คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2544/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ตามหนังสือมอบอำนาจปรากฏว่าธนาคารมอบอำนาจให้ผู้จัดการธนาคารสาขามีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีที่สาขามีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องดังนี้ผู้จัดการธนาคารสาขาย่อมมีอำนาจร้องทุกข์กล่าวหาจำเลยว่ายักยอกเงินที่พนักงานของธนาคารสาขาส่งมอบให้จำเลยโดยสำคัญผิด. โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ครอบครองเงินจำนวน90,000บาทของธนาคารโจทก์ร่วมซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของผู้จัดการธนาคารโจทก์ร่วมสาขานครศรีธรรมราชโดยผู้มีชื่อได้ส่งมอบเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยโดยสำคัญผิดแล้วจำเลยเบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริตเป็นการกล่าวถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)แล้วฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์หาเคลือบคลุมไม่. จำเลยเขียนเช็คสั่งจ่ายเงิน10,000บาทโดยเขียนจำนวนเงินด้วยอักษรว่า’หนึ่งหมื่นบาท’แต่จำนวนเงินที่เขียนด้วยตัวเลขได้ใส่เครื่องหมายจุลภาคผิดตำแหน่งโดยใส่ไว้หลังเลขศูนย์ตัวที่สองนับจากเลข1แล้วนำมาขอเบิกเงินจากธนาคารพนักงานธนาคารสำคัญผิดว่าจำเลยขอเบิกเงิน100,000บาทจึงจ่ายเงินให้จำเลย100,000บาทถือได้ว่าเงินจำนวน90,000บาทเป็นเงินที่ส่งมอบให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยโดยสำคัญผิดไปแม้จะด้วยการใดก็ตามเมื่อจำเลยเบียดบังเอาเป็นของตนการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา352วรรคสอง.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ครอบครอง เงิน จำนวน 90,000 บาท ของ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ซึ่ง อยู่ ใน ความ ดูแล รักษา ของ นาย สุวรรณภูมิผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขา นครศรีธรรมราช ผู้เสียหาย โดยผู้ มี ชื่อ ได้ ส่งมอบ เงิน ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย โดย สำคัญ ผิดจำเลย ได้ บังอาจ เบียดบัง เงิน จำนวน ดังกล่าว ไว้ เป็น กรรมสิทธิ์ของ ตน โดย ทุจริต ขอ ให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342วรรคสอง
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด ผู้เสียหาย เข้า เป็น โจทก์ร่วม
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ฟ้อง ให้ จำคุก 6 เดือนและ ให้ จำเลย ใช้ เงิน 90,000 บาท แก่ โจทก์ร่วม
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ฎีกา ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา ใน ศาลอุทธรณ์ อนุญาต ให้ ฎีกา ในปัญหา ข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า ใน วัน เกิดเหตุ จำเลย ได้ เขียน เช็คสั่ง จ่าย เงิน 10,000 บาท โดย เขียน จำนวน เงิน ด้วย ตัว อักษร ว่า’หนึ่งหมื่น บาท’ แต่ จำนวน เงิน ที่ เขียน ด้วย ตัวเลข ได้ ใส่เครื่องหมาย จุลภาค ผิด ตำแหน่ง โดย ใส่ ไว้ หลัง เลข ศูนย์ ตัว ที่สอง นับ จาก เลข 1 แล้ว นำ มา ขอ เบิก เงิน จาก ธนาคาร โจทก์ร่วม สาขานครศรีธรรมราช พนักงาน ของ โจทก์ร่วม สำคัญ ผิด ว่า จำเลย ขอ เบิก เงิน 100,000 บาท จึง จ่าย เงิน ให้ จำเลย จำนวน 100,000 บาท เกิน จำนวนที่ สั่ง จ่าย ตาม เช็ค ไป เป็น เงิน 90,000 บาท พนักงาน ของ โจทก์ร่วมไป ขอ เงิน ส่วน ที่ จ่าย เกิน ไป นั้น คืน จาก จำเลย จำเลย ไม่ ยอม คืนให้
วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ธนาคาร โจทก์ร่วม เป็น นิติบุคคล ตาม กฎหมายและ ได้ มอบอำนาจ ให้ นาย สุวรรณภูมิ ผู้จัดการ ธนาคาร โจทก์ร่วม สาขานครศรีธรรมราช มี อำนาจฟ้อง และ ดำเนินคดี ที่ สาขา มี ส่วน ได้เสียหรือ เกี่ยวข้อง ปรากฏ ตาม หนังสือ มอบอำนาจ เอกสาร หมาย จ.1 ดังนั้นนาย สุวรรณภูมิ จึง มี อำนาจ ร้องทุกข์ และ ได้ มี การ สอบสวน ในความผิด นี้ โดย ชอบ แล้ว โจทก์ จึง มี อำนาจฟ้อง
โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่า จำเลย ได้ ครอบครอง เงิน จำนวน 90,000 บาท ของธนาคาร โจทก์ร่วม ซึ่ง อยู่ ใน ความ ดูแล รักษา ของ นาย สุวรรณภูมิผู้จัดการ ธนาคาร โจทก์ร่วม สาขา นครศรีธรรมราช โดย ผู้ มี ชื่อ ได้ส่งมอบ เงิน ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย โดย สำคัญ ผิด แล้ว จำเลย เบียดบังเงิน จำนวน ดังกล่าว เป็น ของ ตน โดย สุจริต เป็น การ กล่าว ถึง การกระทำ ที่ อ้าง ว่า จำเลย ได้ กระทำ ผิด ตลอด จน ข้อเท็จจริง และรายละเอียด ที่ เกี่ยวข้อง ด้วย พอสมควร เท่า ที่ จะ ให้ จำเลย เข้าใจข้อหา ได้ ดี ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้วฟ้อง โจทก์ เป็น ฟ้อง ที่ สมบูรณ์ ตาม กฎหมาย หา เป็น ฟ้อง เคลือบคลุมไม่
ตาม พฤติการณ์ ที่ พนักงาน ธนาคาร โจทก์ร่วม ส่ง มอบ เงิน 90,000 บาทให้ แก่ จำเลย ไป ก็ โดย สำคัญ ผิด ว่า จำเลย สั่ง จ่าย เงิน ตาม เช็คเป็น เงิน 100,000 บาท ซึ่ง ความจริง จำเลย สั่ง จ่าย เช็ค เป็น เงินเพียง 10,000 บาท ถือ ได้ ว่า เป็น การ ส่งมอบ ให้ โดย สำคัญ ผิด ไปแม้ จะ ด้วย ประการ ใด ก็ ตาม เมื่อ เงิน จำนวน ดังกล่าว ตก มา อยู่ ในความ ครอบครอง ของ จำเลย แล้ว จำเลย เบียดบัง เอา เป็น ของ ตน การกระทำ ของ จำเลย จึง เป็น ความผิด ตาม ฟ้อง
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ รอ การ ลงโทษ จำคุก จำเลย ไว้ นอกจาก ที่ แก้ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์.

Share