แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
บ. ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่2มีหน้าที่ขับรถยนต์ยินยอมให้จำเลยที่1ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่2ด้วยขับรถยนต์ของจำเลยที่2ซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของตนไปทำงานโดยลำพังแล้วเกิดเหตุชนโจทก์โดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์บาดเจ็บแม้เหตุจะเกิดก่อนเวลาทำงานปกติของจำเลยที่2ก็ถือได้ว่าจำเลยที่1ได้ขับรถยนต์ไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่2จำเลยที่2จึงต้องร่วมกับจำเลยที่1รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของ ร้าน จ. นครทอง (ยูนิเวอร์แซล) ประกอบ กิจการ ซื้อ ขาย นำ ส่ง แก๊ส หุงต้ม แก่ ลูกค้า ทั่วไป และ เป็น เจ้าของ รถยนต์บรรทุก หมายเลข ทะเบียน บ-9288 เชียงใหม่จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 และ เป็น ผู้ครอบครอง รถยนต์คัน ดังกล่าว เมื่อ วันที่ 6 เมษายน 2534 เวลา 6.50 นาฬิกา จำเลยที่ 1 ได้ ขับ รถยนต์ คัน ดังกล่าว ของ จำเลย ที่ 2 เพื่อ กิจการ และ ตามคำสั่ง ของ จำเลย ที่ 2 ไป ตาม ถนน สิงหราช ตำบลศรีภูมิ อำเภอ เมือง เชียงใหม่ จังหวัด เชียงใหม่ ด้วย ความประมาท คึกคะนอง และ ความ เร็ว สูงเมื่อ ถึง ที่เกิดเหตุ คือ บริเวณ ปากซอย 4 ใกล้ ทางแยก จำเลย ที่ 1ก็ หา ได้ ลด ความ เร็ว ของ รถ ลง ไม่ เป็นเหตุ ให้ รถยนต์ ที่ จำเลย ที่ 1ขับ พุ่ง เข้า ชน โจทก์ ซึ่ง กำลัง เดิน อยู่ บน ทางเท้า บริเวณ ที่เกิดเหตุโจทก์ ได้รับ อันตรายสาหัส ต้อง พัก รักษา ตัว อยู่ ที่ โรงพยาบาล ลานนา เป็น เวลา 1 เดือน หลังจาก นั้น ต้อง ไป ตรวจ รักษา บาดแผล และ ทำ กาย ภาพบำบัด ทุก 2 สัปดาห์ ตาม คำสั่ง ของ แพทย์ โจทก์ ได้รับ ความ เจ็บปวดและ ทน ทุกข์ ทรมาน จาก บาดแผล มี แผลเป็น ทั่ว ร่างกาย ใบหน้า ต้อง เสียโฉมติดตัว ตลอด ไป และ โจทก์ ไม่สามารถ ประกอบ กรณียกิจ ต่าง ๆ ตาม ปกติ ได้ต้อง นอน พัก รักษา ตัว เป็น เวลา ไม่ น้อยกว่า 1 ปี ระหว่าง นี้ โจทก์ได้ จ้าง บุคคลอื่น มา ทำงาน บ้าน แทน และ ช่วยเหลือ ดูแล โจทก์ รวมเป็นค่าเสียหาย ทั้งสิ้น 200,000 บาท จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ เจ้าของ รถยนต์และ นายจ้าง ของ จำเลย ที่ 1 ต้อง ร่วมรับผิด ชำระหนี้ จำนวน ดังกล่าวแก่ โจทก์ ด้วย ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 200,000บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน ดังกล่าวนับแต่ วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ เป็น ผู้กระทำ ละเมิดต่อ โจทก์ ตาม ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ไม่ใช่ ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 1นำ รถยนต์ ของ จำเลย ที่ 2 ไป ขับ โดย พลการ จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ อนุญาตหรือ ใช้ จ้างวาน เพื่อ กิจการ งาน ของ จำเลย ที่ 2 แต่อย่างใด โจทก์ไม่ได้ รับ ความเสียหาย ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน145,626 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี จาก ต้นเงินดังกล่าว นับ จาก วัน ถัด จาก วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันชดใช้ ค่าจ้าง บุคคลอื่น มา ช่วย ทำงาน บ้าน เป็น เงิน 20,000 บาท แก่ โจทก์นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 2 ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา ใน ศาลชั้นต้นรับรอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ที่ ไม่มีคู่ความ ฝ่ายใด ฎีกา ฟัง เป็น ยุติ ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของ ร้าน จ. นครทอง (ยูนิเวอร์แซล) ประกอบ กิจการ ค้าขาย แก๊ส หุงต้ม และ เตา แก๊ส และ เป็น เจ้าของ รถยนต์กระบะ คัน หมายเลข ทะเบียน บ-9288เชียงใหม่ ตาม วัน เวลา เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 ได้ ขับ รถยนต์ คัน ดังกล่าวโดยประมาท เป็นเหตุ ให้ ชน โจทก์ ซึ่ง กำลัง เดิน ข้าง ถนน อยู่ บน ทางเท้าทำให้ โจทก์ ได้รับ บาดเจ็บ เป็น อันตรายแก่กาย ถึง สาหัส คดี มี ปัญหาตาม ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง และ ขับ รถยนต์ไป เกิดเหตุ ใน ขณะที่ กระทำการ ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 หรือไม่โจทก์ มี ตัว โจทก์ เป็น พยาน เบิกความ ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง ของจำเลย ที่ 2 และ ได้ความ จาก คำเบิกความ ของ พัน ตำรวจ ตรี สุธรรม ชาติอาษา พนักงานสอบสวน และ คำให้การ ใน ชั้นสอบสวน ของ จำเลย ที่ 1 ว่า จำเลย ที่ 1เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ก่อน วันเกิดเหตุ เวลา ประมาณ 17 นาฬิกาจำเลย ที่ 1 และ นาย ใหญ่ ซึ่ง เป็น เพื่อน ร่วม งาน กัน ได้ ออกจาก ร้าน ของ จำเลย ที่ 2 เพื่อ ไป ดื่ม สุรา ตาม ร้าน สุรา โดย นาย ใหญ่ เป็น คนขับ รถยนต์ ของ จำเลย ที่ 2 ดื่ม สุรา ที่ ร้าน อาหาร จอมราชัน จน ถึง เวลา 24 นาฬิกา แล้ว พา กัน ซื้อ สุรา ไป ดื่ม ต่อ ที่ บ้าน ของ นาย ใหญ่ ดื่ม สุรา จน ถึง เวลา 6.30 นาฬิกา ของ วันเกิดเหตุ นาย ใหญ่ เมาสุรา มาก จำเลย ที่ 1 จึง ปล่อย ให้ นาย ใหญ่ นอน พัก ที่ บ้าน ส่วน จำเลย ที่ 1 ได้ ขับ รถยนต์ เพื่อ ไป ทำงาน ที่ ร้าน ของ จำเลย ที่ 2 ระหว่าง ทางจำเลย ที่ 1 ได้ ขับ รถยนต์ ชน โจทก์ นอกจาก นี้ ยัง ได้ความ จาก คำเบิกความของ นาย บุญศรี ใจมะโน พยาน จำเลย ว่า นาย บุญศรี เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 มี หน้าที่ เป็น พนักงาน ขาย เก็บ เงิน และ ขับ รถยนต์ ด้วยจำเลย ที่ 2 ได้ มอบ ให้ นาย บุญศรี เป็น ผู้ดูแล รถ คัน เกิดเหตุ คืน ก่อน เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 ได้ ไป นอน ที่ บ้าน นาย บุญศรี เช้า วันรุ่งขึ้น ซึ่ง เป็น วันเกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 ได้ นำ รถยนต์ ไป ขับ จน เกิดเหตุ คดี นี้เมื่อ พิเคราะห์ จาก คำเบิกความ ของ พัน ตำรวจ ตรี สุธรรม คำให้การ ใน ชั้นสอบสวน ของ จำเลย ที่ 1 และ คำเบิกความ ของ นาย บุญศรี แล้ว นาย ใหญ่ ตาม คำให้การ ของ จำเลย ที่ 1 และ นาย บุญศรี ตาม คำเบิกความ ของ นาย บุญศรี น่า จะ เป็น บุคคล คนเดียว กัน ไม่ปรากฏ ว่า จำเลย ที่ 1ได้ ให้การ ใน ชั้นสอบสวน โดย ถูก บังคับ ขู่เข็ญ การ ที่ จำเลย ที่ 1ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 นั้น เชื่อ ได้ว่าเป็น ความจริง และ การ ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ คัน เกิดเหตุ ไป ชน โจทก์ตาม พฤติการณ์ น่าเชื่อ ว่า นาย บุญศรี ยินยอม ให้ จำเลย ที่ 1 นำ รถยนต์ ไป ขับ เพราะ กุญแจ รถ อยู่ กับ นาย บุญศรี ซึ่ง เป็น ผู้รับผิดชอบ ดูแล รถ ไม่ น่า จะ เป็น เรื่อง ที่ จำเลย ที่ 1 แอบ เอา กุญแจ รถ และ นำรถยนต์ ไป ขับ โดย พลการ ตาม คำเบิกความ ของ นาย บุญศรี คดี มีเหตุ ผล น่าเชื่อ ตาม ที่ จำเลย ที่ 1 ให้การ ใน ชั้นสอบสวน ว่า จำเลย ที่ 1และ นาย บุญศรี พา กัน ดื่ม สุรา เมา นาย บุญศรี ดื่ม สุรา เมา มาก ไม่สามารถ ไป ทำงาน ได้ จึง ได้ ให้ จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ ซึ่ง อยู่ ใน ความ ดูแลรับผิดชอบ ของ ตน ไป ทำงาน ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ว่า จำเลย ที่ 1 เป็นลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 นาย บุญศรี ยินยอม ให้ จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ ของ จำเลย ที่ 2 ไป ทำงาน โดย ลำพัง แต่ ผู้เดียว แล้ว จำเลย ที่ 1 ได้ขับ รถยนต์ ไป ชน โจทก์ โดยประมาท เป็นเหตุ ให้ โจทก์ บาดเจ็บ ได้รับ อันตรายถึง สาหัส จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ ไป ทำงาน ให้ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น นายจ้างแม้ เหตุ จะ เกิด ก่อน เวลา ถึง เวลาทำงาน ตาม ปกติ ของ ร้าน จำเลย ที่ 2ก็ ถือได้ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ขับ รถยนต์ ไป ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลยที่ 2 จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 รับผิด ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ โจทก์ ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน