คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่3ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยหากจำเลยที่3จะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ก็ต้องยกอายุความในการเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ว่าห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882วรรคแรกขึ้นต่อสู้มิฉะนั้นไม่เป็นประเด็นแห่งคดีและไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้จำเลยที่3จึงฎีกาต่อมาไม่ได้เพราะเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ ของ จำเลย ที่ 2 ไป ใน ทางการที่ จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ด้วย ความประมาท ฝ่า สัญญาณไฟจราจร สีแดงจน เสีย หลัก พุ่ง ชน รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 6 ง-3653 กรุงเทพมหานครของ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย จำเลย ที่ 2 เป็น นายจ้าง ของ จำเลย ที่ 1และ จำเลย ที่ 3 เป็น ผู้รับประกันภัย รถยนต์ คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับต้อง ร่วมรับผิด ใน ผล แห่ง ละเมิด ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกันใช้ เงิน จำนวน 27,000 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วัน ละเมิด จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 มิใช่ นายจ้าง ของ จำเลย ที่ 1มิได้ ใช้ ให้ จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ ไป ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2จำเลย ที่ 3 ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัย จึง ไม่ต้อง รับผิด ด้วย เหตุ เกิดขึ้นเพราะ ความประมาท ของ ผู้ขับ รถยนต์ ของ โจทก์ รถยนต์ โจทก์ เสียหายค่าซ่อม ไม่เกิน 3,000 บาท ไม่ เสื่อมราคา ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความเพราะ โจทก์ ทราบ ถึง เหตุ แห่ง การกระทำ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้ พึง จะ ต้องใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ นับแต่ วันที่ 14 มกราคม 2529 อันเป็นวัน ทำละเมิด แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ใช้ เงิน 15,900 บาท แก่ โจทก์พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วัน ละเมิด จนกว่า จะ ชำระ เสร็จให้ยก ฟ้องโจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ร่วม กับจำเลย ที่ 1 รับผิด ใช้ ค่าเสียหาย พร้อม ดอกเบี้ย ให้ แก่ โจทก์ ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น แต่ สำหรับ จำเลย ที่ 3 ให้ รับผิด ใน ดอกเบี้ยนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ที่ 3 ฎีกา ต่อไป ว่า ตาม ที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า โจทก์ ฟ้อง ภายใน อายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิด วินาศภัย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรกนั้น เป็น เรื่อง อายุความ การ ฟ้องร้อง เรียก ค่าสินไหมทดแทน ระหว่างจำเลย ที่ 2 ผู้เอาประกันภัย กับ จำเลย ที่ 3 ผู้รับประกันภัย เท่านั้นเห็นว่า โจทก์ ฟ้อง ขอให้ จำเลย ที่ 3 ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัย ค้ำจุนรับผิด ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ตาม กรมธรรม์ประกันภัย ไม่ได้ ฟ้อง ให้ รับผิดใน ฐานะ ผู้ทำละเมิด หาก จำเลย ที่ 3 จะ ยก อายุความ ขึ้น เป็น ข้อต่อสู้จำเลย ที่ 3 ก็ ต้อง ยก อายุความ ใน การ เรียก ค่าสินไหมทดแทน ที่ ว่าห้าม มิให้ ฟ้องคดี เมื่อ พ้น กำหนด สอง ปี นับแต่ วัน วินาศภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรก ซึ่ง บัญญัติ ไว้ต่างหาก จาก อายุความ เรื่อง ละเมิด ตาม มาตรา 448 ขึ้น ต่อสู้ เมื่อจำเลย ที่ 3 ไม่ได้ ยก อายุความ เรื่อง การ เรียก ให้ ใช้ ค่าสินไหมทดแทนตาม กรมธรรม์ประกันภัย ขึ้น ต่อสู้ จึง ไม่เป็น ประเด็น แห่ง คดี และไม่ใช่ ปัญหา เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ศาลอุทธรณ์จะ ยกขึ้น วินิจฉัย เอง ไม่ได้ จำเลย ที่ 3 จึง ฎีกา ต่อมา ไม่ได้ เพราะเป็น ข้อ ที่ ไม่ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลอุทธรณ์ ต้องห้าม ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ”
พิพากษายก ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3

Share