึงวันที่ 26สิงหาคม 2519 ขณะจำเลยที่ 10 ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฌาปนสถานและสุสาน และระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม 2519 ถึงวันที่ 28กุมภาพันธ์ 2521 ขณะจำเลยที่ 11 ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฌาปนสถานและสุสาน จำเลยที่ 10 และที่ 11 มีหน้าที่นำเงินค่าบำรุงและเงินรายได้อย่างอื่นของฌาปนสถานและสุสานส่งกองสวัสดิการของโจทก์ แต่จำเลยที่ 10 และที่ 11 ได้ปฎิบัติหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อมิได้ปฎิบัติให้เป็นไปตามระเบียบราชการที่โจทก์กำหนดไว้ โดยจำเลยที่ 10 และที่ 11 ต่างนำเงินรายได้และเงินค่าบำรุงต่าง ๆ ของฌาปนสถานและสุสานไปจ่ายเป็นค่าแรงงานให้แก่ตนเองและจำเลยที่ 12 ถึงที่ 47 โดยไม่ชอบด้วยระเบียบและไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ โดยจำเลยที่ 10 ได้จ่ายเงินไประหว่างเดือนมกราคม 2518 ถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2519เป็นเงินทั้งสิ้น 264,735 บาท และจำเลยที่ 11 ได้จ่ายเงินไประหว่างวันที่ 27 สิงหาคม 2519 ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2521เป็นเงิน 277,320 บาท อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ขณะที่ต่างดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองสวัสดิการ และจำเลยที่ 7 ถึงที่ 9 ในฐานะรองหัวหน้ากองสวัสดิการ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบการปฎิบัติงานตามหน้าที่ของจำเลยที่ 10 และที่ 11 ได้ปฎิบัติหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อมิได้ควบคุมดูแลให้จำเลยที่ 10 และที่ 11ปฎิบัติหน้าที่ราชการให้ถูกต้องตามระเบียบของโจทก์ที่กำหนดไว้เป็นเหตุให้จำเลยที่ 10 และที่ 11 นำเงินรายได้และเงินค่าบำรุงของฌาปนสถานและสุสานไปจ่ายเป็นค่าแรงต่าง ๆ โดยไม่ชอบด้วยระเบียบและไม่มีอำนาจกระทำได้ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น542,055 บาท จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 จึงต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 10 และที่ 11 ในจำนวนเงินดังกล่าวตามระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง กล่าวคือ ระหว่างเดือนมกราคม 2518 ถึงเดือนเมษายน 2518จำเลยที่ 10 ได้จ่ายเงินเป็นค่าแรงงานให้ตนเองและให้แก่จำเลยที่ 12ที่ 13 ที่ 15 ที่ 16 ที่ 18 ที่ 19 ที่ 21 ที่ 22 ที่ 23 ที่ 28ที่ 29 ที่ 30 ที่ 35 ที่ 36 ที่ 42 และที่ 44 รวมเป็นเงิน36,440 บาท จำเลยที่ 1 ในฐานะหัวหน้ากองสวัสดิการและจำเลยที่ 7ในฐานะรองหัวหน้ากองสวัสดิการต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 10ชดใช้เงินจำนวน 36,440 บาท ให้โจทก์ เดือนพฤษภาคม 2518จำเลยที่ 10 ได้จ่ายเงินค่าแรงงานให้แก่จำเลยที่ 13 ที่ 15ที่ 16 ที่ 18 ที่ 19 ที่ 21 ที่ 22 ที่ 23 ที่ 28 ที่ 35 ที่ 36ที่ 42 และที่ 44 รวมเป็นเงิน 12,205 บาท จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 10 ใช้เงินจำนวน 12,205 บาท ให้โจทก์ระหว่างเดือนมิถุนายน 2518 ถึงเดือนมกราคม 2519 จำเลยที่ 10 ได้จ่ายเงินค่าแรงงานให้แก่จำเลยที่ 12 ที่ 13 ที่ 15 ที่ 16 ที่ 18ที่ 19 ที่ 20 ที่ 21 ที่ 22 ที่ 23 ที่ 28 ที่ 29 ที่ 31 ที่ 35ที่ 36 ที่ 42 ที่ 43 และที่ 44 รวมเป็นเงิน 97,835 บาทจำเลยที่ 2 ในฐานะหัวหน้ากองสวัสดิการ และจำเลยที่ 8 ในฐานะรองหัวหน้ากองสวัสดิการต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 10 ชดใช้เงินจำนวน 97,835 บาท ให้โจทก์ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2519 ถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2519 จำเลยที่ 10 ได้จ่ายเงินค่าแรงงานให้แก่จำเลยที่ 11 ที่ 13 ที่ 15 ที่ 16 ที่ 18 ที่ 19 ที่ 20 ที่ 21ที่ 22 ที่ 23 ที่ 28 ที่ 29 ที่ 30 ที่ 32 ที่ 35 ที่ 36 ที่ 42และที่ 44 รวมเป็นเงิน 118,255 บาท และระหว่างวันที่ 27สิงหาคม 2519 ถึงเดือนตุลาคม 2519 จำเลยที่ 11 ได้จ่ายเงินค่าแรงงานให้ตนเองและให้แก่จำเลยที่ 13 ถึงที่ 16 ที่ 18 ถึงที่ 23 ที่ 28 ถึงที่ 30 ที่ 32 ที่ 35 ที่ 36 และที่ 42 รวมเป็นเงิน 22,390 บาท จำเลยที่ 3 ในฐานะหัวหน้ากองสวัสดิการและจำเลยที่ 8 ในฐานะรองหัวหน้ากองสวัสดิการต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 10 ใช้เงินจำนวน 118,255 บาท ให้โจทก์ และจำเลยที่ 3กับจำเลยที่ 8 ต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 11 ชดใช้เงินจำนวน22,390 บาท ให้โจทก์ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2519 ถึงเดือนมีนาคม 2520 จำเลยที่ 11 ได้จ่ายเงินค่าแรงงานให้แก่จำเลยที่ 13ถึงที่ 16 ที่ 18 ถึงที่ 23 ที่ 26 ที่ 28 ถึงที่ 30 ที่ 32ที่ 35 ถึงที่ 42 เป็นเงิน 70,820 บาท จำเลยที่ 4 ในฐานะหัวหน้ากองสวัสดิการ และจำเลยที่ 8 ในฐานะรองหัวหน้ากองสวัสดิการต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 11 ชดใช้เงินจำนวน 70,820 บาทให้โจทก์ ระหว่างเดือนเมษายน 2520 ถึงเดือนกันยายน 2520จำเลยที่ 11 ได้จ่ายเงินค่าแรงงานให้แก่จำเลยที่ 13 ถึงที่ 29,ที่ 32 ถึงที่ 42 ที่ 45 และที่ 46 รวมเป็นเงิน 104,400 บาทจำเลยที่ 4 ในฐานะหัวหน้ากองสวัสดิการและจำเลยที่ 9 ในฐานะรองหัวหน้ากองสวัสดิการต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 11 ชดใช้เงินจำนวน 104,400 บาท ให้โจทก์เดือนตุลาคม 2520 จำเลยที่ 11ได้จ่ายเงินค่าแรงงานให้แก่จำเลยที่ 13 ถึงที่ 23 ที่ 25ที่ 26 ที่ 28 ที่ 29 ที่ 32 ที่ 35 ที่ 37 ที่ 39 ที่ 40ที่ 42 ที่ 46 และที่ 47 รวมเป็นเงิน 15,565 บาท จำเลยที่ 5ในฐานะผู้รักษาราชการแทนในตำแหน่งหัวหน้ากองสวัสดิการและจำเลยที่ 9 ในฐานะรองหัวหน้ากองสวัสดิการต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 11 ชดใช้เงินจำนวน 15,565 บาท ให้โจทก์ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2520 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2521 จำเลยที่ 11 ได้จ่ายเงินค่าแรงงานให้แก่จำเลยที่ 13 ถึงที่ 26 ที่ 28 ที่ 29ที่ 32 ถึงที่ 35 ที่ 37 ที่ 39 ที่ 40 ที่ 42 ที่ 45 ถึงที่ 47รวมเป็นเงิน 64,145 บาท จำเลยที่ 6 ในฐานะหัวหน้ากองสวัสดิการและจำเลยที่ 9 ในฐานะรองหัวหน้ากองสวัสดิการต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 11 ชดใช้เงินจำนวน 64,145 บาทให้โจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 10 ชดใช้เงินให้โจทก์เป็นเงิน 48,645 บาท จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 10ชดใช้เงินให้โจทก์เป็นเงิน 97,835 บาท จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 10 และ ที่ 11 ชดใช้เงินให้โจทก์จำนวน140,645 บาท จำเลยที่ 4 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 11 ชดใช้เงินให้โจทก์จำนวน 175,220 บาท จำเลยที่ 5 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 11 ชดใช้เงินให้โจทก์จำนวน 15,565 บาท จำเลยที่ 6ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 11 ชดใช้เงินให้โจทก์จำนวน 64,145บาท จำเลยที่ 7 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 10 ชดใช้เงินให้โจทก์จำนวน 36,440 บาท จำเลยที่ 8 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 และที่ 10 ชดใช้เงินให้โจทก์จำนวน 97,835 บาท และต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 และที่ 10 ชดใช้เงินให้โจทก์จำนวน 118,255 บาท และต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 และที่ 11ชดใช้เงินให้โจทก์จำนวน 22,390 บาท และต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 และที่ 11 ชดใช้เงินให้โจทก์จำนวน 70,820 บาทรวมแล้วจำเลยที่ 8 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4ที่ 10 และที่ 11 ชดใช้เงินให้โจทก์จำนวน 309,300 บาท จำเลยที่ 9ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 และที่ 11 ชดใช้เงินให้โจทก์จำนวน 104,400 บาท ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 5 และที่ 11ชดใช้เงินให้โจทก์จำนวน 15,565 บาท และต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 6 และที่ 11 ชดใช้เงินให้โจทก์ จำนวน 64,145 บาทรวมแล้วจำเลยที่ 9 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 4 ที่ 5 ที่ 6และที่ 11 ชดใช้เงินให้โจทก์จำนวน 184,110 บาท การที่จำเลยที่ 10และที่ 11 ปฎิบัติหน้าที่ราชการโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายรวมเป็นเงิน 542,055 บาท ซึ่งเงินดังกล่าวจำเลยที่ 10ถึงจำเลยที่ 47 ได้รับไปแล้ว แต่ปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายจำเลยที่ 10 ถึงที่ 47 จึงต้องคืนเงินจำนวนที่แต่ละคนรับไปให้แก่โจทก์ โจทก์โดยพลตำรวจโทประกอบ วีระพันธ์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจปฎิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจได้รู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ถึงตัวจำเลยผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนและรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2528เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้เรียกร้องและทวงถามให้จำเลยทั้งหมดชดใช้และคืนเงินแล้ว จำเลยทั้งหมดเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยที่ 10ถึงที่ 47 คืนเงินให้โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 10 คืนเงินจำนวน60 บาท จำเลยที่ 11 คืนเงินจำนวน 1,235 บาท จำเลยที่ 12 คืนเงินจำนวน 640 บาท จำเลยที่ 13 คืนเงินจำนวน 8,600 บาทจำเลยที่ 14 คืนเงินจำนวน 7,350 บาท จำเลยที่ 15 คืนเงินจำนวน37,085 บาท จำเลยที่ 16 คืนเงินจำนวน 39,255 บาท จำเลยที่ 17คืนเงินจำนวน 2,880 บาท จำเลยที่ 18 คืนเงินจำนวน 41,077บาท จำเลยที่ 19 คืนเงินจำนวน 42,861 บาท จำเลยที่ 20 คืนเงินจำนวน 27,900 บาท จำเลยที่ 21 คืนเงินจำนวน 35,881 บาทจำเลยที่ 22 คืนเงินจำนวน 37,131 บาท จำเลยที่ 23 คืนเงินจำนวน 36,866 บาท จำเลยที่ 24 คืนเงินจำนวน 195 บาทจำเลยที่ 25 คืนเงินจำนวน 3,135 บาท จำเลยที่ 26 คืนเงินจำนวน 6,465 บาท จำเลยที่ 27 คืนเงินจำนวน 30 บาท จำเลยที่ 28คืนเงินจำนวน 54,782 บาท จำเลยที่ 29 คืนเงินจำนวน 44,307จำเลยที่ 30 คืนเงินจำนวน 6,307 บาท จำเลยที่ 31 คืนเงินจำนวน1,380 บาท จำเลยที่ 32 คืนเงินจำนวน 21,920 บาท จำเลยที่ 33คืนเงินจำนวน 720 บาท จำเลยที่ 34 คืนเงินจำนวน 525 บาทจำเลยที่ 35 คืนเงินจำนวน 9,825 บาท จำเลยที่ 36 คืนเงินจำนวน6,730 บาท จำเลยที่ 37 คืนเงินจำนวน 4,815 บาท จำเลยที่ 38คืนเงินจำนวน 1,905 บาท จำเลยที่ 39 คืนเงินจำนวน 5,660 บาทจำเลยที่ 40 คืนเงินจำนวน 6,705 บาท จำเลยที่ 41 คืนเงินจำนวน2,265 บาท จำเลยที่ 42 คืนเงินจำนวน 33,953 บาท จำเลยที่ 43คืนเงินจำนวน 345 บาท จำเลยที่ 44 คืนเงินจำนวน 6,480 บาทจำเลยที่ 45 คืนเงินจำนวน 365 บาท จำเลยที่ 46 คืนเงินจำนวน3,405 บาท จำเลยที่ 47 คืนเงินจำนวน 915 บาท ถ้าจำเลยที่ 10ถึงที่ 47 ไม่คืนเงินให้โจทก์ ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์โดยให้ร่วมรับผิดดังนี้คือ ให้จำเลยที่ 10 ชดใช้เงินจำนวน 264,735 บาท ให้จำเลยที่ 11ชดใช้เงินจำนวน 277,320 บาท ให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 10 ชดใช้เงินจำนวน 48,645 บาท ให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 10 ชดใช้เงินจำนวน 97,835 บาท ให้จำเลยที่ 3ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 10 และที่ 11 ชดใช้เงินจำนวน 140,645บาท ให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 11 ชดใช้เงินจำนวน175,220 บาท ให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 11 ชดใช้เงินจำนวน 15,565 บาท ให้จำเลยที่ 6 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 11ชดใช้เงินจำนวน 64,145 บาท ให้จำเลยที่ 7 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 10 ชดใช้เงินจำนวน 36,440 บาท ให้จำเลยที่ 8ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 10 และที่ 11 ชดใช้เงินจำนวน 309,300 บาท ให้จำเลยที่ 9 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4ที่ 5 ที่ 6 และที่ 11 ชดใช้เงินจำนวน 184,110 บาท และให้จำเลยทั้ง 47 คน ชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงินที่จำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิด นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 12 ที่ 13 ที่ 14 ที่ 15 และที่ 16ให้การต่อสู้ขอให้ยกฟ้องโจทก์
จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ให้การต่อสู้หลายประการและให้การว่า ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่1 กรกฎาคม 2528 ซึ่งเป็นระยะเวลาเกินกว่า 10 ปี นับแต่จำเลยที่ 3ที่ 4 และที่ 5 พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในฐานะหัวหน้ากองสวัสดิการไปแล้ว โจทก์ได้ทราบถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่เดือนมีนาคม 2525 อันเป็นเวลาเกินกว่า1 ปีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 6 ให้การต่อสู้ว่า ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 7 ให้การต่อสู้หลายประการและต่อสู้ว่า จำเลยที่ 7ไม่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ โจทก์ชอบที่จะไปไล่เบี้ยเอาจากผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์คือจำเลยที่ 10 เอง ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 10 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่เดือนมกราคม 2518ถึงเดือนเมษายน 2518 นั้น เจ้าหน้าที่ได้ทำบันทึกเมื่อวันที่2 เมษายน 2525 ให้โจทก์ทราบเรื่องแล้ว แต่โจทก์เพิ่งนำมาฟ้องเป็นคดีนี้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2529 เกิน 1 ปี คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ แต่อย่างไรก็ดี จำเลยที่ 7 ปฎิบัติหน้าที่ควบคุมดูแลงานหน้าที่นี้ระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2517 ถึงวันที่7 พฤษภาคม 2518 และการละเมิดในคดีนี้หรือการจ่ายเงินโดยไม่ชอบของจำเลยที่ 1 ตามฟ้องโจทก์ เกิดขึ้นระหว่างเดือนมกราคม 2518ถึงเดือนเมษายน 2518 นับแต่เดือนสุดท้ายที่มีการจ่ายเงินคือเดือนเมษายน 2518 จึงถึงวันฟ้องคดีนี้คือวันที่ 1 กรกฎาคม 2529เกินกว่า 10 ปีแล้ว จำเลยที่ 7 ก็พ้นหน้าที่นี้มาเกินกว่า 10 ปีแล้วเช่นกัน ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 7 ย่อมขาดอายุความขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 8 ให้การว่า มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ การจ่ายเงินค่าแรงงานให้แก่ลูกจ้างฌาปนสถานและสุสานของโจทก์นั้น ได้จ่ายไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาไปตามระเบียบ ซึ่งปฎิบัติมาตั้งแต่เริ่มตั้งฌาปนสถานและสุสานของโจทก์จำเลยที่ 8 เป็นเพียงผู้ตรวจสอบพิจารณาและมีความเห็นเสนอหัวหน้ากองสวัสดิการเพื่อพิจารณาสั่งการตามอำนาจหน้าที่ ดังนั้นจำเลยที่ 8 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์มูลคดีนี้เกิดตั้งแต่ปี 2518 ถึงปี 2520แต่โจทก์ไม่ได้ดำเนินคดีภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 9 ให้การว่า จำเลยที่ 4 หัวหน้ากองสวัสดิการได้ออกคำสั่งให้จำเลยที่ 9 ทำหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฌาปนสถานและสุสานตั้งแต่วันที่5 เมษายน 2520 โดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 9 ต้องอยู่ปฎิบัติหน้าที่ราชการตามคำสั่งของโจทก์ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่อาจอยู่ประจำปฎิบัติงานที่กองสวัสดิการได้ เมื่อจำเลยที่ 4 ได้รับมอบอำนาจหน้าที่ตำแหน่งหัวหน้ากองสวัสดิการต่อจากจำเลยที่ 3 พร้อมรับมอบเอกสารไว้เพื่อปฎิบัติแล้วก็ไม่ได้มีคำสั่งแก้ไขคำสั่งกองสวัสดิการที่ 0513/7496 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2519 แต่อย่างใดคงให้จำเลยที่ 9 ดำรงตำแหน่งเช่นเดิมต่อมาจำเลยที่ 6 ได้มารับหน้าที่ต่อ ก็มิได้มีคำสั่งแก้ไขหรือยกเลิกคำสั่งของกองสวัสดิการที่ 0513/7496 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2519 อีกเช่นเดียวจำเลยที่ 9 ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งรองหัวหน้ากองสวัสดิการโดยไปรายงานตนรับหน้าที่ต่อจำเลยที่ 4 เมื่อวันที่7 มกราคม 2520 แต่ก็มิได้รับมอบหมายงานและหน้าที่แต่อย่างใดจนถึงวันที่ 20 มกราคม 2520 จำเลยที่ 4 จึงได้แจ้งและมอบเอกสารคำสั่งที่ ตร.53/2520 ลงวันที่ 17 มกราคม 2520 แต่งตั้งให้จำเลยที่ 9 เป็นกรรมการร่วมกับพลตำรวจตรีนโม สิมิตะพินทุเป็นกรรมการทำการสอบสวนพันตำรวจเอกอาณัติ เภกะนันท์ กรณีทุจริตต่อหน้าที่ ณ ที่จังหวัดเชียงใหม่และอื่น ๆ จนถึงปลายเดือนกรกฎาคม 2520 ซึ่งจำเลยที่ 9 ได้ทำรายงานขอถอนตัวว่าอาจจะเสียหายต่อราชการ แต่ไม่ได้รับการอนุมัติจากโจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 9 จึงจำเป็นต้องไปปฎิบัติราชการอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่มูลเหตุละเมิดหรืออื่น ๆ ในคดีนี้ โจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 9 ไม่ได้มีส่วนพัวพันเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดจึงได้มีคำสั่งที่1018/2524 ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2524 ตั้งให้จำเลยที่ 9 กับบุคคลอื่นเป็นกรรมการทำการสอบสวนโดยให้จำเลยที่ 9 เป็นประธานกรรมการ จำเลยที่ 9 มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 11 ให้การว่า จำเลยที่ 11 ปฎิบัติราชการตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชามาโดยตลอด การจ่ายเงินค่าแรงงานให้แก่ลูกจ้างนั้น จำเลยที่ 11 ได้ปฎิบัติไปแล้วตามระเบียบคำสั่งของผู้บังคับบัญชา มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 10 ที่ 17 ที่ 24 ที่ 27 ที่ 29 ที่ 30 ที่ 32ถึงที่ 47 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 10 ใช้เงินจำนวน 264,735 บาทแก่โจทก์ จำเลยที่ 11 ใช้เงินจำนวน 277,320 บาทแก่โจทก์ ในเงินจำนวนที่จำเลยที่ 10 และที่ 11 จะต้องใช้ให้แก่โจทก์นั้นให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดไม่เกิน 140,645 บาท จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดไม่เกิน 70,820 บาท จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดไม่เกิน 15,565 บาทจำเลยที่ 6 ร่วมรับผิดไม่เกิน 64,145 บาท จำเลยที่ 7 ร่วมรับผิดไม่เกิน 36,440 บาท จำเลยที่ 8 ร่วมรับผิดไม่เกิน 97,835 บาทจำเลยที่ 9 ร่วมรับผิดไม่เกิน 104,400 บาท ให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 ใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ในต้นเงินที่จำเลยแต่ละคนต้องรับผิด นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะใช้เงินแก่โจทก์เสร็จ สำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และจำเลยที่ 12ถึงที่ 47 ให้ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 และ ที่ 9 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 11ร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์จำนวน 15,565 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ คำขออื่นให้ยก
โจทก์ และ จำเลย ที่ 9 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เกี่ยวกับฎีกาของโจทก์ที่โจทก์ฎีกาในประเด็นเรื่องอายุความฟ้องร้องจำเลยที่ 3 และที่ 7 ว่ายังไม่ขาดอายุความเนื่องจากเหตุละเมิดเกิดขึ้นระหว่างวันที่1 มกราคม 2518 ต่อเนื่องไปถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2521โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 7 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2528จึงยังไม่ขาดอายุความนั้น ได้ความจากคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยที่ 3 ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองสวัสดิการของโจทก์ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2519 ถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2519 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคหนึ่ง จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแม้จะฟังว่าโจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ตามแต่เมื่อนับถึงวันที่จำเลยที่ 3 ทำละเมิดก็ต้องหมายถึงว่าในขณะที่จำเลยที่ 3 ปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งหัวหน้ากองสวัสดิการของโจทก์นั้นเอง ดังนั้นการทำละเมิดของจำเลยที่ 3 ต่อโจทก์ ช่วงตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2519 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2519 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนฟ้อง 10 ปี ฟ้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความโจทก์คงฟ้องจำเลยที่ 3 ได้เฉพาะการทำละเมิดในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2519 ถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2519 ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 10 ปี เท่านั้น ในทำนองเดียวกันได้ความจากคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยที่ 7 ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้ากองสวัสดิการของโจทก์ตั้งแต่ปี 2516 และได้รับมอบหมายให้ควบคุมดูแลรับผิดชอบการปฎิบัติหน้าที่ราชการในแผนกฌาปนสถานและสุสานของโจทก์ระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2517 ถึงวันที่ 7กุมภาพันธ์ 2518 เมื่อนับจากวันทำละเมิดของจำเลยที่ 7 ในระหว่างปฎิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายถึงวันฟ้องเป็นระยะเวลาเกินกว่า10 ปี แล้วฟ้องโจทก์เฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 7 ย่อมขาดอายุความ
ส่วนที่โจทก์ฎีกาให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 8และที่ 9 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 10 และที่ 11 ชดใช้เงินให้แก่โจทก์โดยอ้างว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 และที่ 9ปฎิบัติหน้าที่ราชการบกพร่องและประมาทเลินเล่อมิได้ควบคุมดูแลให้จำเลยที่ 10 และที่ 11 ซึ่งปฎิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าฌาปนสถานและสุสานวัดตรีทศเทพอยู่ในขณะนั้นปฎิบัติหน้าที่ราชการให้ถูกต้องตามระเบียบที่โจทก์ได้กำหนดไว้ คือไม่ได้ควบคุมดูแลให้จำเลยที่ 10 และที่ 11 นำเงินรายได้ของฌาปนสถานและสุสานแห่งนั้นส่งกองสวัสดิการของโจทก์ แต่กลับให้จำเลยที่ 10 และที่ 11นำเงินรายได้ดังกล่าวไปจ่ายโดยไม่มีอำนาจและโดยผิดระเบียบอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์นั้น สำหรับจำเลยที่ 7 เมื่อฟังว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความดังที่ได้วินิจฉัยแล้วก็ไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นนี้อีกต่อไป ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3ที่ 4 ที่ 6 ที่ 8 และที่ 9 เห็นว่า โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 8 และที่ 9 ปฎิบัติหน้าที่ราชการโดยความบกพร่องและโดยความประมาทเลินเล่อไม่ปฎิบัติตามระเบียบที่โจทก์กำหนดไว้อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งเป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริงไม่ใช่ฎีกาโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายของระเบียบหรือคำสั่งของโจทก์อันจะเป็นข้อกฎหมายเมื่อโจทก์ฎีกาให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 8 และที่ 9 รับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 3ร่วมรับผิดไม่เกิน 140,645 บาท จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดไม่เกิน70,820 บาท จำเลยที่ 6 ร่วมรับผิดไม่เกิน 64,145 บาท จำเลยที่ 8ร่วมรับผิดไม่เกิน 97,835 บาท และจำเลยที่ 9 ร่วมรับผิดไม่เกิน104,400 บาท แยกจากกัน จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 8 และที่ 9 แต่ละรายไม่เกิน 200,000 บาท คดีโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ที่ 4ที่ 6 ที่ 8 และที่ 9 ขึ้นมาจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
สำหรับฎีกาของโจทก์ที่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 10และที่ 11 ที่มีต่อโจทก์ซึ่งโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 10 และที่ 11จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 10 และที่ 11 ชดใช้ให้แก่โจทก์เพราะจำเลยที่ 10 และที่ 11 มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น คดีของจำเลยที่ 10และที่ 11 ย่อมถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว ทั้งหนี้ที่จำเลยที่ 10 และที่ 11 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยอื่นที่คดียังไม่ถึงที่สุดแม้จะเป็นหนี้จำนวนเดียวกันแต่ก็เป็นหนี้ที่แบ่งแยกได้นั้น เห็นว่า หนี้ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 10 และที่ 11 ชดใช้ให้แก่โจทก์จำนวน 264,735 บาท และจำนวน 277,320 บาทตามลำดับเป็นหนี้ที่ถึงที่สุดแล้วโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้น และหนี้ทั้งสองจำนวนดังกล่าวแม้จะเป็นหนี้ร่วมกับจำเลยอื่นอันเกิดจากมูลละเมิดก็ตาม แต่เกิดจากการกระทำที่แตกต่างกันและศาลชั้นต้นก็ได้แยกความรับผิดที่จำเลยอื่นจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 10 และที่ 11 ไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยคนไหนจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 10 และที่ 11 ต่อโจทก์จึงเป็นหนี้ที่แบ่งแยกได้ หาใช่หนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ดังข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 10 และที่ 11จะต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยอื่นที่อุทธรณ์เป็นหนี้ที่แบ่งแยกได้ คดีของจำเลยที่ 10 และที่ 11 จึงไม่ได้ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1)ศาลอุทธรณ์จะอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 10 และที่ 11 ที่คดีถึงที่สุดโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วเพื่อมิให้จำเลยที่ 10 และที่ 11 ต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ด้วยไม่ได้
สำหรับฎีกาของจำเลยที่ 9 ในข้อที่ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 9 ขาดอายุความนั้น เมื่อตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 9 ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ฎีกาของจำเลยที่ 9 ทุกข้อจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พิพากษาแก้เป็นให้จำเลยที่ 10 และที่ 11 ชดใช้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และให้ยกฎีกาของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ที่ 6 ที่ 8 และที่ 9 กับให้ยกฎีกาของจำเลยที่ 9

Share