คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ปัญหาว่าที่พิพาทเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่เป็น ข้อเท็จจริงที่ต้องพิสูจน์ในทางพิจารณาและไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อฟ้องโจทก์มิได้อ้างว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรก

ย่อยาว

คดี สอง สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น พิจารณา และ พิพากษา รวมกัน โดย เรียกจำเลย ที่ 1 ใน สำนวน แรก ว่า จำเลย ที่ 1 เรียก จำเลย ที่ 1 ใน สำนวน หลังว่า จำเลย ที่ 2 และ เรียก จำเลย ที่ 2 ใน สำนวน แรก และ สำนวน หลัง ว่าจำเลย ที่ 3
โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง มี ใจความ ว่า โจทก์ ทำสัญญา ซื้อ ที่ดิน มี หลักฐาน ภ.บ.ท. 5 แปลง เลขที่ 10 จาก จำเลย ที่ 1 ในราคา 200,000 บาท โดย ชำระ ราคา ให้ แก่ จำเลย ที่ 3 และ แปลง เลขที่ 8, 9จาก จำเลย ที่ 2 ใน ราคา 500,000 บาท โดย ชำระ ราคา ให้ แก่ จำเลย ที่ 3เมื่อ ทำ สัญญาซื้อขาย กัน แล้ว จำเลย ทั้ง สาม ไม่สามารถ มอบ ที่ดิน ให้ โจทก์เข้า ครอบครอง ทำประโยชน์ เนื่องจาก ที่ดิน ทั้ง สาม แปลง เป็น ที่ดินของ วิทยาลัย เกษตรกรรมลพบุรี โจทก์ มี หนังสือ เลิกสัญญา แก่ จำเลย ทั้ง สาม พร้อม กับ ให้ คืนเงิน ค่าที่ดิน แก่ โจทก์ แต่ จำเลย ทั้ง สามเพิกเฉย ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน206,250 บาท พร้อม กับ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน200,000 บาท และ บังคับ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกัน ชำระ เงินจำนวน 515,625 บาท พร้อม กับ ดอกเบี้ย ใน อัตรา เดียว กัน ใน ต้นเงิน500,000 บาท นับแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ มี ใจความ ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ส่งมอบการ ครอบครอง ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “โจทก์ ฎีกา ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ที่ดินของ หน่วย ราชการ คือ วิทยาลัย เกษตรกรรมลพบุรี ซึ่ง ใช้ สำหรับ ให้ นักศึกษา ฝึกงาน ด้าน เกษตรกรรม ที่ดินพิพาท จึง เป็น ทรัพย์สินใช้ เพื่อ ประโยชน์ ของ แผ่นดิน โดยเฉพาะ อันเป็น สาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) จึง ไม่อาจโอน แก่ กัน ได้ ตาม มาตรา 1305 สัญญาซื้อขาย ที่ดินพิพาท ระหว่าง โจทก์จำเลย ตกเป็น โมฆะ นั้น เห็นว่า ปัญหา ว่า ที่ดินพิพาท เป็น สาธารณสมบัติของ แผ่นดิน หรือไม่ เป็น ข้อเท็จจริง ที่ จะ ต้อง พิสูจน์ ใน ทางพิจารณาและ ไม่ใช่ ข้อกฎหมาย อัน เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชนเมื่อ ฟ้องโจทก์ มิได้ อ้างว่า ที่ดินพิพาท เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า ที่ดินพิพาท เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินจึง เป็น การ วินิจฉัย นอกประเด็น ถือไม่ได้ว่า ปัญหา ดังกล่าว เป็นข้อ ที่ ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์จึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคแรก ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ”
พิพากษายก ฎีกา โจทก์

Share