แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์มีหน้าที่ทำงานออกแบบเสื้อให้จำเลยย่อมต้องปฏิบัติงานให้จำเลยในระหว่างทำงานให้ลุล่วงไปตามสมควรเพื่อให้เกิดผลคุ้มค่ากับค่าจ้างการที่โจทก์รับงานนอกเข้ามาทำในระหว่างทำงานโดยใช้อุปกรณ์ของจำเลยได้แก่ภู่กันสีและกระดาษเป็นการเบียดบังทั้งเวลาและทรัพย์สินของจำเลยโดยมิชอบต่อหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองถือว่าเป็นการ ทุจริตต่อหน้าที่ ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจำเลยจึง เลิกจ้างโจทก์ได้โดย ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ทำ หน้าที่ออก แบบ เสื้อผ้า ได้รับ ค่าจ้าง อัตรา สุดท้าย เดือน ละ 15,262 บาทกำหนด จ่าย ค่าจ้าง ทุกวัน สิ้นเดือน เมื่อ วันที่ 20 กันยายน 2537จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ โดย โจทก์ ไม่มี ความผิด และ มิได้ บอกกล่าวการ เลิกจ้าง ล่วงหน้า ขอให้ บังคับ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย จำนวน 45,786 บาทและ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า จำนวน 20,858 บาท พร้อม ดอกเบี้ยจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ด้วย วาจา ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เนื่องจาก โจทก์กระทำ ฝ่าฝืน ระเบียบ ข้อบังคับ รับ งาน นอก มา ทำ ใน ระหว่าง การ ทำงานโดย ใช้ อุปกรณ์ ของ จำเลย และ ได้รับ การ ตักเตือน ด้วย วาจา จากผู้บังคับบัญชา แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เนื่องจากโจทก์ รับ งาน นอก เข้า มา ทำ ใน ระหว่าง ทำงาน โดย ใช้ อุปกรณ์ ของ จำเลยอันเป็น การ ฝ่าฝืน ระเบียบ ข้อบังคับ ใน การ ทำงาน จำเลย มีสิทธิเลิกจ้าง โจทก์ ได้ แต่ ไม่ปรากฏ ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ ได้ กระทำการฝ่าฝืน ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน และ จำเลย ใน ฐานะ นายจ้าง ได้ตักเตือน เป็น หนังสือ แล้ว หรือ การ ฝ่าฝืน ดังกล่าว เป็น กรณี ร้ายแรงหรือ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เพราะ โจทก์ กระทำผิด อย่างใด อย่างหนึ่ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47เมื่อ โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ทำงาน ติดต่อ กัน ครบ หนึ่ง ปี จำเลย จึง ต้อง จ่ายค่าชดเชย ให้ แก่ โจทก์ ไม่ น้อยกว่า ค่าจ้าง อัตรา สุดท้าย เก้า สิบ วันแต่ การ ที่ โจทก์ รับ งาน นอก เข้า มา ทำ ใน ระหว่าง ทำงาน โดย ใช้ อุปกรณ์ของ จำเลย เป็น การกระทำ อัน ไม่ สม แก่ การปฏิบัติหน้าที่ ของ ตน ให้ ลุล่วงไป โดย ถูกต้อง และ สุจริต จำเลย จึง เลิกจ้าง โจทก์ ได้ โดย มิพัก ต้องบอกกล่าว ล่วงหน้า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยไม่ต้อง ชำระ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ให้ แก่ โจทก์ พิพากษาให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย จำนวน 45,786 บาท ให้ แก่ โจทก์ คำขอ อื่นนอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา วินิจฉัย ใน ชั้น นี้ ว่า จำเลยเลิกจ้าง โจทก์ โดย ต้อง จ่าย ค่าชดเชย แก่ โจทก์ หรือไม่ จำเลย ได้ ให้การต่อสู้ ว่า โจทก์ ฝ่าฝืน ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ของ จำเลยแม้ จะ มิได้ ระบุ ว่า ฝ่าฝืน ใน ข้อ ใด แต่ จำเลย ก็ ได้ บรรยาย การกระทำของ โจทก์ ชัดเจน อยู่ ใน ตัว พอ ที่ จะ ปรับ กับ ระเบียบ ข้อบังคับ ของ จำเลยได้ว่า การกระทำ ของ โจทก์ เป็น การทุจริต ต่อหน้า ที่ หรือไม่ศาลแรงงานกลาง ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์เนื่องจาก โจทก์ รับ งาน นอก เข้า มา ทำ ใน ระหว่าง ทำงาน โดย ใช้ อุปกรณ์ของ จำเลย เห็นว่า โจทก์ ทำงาน ออก แบบ เสื้อ ให้ จำเลย โดย หน้าที่โจทก์ ย่อม ต้อง ปฏิบัติงาน ให้ จำเลย ใน ระหว่าง ทำงาน ให้ ลุล่วง ไป ตามสมควร เพื่อ หวัง ให้ เกิด ผล คุ้มค่า กับ ค่าจ้าง ที่ จำเลย จ่าย ให้ เป็น การตอบแทน การ ที่ โจทก์ รับ งาน นอก เข้า มา ทำ ใน ระหว่าง ทำงาน โดย ใช้ อุปกรณ์ของ จำเลย อัน ได้ แก่ ภู่กัน สี และ กระดาษ เป็น การ เบียดบัง ทั้ง เวลาและ ทรัพย์สิน ของ จำเลย โดยมิชอบ ต่อหน้า ที่ เพื่อ แสวงหา ประโยชน์สำหรับ ตนเอง จำเลย ย่อม ได้รับ ความเสียหาย การกระทำ ของ โจทก์ถือได้ว่า เป็น การทุจริต ต่อหน้า ที่ ฝ่าฝืน ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับการ ทำงาน ของ จำเลย ข้อ 5(2) ก. จำเลย จึง เลิกจ้าง โจทก์ ได้ โดยไม่ต้อง จ่าย ค่าชดเชย ที่ ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่ายค่าชดเชย แก่ โจทก์ นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย อุทธรณ์ ของ จำเลยฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ไม่ต้อง จ่าย ค่าชดเชย แก่ โจทก์นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง