คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การที่ผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2และที่6โดยตามหลักฐานการชำระหนี้มิได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามกำหนดระยะเวลาแต่ผู้คัดค้านก็ยอมรับชำระหนี้ในลักษณะนี้มาโดยตลอดโดยมิได้ทักท้วงย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านได้สละสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาแล้วประกอบกับเมื่อผู้ร้องนำเงินมาชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่22เมษายน2534ยังเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก95,460.45บาทแต่ผู้คัดค้านยังไม่ถือว่าผู้ร้องผิดนัดโดยขยายเวลาให้ผู้ร้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระภายในวันที่5มิถุนายน2534หากไม่นำมาชำระภายในกำหนดจึงจะถือว่าผิดนัดเมื่อผู้ร้องไม่ได้นำเงินไปชำระหนี้ที่เหลือภายในวันดังกล่าวเช่นนี้ถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534ตามที่กำหนดไว้หาใช่ผิดนัดเมื่อครบ3ปีตามกำหนดระยะเวลาเดิมตามที่ผู้คัดค้านอนุมัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2ไม่ มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6อยู่อีกต่อไปจึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ข้อ1.3วรรคสองตอนท้ายโดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้นเมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่6จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น149,600บาทยังคงค้างชำระอยู่อีก95,460.45บาทจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่5มิถุนายน2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ดังกล่าวจึงต้องคิดณวันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12มีผลบังคับคือวันที่21กุมภาพันธ์2534มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่12ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้วตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่2และที่6ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใดผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน95,460.45บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ19ต่อปีนับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไปคือตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534 ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2534แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23เมษายน2534เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไขจึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23เมษายน2534

ย่อยาว

ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง เป็น ผู้ค้ำประกัน มี ความรับผิดต้อง ชำระหนี้ จำนวน 245,060.45 บาท ต่อ ผู้คัดค้าน ได้ ผ่อนชำระ หนี้ไป แล้ว จำนวน 149,600 บาท เหลือ หนี้ อีก จำนวน 95,460.45 บาทผู้ร้อง ไม่ได้ จงใจ ผิดนัด ได้ ขออนุมัติ ต่อ ผู้คัดค้าน เพื่อ ชำระหนี้ส่วน ที่ เหลือ ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ตาม มติที่ ประชุม เจ้าหนี้ แต่ ผู้คัดค้าน ไม่ อนุมัติ กลับ ขอให้ ศาล ออกคำบังคับให้ ผู้ร้อง ชำระ เงิน จำนวน 423,237.39 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ทบต้นใน อัตรา ร้อยละ 19 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 347,030.11 บาท นับแต่ วันที่23 เมษายน 2534 เป็นต้น ไป โดย ให้ ชำระ ให้ เสร็จ ภายใน กำหนด เวลา 30 วันทำให้ ผู้ร้อง ได้รับ ความเสียหาย ขอให้ สั่ง กลับ คำวินิจฉัย ของ ผู้คัดค้านให้ ผู้คัดค้าน รับชำระหนี้ ตาม จำนวน ที่ ผู้ร้อง เสนอ
ผู้คัดค้าน ยื่น คำคัดค้าน ว่า ผู้ร้อง ขอ ลดหย่อน หนี้ ต่อ ผู้คัดค้านเมื่อ วันที่ 29 มกราคม 2535 แต่ ผู้คัดค้าน ยกคำร้อง ของ ผู้ร้องใน วันเดียว กัน ผู้ร้อง ยื่น คำร้องคัดค้าน คำวินิจฉัย ของ ผู้คัดค้านต่อ ศาลชั้นต้น เมื่อ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 เกิน กำหนด เวลา 14 วันตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ผู้ร้อง ผิดนัดไม่ชำระ หนี้ ตาม กำหนด เวลา ที่ เคย ได้รับ อนุมัติ ให้ ลดหย่อน หนี้ผู้คัดค้าน จึง ร้องขอ ต่อ ศาล ให้ ออกคำบังคับ และ ศาลชั้นต้น ได้ ออกคำบังคับ แล้ว การ ที่ ผู้ร้อง ขอ ลดหย่อน หนี้ อีก ย่อม เป็น ดุลพินิจ ของผู้คัดค้าน ที่ จะ พิจารณา ไม่อนุญาต ได้ ใช่ ว่า จะ ต้อง อนุญาต ตาม มติที่ ประชุม เจ้าหนี้ ที่ อ้าง เสมอ ไป ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ ผู้ร้อง ชำระ เงิน จำนวน 95,460.45 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 16 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 23 เมษายน 2534เป็นต้น ไป จน ถึง วัน ชำระ เงิน เสร็จ ให้ แก่ ผู้คัดค้าน เพื่อ นำเข้ากอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ผู้ล้มละลาย ทันที ที่ ทราบ คำสั่ง หาก ไม่ปฏิบัติให้ ผู้คัดค้าน ขอ ออกคำบังคับ ใหม่ และ ดำเนินการ บังคับคดี ไป ตามอำนาจ หน้าที่
ผู้คัดค้าน อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ผู้ร้อง ชำระ ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 19 ต่อ ปี นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
ผู้คัดค้าน ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ เป็น ยุติ ว่า ผู้ร้องเป็น ผู้ค้ำประกัน หม่อมราชวงศ์ มณีกัญญา ชมพูนุท ต่อ ผู้ล้มละลาย ใน มูลหนี้ กู้ยืม ซึ่ง ยัง ค้างชำระ อยู่ 245,060.45 บาท พร้อม ดอกเบี้ยทบต้น อัตรา ร้อยละ 19 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2528 จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ ผู้ร้อง ขอ ลดหย่อน หนี้ และ ขอ ผ่อนชำระ ผู้คัดค้าน พิจารณาแล้ว อนุมัติ ตาม มติ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ครั้งที่ 2 ให้ ผู้ร้อง ผ่อนชำระหนี้ เป็น รายเดือน เดือน ละ 6,807.41 บาท โดย ไม่ คิด ดอกเบี้ยและ ต้อง ชำระ ให้ เสร็จสิ้น ภายใน กำหนด 3 ปี นับแต่ วันที่ 20 ตุลาคม2530 เป็นต้น ไป ผู้ร้อง ได้ ผ่อนชำระ หนี้ ครั้งแรก เมื่อ วันที่7 มิถุนายน 2531 เป็นต้น มา แต่ ไม่ ต่อเนื่อง กัน ต่อมา ได้ มี มติที่ ประชุม เจ้าหนี้ ครั้งที่ 6 เมื่อ วันที่ 22 สิงหาคม 2531ให้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข มติ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ครั้งที่ 2 แต่ไม่ กระทบ กระทั่ง การ ผ่อนชำระ หนี้ ของ ลูกหนี้ ที่อยู่ ระหว่าง การ ผ่อนชำระหนี้ ตาม มติ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ครั้งที่ 2 ซึ่ง ผู้ร้อง ก็ ผ่อนชำระหนี้ เรื่อย มา และ ชำระ ครั้งสุดท้าย เมื่อ วันที่ 22 เมษายน 2534รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 149,600 บาท คงเหลือ ค้างชำระ อยู่ อีก 95,460.45บาท จาก นั้น ผู้ร้อง ไม่ชำระ หนี้ อีก เลย ต่อมา ได้ มี การ ประชุม เจ้าหนี้ครั้งที่ 12 เมื่อ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2534 ซึ่ง ที่ ประชุม เจ้าหนี้ได้ พิจารณา ข้อเสนอ ของ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ธนทรัพย์ จำกัด กรรมการ เจ้าหนี้ ราย ที่ 3 แล้ว ลงมติ ให้ เพิกถอน มติ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ครั้งที่ 6 ข้อ 1.1 และ 1.2 โดย มี มติ ใหม่ ว่า “ฯลฯ ข้อ 1.3ลูกหนี้ อื่น ที่ ไม่ใช่ ลูกหนี้ ใน เครือ และ ไม่มี หลักประกัน จะ ต้อง ชำระเงินต้น เต็ม จำนวน พร้อม ดอกเบี้ย ทันที ภายใน 90 วัน นับแต่ วันที่ลูกหนี้ ยื่น คำร้องขอ ชำระหนี้ ให้ คิด ดอกเบี้ย ใน อัตรา ไม่ ต่ำกว่าร้อยละ 7.5 ต่อ ปี โดย ไม่อนุญาต ให้ ผ่อนชำระ ไม่ว่า กรณี ใด ๆ ฯลฯและ ให้ ถือ ปฏิบัติ ตาม หลักเกณฑ์ ของ กรรมการ เจ้าหนี้ ราย ที่ 3 ใน การพิจารณา ลดหย่อน หนี้ ให้ แก่ ลูกหนี้ มติ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ครั้งนี้ให้ มีผล บังคับ ตั้งแต่ วัน นี้ เป็นต้น ไป และ ไม่ กระทบ กระทั่ง ถึง สำนวนทวง หนี้ และ สำนวน สาขา คดีแพ่ง ตลอดจน สาขา สำนวน อื่น ที่ ผู้คัดค้านได้ ชำระหนี้ หรือ ได้ ไถ่ถอน จำนอง ให้ ลูกหนี้ จน เสร็จสิ้น แล้ว และไม่ กระทบ กระทั่ง ถึง ลูกหนี้ ที่ ผู้คัดค้าน ได้ อนุญาต ให้ ผ่อนชำระ หนี้ตาม มติ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ครั้งที่ 6 อยู่ และ ขณะ นี้ อยู่ ระหว่างผ่อนชำระ เว้นแต่ ลูกหนี้ ดังกล่าว ได้ ผิดนัด ชำระหนี้ ตาม ที่ ตกลง กับผู้คัดค้าน ไว้ หาก มา เสนอ ขอ ชำระหนี้ ใหม่ ให้ ปฏิบัติ ตาม มติ ที่ ประชุมครั้งนี้ ฯลฯ ” ต่อมา ผู้คัดค้าน ได้ ขอให้ ศาลชั้นต้น ออกคำบังคับ ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2534 ให้ ผู้ร้อง ชำระหนี้ จำนวน 423,237.39 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ทบต้น ใน อัตรา ร้อยละ 19 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 347,030.11 บาทนับแต่ วันที่ 23 เมษายน 2534 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ มี ปัญหาที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ ผู้คัดค้าน ใน ประการ แรก ว่า ผู้ร้อง ผิดนัดเมื่อใด ผู้คัดค้าน อ้างว่า ผู้ร้อง มี หน้าที่ ต้อง ชำระหนี้ ต่อผู้คัดค้าน ให้ ครบถ้วน ภายใน กำหนด 3 ปี คือ ภายใน วันที่ 20 ตุลาคม2533 ซึ่ง เป็น กำหนด เวลา ชำระหนี้ ของ ผู้ร้อง ที่ คำนวณ ได้ แน่นอนตาม ปฏิทิน ถือว่า ผู้คัดค้าน ได้ กำหนด เวลา ชำระหนี้ ไว้ ตาม วัน แห่ง ปฏิทินแล้ว เมื่อ ผู้ร้อง ไม่ชำระ หนี้ ภายใน กำหนด เวลา ดังกล่าว ย่อม ตกเป็นผู้ผิดนัด โดย มิพัก ต้อง เตือน เลย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 204 เห็นว่า การ ที่ ผู้ร้อง ปฏิบัติการ ชำระหนี้ ตาม ที่ ได้รับ การผ่อนผัน ตาม มติ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ครั้งที่ 2 และ ที่ 6 ตาม หลักฐาน การชำระหนี้ หมาย ร.8 มิได้ เป็น ไป อย่าง สม่ำเสมอ ทุกเดือน ตาม กำหนด ระยะเวลาแต่ ผู้คัดค้าน ก็ ยอมรับ ชำระหนี้ ใน ลักษณะ นี้ มา โดย ตลอด โดย มิได้ ทักท้วงย่อม ถือได้ว่า ผู้คัดค้าน ได้ สละ สิทธิ ที่ จะ ถือเอา ประโยชน์ จากเงื่อนเวลา แล้ว ประกอบ กับ ใน วันที่ ผู้ร้อง นำ เงิน มา ชำระ ครั้งสุดท้ายเมื่อ วันที่ 22 เมษายน 2534 ยัง เหลือ หนี้ ที่ ต้อง ชำระ อีก 95,460.45บาท แต่ ผู้คัดค้าน ยัง ไม่ ถือว่า ผู้ร้อง ผิดนัด โดย ขยายเวลา ให้ ผู้ร้องนำ เงิน ส่วน ที่ เหลือ มา ชำระ ภายใน วันที่ 5 มิถุนายน 2534 หาก ไม่นำ มาชำระ ภายใน กำหนด จึง จะ ถือว่า ผิดนัด ปรากฏ ตาม รายงาน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เอกสาร หมาย ค.10 เมื่อ ผู้ร้อง ไม่ได้ นำ เงิน ไป ชำระหนี้ที่ เหลือ ภายใน วัน ดังกล่าว เช่นนี้ ถือว่า ผู้ร้อง ผิดนัด ตั้งแต่ วันที่5 มิถุนายน 2534 ตาม ที่ กำหนด ไว้ หาใช่ ผิดนัด เมื่อ ครบ 3 ปี ตาม กำหนดระยะเวลา ที่ ผู้คัดค้าน กล่าวอ้าง ไม่ ส่วน ใน ปัญหา ที่ ว่า ผู้ร้อง จะ ต้องชำระหนี้ ที่ เหลือ จำนวน 95,460.45 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ 19 ต่อ ปีนับแต่ วัน ผิดนัด หรือ จะ ต้อง ชำระหนี้ ตาม คำบังคับ ตาม เอกสาร หมาย ร.1เห็นว่า ตาม มติ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ครั้งที่ 12 ให้ยก เลิก มติ ที่ ประชุมเจ้าหนี้ ครั้งที่ 6 ได้ ระบุ ไว้ ไม่ให้ กระทบ ถึง ลูกหนี้ ซึ่ง ได้รับอนุญาต ให้ ผ่อนชำระ หนี้ ตาม มติ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ครั้งที่ 6 และ อยู่ใน ระหว่าง ผ่อนชำระ อยู่ แต่เมื่อ ลูกหนี้ ผิดนัด ไม่ชำระ หนี้ ตาม ที่ตกลง ไว้ ลูกหนี้ ก็ ไม่อาจ ได้รับ ประโยชน์ ใน การ ผ่อนชำระ หนี้ นั้นตาม มติ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ครั้งที่ 6 อยู่ อีก ต่อไป จึง ต้อง ปฏิบัติ ตามมติ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ครั้งที่ 12 ข้อ 1.3 วรรคสอง ตอนท้าย โดย จะ ต้องชำระ เงินต้น เต็ม จำนวน พร้อม ดอกเบี้ย ทันที นับแต่ วันที่ ยื่น คำร้องขอ ชำระหนี้ นั้น ซึ่ง กรณี ของ ผู้ร้อง เป็น ผู้ที่ได้รับ สิทธิ ใน การผ่อนชำระ หนี้ โดย ไม่เสีย ดอกเบี้ย ตาม มติ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ครั้งที่ 6จน ผ่อนชำระ เงินต้น ไป รวมทั้งสิ้น 149,600 บาท ยัง คง ค้างชำระ อยู่ อีก95,460.45 บาท จึง ตกเป็น ผู้ผิดนัด เมื่อ วันที่ 5 มิถุนายน 2534ฉะนั้น เงินต้น ที่ ค้างชำระ ที่ ผู้ร้อง จะ ต้อง ชำระ ทันที ตาม มติ ที่ ประชุมเจ้าหนี้ ครั้งที่ 12 ดังกล่าว จึง ต้อง คิด ณ วันที่ มติ ที่ ประชุมเจ้าหนี้ ครั้งที่ 12 มีผล บังคับ คือ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2534มติ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ครั้งที่ 12 ดังกล่าว ไม่ได้ กำหนด ให้ มีผลย้อนหลัง ไป ลบล้าง หรือ ยกเลิก ผล การ ปฏิบัติการ ชำระหนี้ ที่ ผู้ร้องได้ ปฏิบัติ มา แล้ว ตาม มติ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ครั้งที่ 2 และ ที่ 6ก่อน ที่ จะ ผิดนัด แต่อย่างใด ฉะนั้น ผู้ร้อง จะ ต้อง ชำระหนี้ เฉพาะ เงินต้นที่ ยัง คง ค้าง อยู่ จำนวน 95,460.45 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ 19 ต่อ ปีนับแต่ วันที่ ผู้ร้อง ผิดนัด อันเป็น เวลา ที่ ผู้ร้อง ไม่ได้ รับ การ ผ่อนผันอีก ต่อไป คือ ตั้งแต่ วันที่ 5 มิถุนายน 2534 แต่ ศาลชั้นต้น วินิจฉัยว่า ผู้ร้อง ผิดนัด ตั้งแต่ วันที่ 23 เมษายน 2534 ผู้ร้อง ไม่ได้ อุทธรณ์ฎีกา เป็น ประการอื่น จึง ต้อง บังคับ ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์
พิพากษายืน

Share