คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยนำส.พยานจำเลยเข้าสืบยังไม่จบปากแล้วแถลงไม่ติดใจสืบพยานปากนี้อีกต่อไปแต่ศาลแรงงานกลางก็มิได้รับฟังคำเบิกความของส.โดยตรงเพราะยังมีพยานเอกสารและพยานบุคคลอีกหลายปากที่ศาลแรงงานกลางนำมาวินิจฉัยโดยไม่ว่าจะฟังคำเบิกความของส.หรือไม่ก็ไม่ทำให้คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางยอมรับคำเบิกความของส.มาวินิจฉัยเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ไม่มีโอกาสซักค้านจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย. การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายขายคำนวณราคาต้นทุนสินค้าแล้วขาดทุนทุกครั้งเป็นเพียงความสามารถที่จะทำให้เกิดผลในการงานเท่านั้นมิใช่โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายส่วนในเรื่องประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงนั้นศาลแรงงานกลางมิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กระทำโดยประมาทกรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย. กรณีที่โจทก์ไม่ปฏิบัติงานตามระเบียบที่เคยปฏิบัติโดยไม่ยอมลงชื่อนำเงินไปฝากสถาบันการเงินที่จำเลยเคยฝากเป็นประจำดำเนินการประมูลงานไม่ได้ข้อเสนอของโจทก์ไม่เป็นผลดีแก่จำเลยนั้นพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องความคิดเห็นในการทำงานซึ่งอาจถูกหรือผิดได้ผลหรือไม่ได้ผลมิใช่เป็นเรื่องของการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ทำ หน้าที่ ผู้จัดการ ฝ่ายขายของ จำเลย จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ โดย ไม่ มี ความผิด เป็น การ เลิกจ้างไม่ เป็นธรรม ขอ ให้ บังคับ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า และ ค่าชดเชย พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า ระหว่าง ที่ โจทก์ ทำงาน กับ จำเลย โจทก์ ไม่ เคย ขายสินค้า ให้ จำเลย ได้ กำไร เลย ทำ ให้ จำเลย ขาดทุน ต้อง เสียค่าใช้จ่าย สำหรับ โจทก์ เป็น ล้านๆ บาท โจทก์ จงใจ ประมาท เลินเล่อ และทุจริต ต่อ หน้าที่ ทำ ให้ จำเลย ได้ รับ ความเสียหาย จำเลย จึงเลิกจ้าง โจทก์ ได้ โดย ไม่ ต้อง จ่าย ค่าเสียหาย ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า มี เหตุ สมควร ที่ จำเลย จะ เลิกจ้าง โจทก์ได้ ไม่ เป็น การ เลิกจ้าง ที่ ไม่ เป็นธรรม พิพากษา ให้ จำเลย จ่ายสินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ค่าชดเชย แก่ โจทก์
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ประเด็น เรื่อง การ รับฟัง พยานหลักฐาน และ ค่าชดเชย ว่า โจทก์ อุทธรณ์ ว่า จำเลย สืบ นาย สมนึก ยังไม่ จบ ปาก แล้ว แถลง ไม่ ติดใจ สืบพยาน ปาก นี้ อีก ต่อไป โจทก์ ไม่ มีโอกาส ซักค้าน พยาน ปาก นี้ ศาลแรงงานกลาง ยอมรับ คำเบิกความ ปาก นี้มา วินิจฉัย เป็น การ ไม่ ชอบ ด้วย กฎหมาย พิเคราะห์ แล้ว เห็น ว่าศาลแรงงานกลาง มิได้ นำ คำเบิกความ ของ นาย สมนึก มา ฟัง แต่ ลำพังศาลแรงงานกลาง กล่าว พาดพิง ถึง พยาน จำเลย ปาก นี้ อยู่ 2 ปัญหาปัญหา แรก โจทก์ มี หน้าที่ คิด คำนวณ ราคา ต้นทุน ของ สินค้า ที่ จำเลยจะ สั่ง ซื้อ หรือไม่ โดย ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า ตาม สัญญา จ้างโจทก์ เอกสาร หมาย ล.2 เกี่ยวกับ ขอบเขต การ ทำงาน ของ โจทก์ ข้อ 2โจทก์ มี หน้าที่ นำเสนอ ราคา หรือ เตรียมการ เสนอ ราคา แสดง ว่า โจทก์มี สิทธิ ร่วม ใน การ ที่ จะ ต้อง ทำการ ตระเตรียม เกี่ยวกับ ราคาสินค้า ที่ จะ ต้อง ขาย อยู่ด้วย โดยเฉพาะ ตัว โจทก์ เอง ก็ มี ตำแหน่งเป็น ผู้จัดการ ฝ่ายขาย โดยตรง อยู่แล้ว พยาน จำเลย หลาย ปาก โดยเฉพาะผู้ ที่ เคย ทำงาน เป็น ผู้ช่วย โจทก์ ก็ ยัง ได้ เบิกความ ยืนยัน ว่าโจทก์ มี หน้าที่ คิด ราคา ต้นทุน ด้วย ปัญหา ที่ สอง เกี่ยวกับ เรื่องโจทก์ มี ปัญหา กับ ผู้ อยู่ ใต้บังคับบัญชา ศาลกรงงานกลาง วินิจฉัย ว่าจำเลย ก็ ได้ นำ ผู้ใต้บังคับบัญชา มา เบิกความ เป็น พยาน และ นำหลักฐาน ใบลาออก มา แสดง ต่อ ศาล ซึ่ง มี เหตุ น่าเชื่อ ว่า มี ปัญหาอยู่ จริง เห็น ว่า แม้ นาย สมนึก จะ เคย ทำงาน เป็น ผู้ อยู่ ใต้บังคับบัญชา ของ โจทก์ แต่ ศาลแรงงานกลาง ก็ มิได้ รับ ฟัง คำเบิกความของ นาย สมนึก โดยตรง ใน ปัญหา แรก เป็น การ วิินจฉัย เชื่อ ตาม เอกสารหมาย ล/2 และ ตำแหน่ง หน้าที่ ของ โจทก์ ส่วน พยานบุคคล ก็ ระบุ ว่ามี หลายปาก ดังนั้น แม้ จะ ไม่ รับ ฟัง คำเบิกความ ของ นาย สมนึก ก็หา ทำ ให้ ผล การ รับฟัง พยานหลักฐาน ของ ศาลแรงงานกลาง เปลี่ยนแปลง ไปไม่ ส่วน ใน ปัญหา ที่ สอง ก็ ปรากฏ ว่า ผู้ ใต้ บังคับบัญชา ของ โจทก์ที่ ขัดแย้ง กับ โจทก์ จนถึง กับ ทำ ใบลาออก นั้น ก็ มิได้ มี นาย สมนึกคนเดียว ยัง มี นางสาว ภัทรี เลขาฯ ของ โจทก์ ด้วย อีก ผู้หนึ่ง ที่กระทำ เช่นนั้น ทั้ง นาย สมนึก ก็ มิได้ เบิกความ ว่า ขัดแย้ง กับ โจทก์จน ถึง กับ ต้อง ลาออก คง ปรากฏ จาก คำเบิกความ ของ นางสาว ศรีจันทร์พยาน จำเลย อีก ปากหนึ่ง เท่านั้น ดังนั้น ใน ปัญหา ข้อ นี้ศาลแรงงานกลาง จึง มิได้ นำ คำเบิกความ ของ นาย สมนึก มา พิจารณา แต่อย่างใด สรุป แล้ว ไม่ ว่า จะ ฟัง คำเบิกความ ของ นาย สมนึก หรือไม่ก็ ไม่ ทำ ให้ คำ วินิจฉัย ของ ศาลแรงงานกลาง เปลี่ยนแปลง ไป แต่อย่างใด ข้อ อุทธรณ์ ของ โจทก์ ไม่ อาจ ทำ ให้ โจทก์ ชนะคดี ได้ ไม่เป็น ประโยชน์ แก่ คดี อัน ควร ต้อง วินิจฉัย ศาลฎีกา ไม่ วินิจฉัย ให้
ข้อ ที่ โจทก์ คำนวณ ราคา ต้นทุน สินค้า และ ขาย ขาดทุน นั้น เป็นเพียง ความ สามารถ ที่ จะ ทำ ให้ เกิด ผล ใน การ งาน เท่านั้น มิใช่โจทก์ ทุจริต ต่อ หน้าที่ จงใจ ทำ ให้ จำเลย ได้ รับ ความเสียหาย ส่วนใน ข้อ ประมาท เลินเล่อ เป็น เหตุ ให้ จำเลย ได้ รับ ความเสียหายอย่าง ร้ายแรง นั้น การ ประมาท หรือ ไม่ เป็น ข้อเท็จจริง ศาลแรงงานกลางมิได้ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ กระทำ โดย ประมาท กรณี จึง ไม่ ต้องด้วย ข้อยกเว้น ที่ จะ ไม่ ต้อง จ่าย ค่าชดเชย
ข้อ ที่ ว่า โจทก์ พยายาม จะ ไม่ ปฏิบัติ งาน ตาม ระเบียบ ที่ เคยปฏิบัติ กัน มา โดย ไม่ ยอม ลง ชื่อ นำ เงิน ไป ฝาก สถานบัน การเงินที่ จำเลย เคย ฝาก เป็น ประจำ การ ดำเนินการ ประมูล ติดตั้ง ดาวเทียมภาค พื้นดิน กับ กระทรวง มหาดไทย ไม่ ได้ ข้อเสนอ ของ โจทก์ ไม่ เป็นผล ดี แก่ จำเลย นั้น เป็น เรื่อง ของ ความ คิดเห็น ใน การ ทำงานเท่านั้น ซึ่ง อาจ ถูก หรือ ผิด ได้ ผล หรือ ไม่ ได้ ผล ความ คิดเห็นใน การ ทำงาน และ การ ดำเนินการ ผิดพลาด ไม่ ได้ ผล มิใช่ เป็น เรื่องของ การ ฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ เกี่ยวกับ การ ทำงาน หรือ คำสั่งอัน ชอบ ด้วย กฎหมาย
พิพากษา ยืน.

Share