แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
หลังจากพระราชบัญญัติระงับการนับเวลาราชการทวีคูณในระหว่างเวลาประกาศใช้กฎอัยการศึกตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่1ลงวันที่6ตุลาคมพ.ศ.2519พ.ศ.2519ออกใช้บังคับแล้วจำเลยก็ยังยึดมั่นในความเห็นของตนตลอดมาว่าจำเลยไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จโดยคำนวณเวลาทำงานทวีคูณให้แก่พนักงานและคนงานของจำเลยทั้งยังได้โต้แย้งตลอดมาดังนั้นการที่จำเลยเห็นว่าหากจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทที่สั่งให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จโดยคำนวณเวลาทำงานทวีคูณให้แก่พนักงานและคนงานแล้วก็อาจเป็นสาเหตุให้กระทรวงอุตสาหกรรมเลิกสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันกับจำเลยทำให้จำเลยต้องเสียหายเป็นเงินจำนวนมากนั้นจึงเป็นเรื่องที่จำเลยคาดคิดเอาเองเป็นส่วนตัวและไม่แน่นอนเมื่อจำเลยได้จ่ายเงินบำเหน็จโดยรวมเวลาทำงานทวีคูณให้แก่โจทก์ไปแล้วกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา407จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินบำเหน็จคืนจากโจทก์ได้.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง หนึ่งร้อย เก้าสิบหก เป็น ลูกจ้าง ประจำของ จำเลย และ เป็น สมาชิก ของ สหภาพแรงงาน โรงงาน สุรา บางยี่ขัน เมื่อ พ.ศ. 2424 จำเลย กับ สหภาพแรงงานฯ ได้ ทำ บันทึก ข้อความ ตกลงเกี่ยวกับ สหภาพ การจ้าง ไว้ ต่อ กัน ว่า การ จ่าย เงิน บำเหน็จ ตัดตอนเป็น รายปี จำเลย จะ จ่าย ให้ ใน แต่ ละ ปี เท่ากับ เงินเดือน สุดท้ายใน ปี นั้น ใน ปี ใด ทาง ราชการ ประกาศ กฎอัยการศึก ลูกจ้าง มี สิทธิได้ รับ เงินบำเหน็จ เท่ากับ เงินเดือน 2 เดือน สุดท้าย ของ ปี นั้นเมื่อ วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ได้ มี คำสั่ง ของ คณะปฏิรูป การ ปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 1 ประกาศ ใช้ กฎอัยการศึก ทั่ว ราชอาณาจักร และ มี ผลบังคับ ตลอด มา จน ถึง พ.ศ. 2527 จำเลย จึง ต้อง จ่าย เงิน บำเหน็จตัดตอน เป็น รายปี เท่ากับ เงินเดือน 2 เดือน สุดท้าย ใน ระหว่าง ประกาศใช้ กฎอัยการศึก แต่ ใน ปี 2526 และ 2527 จำเลย จ่าย บำเหน็จ ตัดตอนเท่ากับ เงินเดือน 1 เดือน สุดท้าย ของ ปี นั้น เท่านั้น ขอ ให้ บังคับจำเลย จ่าย เงิน บำเหน็จ ตัดตอน ที่ ขาด ไป ปี ละ 1 เดือน รวม 2 ปีให้ โจทก์ แต่ ละ คน พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า พระราชบัญญัติ ระงับ การ นับ เวลา ราชการ ทวีคูณ ในระหว่าง เวลา ประกาศ ใช้ กฎอัยการศึก ตาม คำสั่ง ของ คณะปฏิรูป การปกครอง แผ่นดิน ฉบับที่ 1 ลง วันที่ 6 ตุลาคม 2519 พ.ศ. 2519 มี ผลใช้ บังคับ ตั้งแต่ วันที่ 6 มกราคม 2520 เป็นต้นไป โดย มิให้ นับ เวลาราชการ ทวีคูณ แก่ ข้าราชการ จึง มี ผล ให้ โจทก์ และ พนักงาน ของ จำเลยทุก คน ไม่ อาจ นับ เวลา ทำงาน ทวีคูณ ได้ ไป ด้วย เพราะ สิทธิ ของโจทก์ และ พนักงาน ของ จำเลย เกิดขึ้น จาก คำสั่ง กระทรวง อุตสาหกรรมที่ 124/2501 ซึ่ง มี ข้อความ เช่นเดียว กับ บทบัญญัติ ว่าด้วย การ นับเวลา ทวีคูณ ของ ข้าราชการ ตาม พระราชบัญญัติ บำเหน็จบำนาญ พ.ศ. 2494มาตรา 24 วรรคสอง โดย มุ่งหมาย ที่ จะ ให้ พนักงาน และ คนงาน ของ จำเลยมี ฐานะ ใกล้เคียง กับ ข้าราชการ จึง ไม่ มี เหตุผล ใด ที่ พนักงานและ คนงาน ดังกล่าว มี สิทธิ ได้ นับ เวลา ทำงาน ทวีคูณ เกินไป กว่าที่ ข้าราชการ จะ พึง ได้ รับ ใน ปี 2523 จำเลย ได้ โต้แย้ง การ คำนวณเงิน บำเหน็จ ทวีคูณ กรณี ลูกจ้าง เกษียณอายุ ต่อ กรมโรงงาน อุตสาหกรรมคณะกรรมการ วินิจฉัย ข้อพิพาท ได้ ชี้ขาด ว่า ให้ พนักงาน และ คนงานนับ เวลา ทำงาน ทวีคูณ ใน ระหว่าง ประกาศ ใช้ กฏอัยการศึก ซึ่ง จำเลยไม่ เห็น ด้วย แต่ หาก ไม่ ปฏิบัติ ตาม กรมโรงงาน อุตสาหกรรม ก็ จะ ถือว่า จำเลย ผิด สัญญา เช่า และ เลิก สัญญา กับ จำเลย ได้ อัน จะ เป็นเหตุ ให้ จำเลย เสียหาย เป็น เงิน หลายพันล้าน บาท จำเลย จึง จำต้องปฏิบัติ ตาม คำวินิจฉัย ดังกล่าว ไป พลาง ก่อน และ ได้ โต้ยแ้ง ต่อรัฐมนตรี ว่าการ กระทรวง อุตสาหกรรม เพื่อ ตั้ง คณะกรรมการ ชุด ใหม่ขึ้น วินิจฉัย ชี้ขาด ต่อมา ศาลฎีกา พิพากษา ปัญหา นี้ ว่า ไม่ ให้พนักงาน และ คนงาน นับ เวลา ทำงาน เป็น ทวีคูณ มา รวม คำนวณ เงินบำเหน็จ ใน ระหว่าง ที่ กฎหมาย ระงับ การ นับ เวลา ทวีคูณ การ ที่ จำเลยจ่าย เงิน บำเหน็จ ตัดตอน ให้ โจทก์ ทุกคน ใน ปี 2526 และ 2527 ปีละ1 เดือน ของ เงินเดือน เดือน สุดท้าย จึง ถูกต้อง และ ชอบ ด้วย กฎหมายแล้ว และ จำเลย ได้ จ่าย เงิน บำเหน็จ ตัดตอน เป็น รายปี ให้ แก่ โจทก์ทุกคน เท่ากับ เงินเดือน 2 เดือน สุดท้าย มา ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2523-2525 เป็น การ จ่าย เกินไป คนละ 1 เดือน โดย ถูก บังคับ ตาม คำสั่ง ของกรมโรงงาน อุตสาหกรรม โจทก์ ทุก คน จึง ต้อง คืน เงิน ส่วน ที่ รับเกินไป แก่ จำเลย จึง ฟ้องแย้ง ขอ ให้ บังคับ โจทก์ ทุก คน คืน เงิน ที่รับ เกินไป ใน ปี 2523 – 2525 ปีละ 1 เดือน รวม 3 ปี พร้อม ดอกเบี้ยแก่ จำเลย และ ขอ ให้ ยกฟ้อง โจทก์
โจทก์ ทั้ง หนึ่งร้อย เก้าสิบหก ให้การ แก้ ฟ้องแย้ง ว่า โจทก์ ทุกคนได้ รับ เงิน บำเหน็จ ตัดตอน ใน ปี 2523- 2525 ชอบ ด้วย ข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง แล้ว พระราชบัญญัติ ระงับ การ นับ เวลา ราชการทวีคูณฯ มี ผล ใช้ บังคับ แก่ ข้าราชการ เท่านั้น ไม่ มี ผล ถึง โจทก์ด้วย ข้อตกลง เกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง เมื่อ วันที่ 3 มีนาคม 2524 ได้เปลี่ยนแปลง การ รับ บำเหน็จ ตาม คำสั่ง กระทรวง อุตสาหกรรม ที่124/2501 แล้ว และ ได้ ทำ ขึ้น ภายหลัง พระราชบัญญัติ ดังกล่าว ใช้บังคับ แล้ว แสดง ว่า จำเลย มี เจตนา ถือ บันทึก ข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับ นี้ เป็น หลัก ฟ้องแย้ง ของ จำเลย เป็น เรื่อง ลาภมิควร ได้ และ คดี ขาด อายุความ 1 ปี แล้ว ขอ ให้ ยก ฟ้องแย้ง
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า โจทก์ ไม่ อาจ นับ เวลา ทำงาน ทวีคูณ ได้ส่วน จำเลย ได้ จ่าย เงิน บำเหน็จ ตัดตอน ไป โดย ทราบ ว่า ไม่ มี การนับ ระยะ เวลา ราชการ ทวีคูณ แล้ว เป็น การ ชำระ หนี้ ตาม อำเภอใจ ไม่มี สิทธิ เรียกคืน และ ฟ้องแย้ง ขาด อายุความ พิพากษา ยกฟ้อง และ ยกฟ้องแย้ง
โจทก์ ทั้ง หนึ่งร้อย เก้าสิบหก และ จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ปัญหา ดังกล่าว ฟ้องแย้ง ของ จำเลยว่า หลังจาก ที่ พระราชบัญญัติ ระงับ การ นับ เวลา ราชการ ทวีคูณ ในระหว่าง เวลา ประกาศ ใช้ กฏอัยการศึก ตาม คำสั่ง ของ คณะปฏิรูป การปกครอง แผ่นดิน ฉบับที่ 1 ลง วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2519 ออกใช้ บังคับ แล้ว จำเลย ก็ ยัง ยึดมั่น ใน ความเห็น ของ ตน ตลอด มา ว่าจำเลย ไม่ มี หน้าที่ ต้อง จ่าย เงิน บำเหน็จ โดย คำนวณ เวลา ทำงานทวีคูณ ให้ แก่ พนักงาน และ คนงาน ของ จำเลย ทั้ง ยัง มิได้ โต้แย้งคัดค้าน ตลอด มา ดังนั้น การ ที่ จำเลย เห็น ว่า หาก จำเลย ไม่ ยอมปฏิบัติ ตาม คำ ชี้ขาด ของ คณะกรรมการ วินิจฉัย ข้อพิพาท แล้ว ก็ อาจเป็น สาเหตุ ให้ กระทรวง อุตสาหกรรม เลิก สัญญา เช่า โรงงาน สุราบางยี่ขัน กับ จำเลย ซึ่ง จะ ทำ ให้ จำเลย ต้อง เสียหาย เป็น เงินจำนวน มาก นั้น จึง เป็น เรื่อง ที่ จำเลย คาดคิด เอาเอง เป็น ส่วนตัวและ ไม่ แน่นอน ส่วน ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า การ จ่าย เงิน บำเหน็จ ตามคำสั่ง กระทรวง อุตสาหกรรม ที่ 124/2501 ได้ มี ข้อ 34 กำหนด ไว้ ว่าพนักงาน ประจำ ที่ ตาย เพราะ การ ประพฤติชั่ว อย่าง ร้ายแรง ของ ตนเองหรือ ออก จาก งาน เพราะ ได้ กระทำ ผิด อย่าง ร้ายแรง ไม่ มี สิทธิ ได้รับ เงิน บำเหน็จ ด้วย เหตุ นี้ หาก พนักงาน และ คนงาน ของ จำเลย ได้รับ เงิน บำเหน็จ ตัดตอน จาก จำเลย ไป แล้ว หาก พนักงาน หรือ คนงานผู้นั้น ตาย หรือ ออก จาก งาน ตาม กรณี ดังกล่าว ก็ ย่อม ไม่ มี สิทธิได้ รับ เงิน บำเหน็จ และ เงิน บำเหน็จ ที่ ได้ รับ ไป แล้ว ก็ ต้อง คืนให้ จำเลย ดังนั้น เมื่อ จำเลย จ่าย เงิน บำเหน็จ ตัดตอน ไป เพื่อ รอฟัง ผล คำพิพากษา ศาลฎีกา เช่นนี้ จำเลย ก็ ย่อม มี สิทธิ เรียก คืน ได้ เห็นว่า เหตุ ที่ จำเลย จะ เรียก เก็บ เงิน บำเหน็จ คืน ตาม ข้อ 34ของ คำสั่ง ดังกล่าว เป็น เหตุ อื่น ต่างหาก จาก เหตุ คดี นี้ จะ นำ มาเป็น หลัก ให้ วินิจฉัย ตาม ข้ออุทธรณ์ ของ จำเลย มิได้ ศาลฎีกา เห็นว่า ตาม พฤติการณ์ ที่ ได้ ความ มา กรณี จึง เป็น เรื่อง ที่ จำเลย กระทำการ ชำระ หนี้ ตาม อำเภอใจ โดย รู้ อยู่ ว่า จำเลย ไม่ มี ความ ผูกพันที่ จะ ต้อง ชำระ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จำเลย จึงไม่ มี สิทธิ เรียกคืน จาก โจทก์ ทุกคน ได้
พิพากษา ยืน.