แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นสวนยางพาราจำเลยในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ได้รับโอนที่ดินดังกล่าวแล้วนำไปจดทะเบียนจำนองขอให้บังคับให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทและจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลยคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยเข้าแย่งทำสวนยางพาราในที่ดินพิพาทระหว่างคดีและเก็บดอกผลรายได้เป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวขอให้บังคับให้จำเลยส่งมอบรายได้ให้โจทก์ดังนี้ดอกผลรายได้จากการทำสวนยางพาราในที่ดินพิพาทก็คือค่าเสียหายอันเป็นผลเนื่องมาจากการที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในคดีเดิมนั้นเองซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวตามฟ้องคดีนี้ย่อมเกิดขึ้นทันทีที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทสิทธิการฟ้องคดีนี้เกิดจากมูลกรณีเดียวกับข้ออ้างในคดีเดิมจึงเป็นเรื่องเดียวกันฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173(1)
ย่อยาว
โจทก์ ทั้ง เจ็ด ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ด เป็น เจ้าของ ที่ดินพิพาท ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เลขที่ 306 เนื้อที่79 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา ร่วม กับ จำเลย คน ละ เท่า ๆ กัน ซึ่งศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ได้ มี คำพิพากษา แสดง สิทธิ ครอบครอง ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ดดังกล่าว ใน คดี ที่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ฟ้อง จำเลย ต่อ ศาลชั้นต้น ตาม คดีแพ่งหมายเลข ที่ 826/2530 โจทก์ ทั้ง เจ็ด ใน ฐานะ เจ้าของรวม มีสิทธิ จัดการทำสวน ยางพารา และ มีสิทธิ ได้รับ ดอกผล ตาม ส่วน ใน ที่ดินพิพาท เมื่อ ประมาณต้น ปี 2530 ถึง เดือน พฤศจิกายน 2534 หลังจาก โจทก์ ทั้ง เจ็ด ยื่นฟ้องจำเลย เป็น คดี ดังกล่าว จำเลย เข้า แย่ง ทำสวน ยางพารา ใน ที่ดินพิพาทระหว่าง คดี และ เก็บ ดอกผล รายได้ เป็น ของ จำเลย แต่เพียง ผู้เดียวรวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 1,323,493 บาท จำเลย มี หน้าที่ ต้อง ส่งมอบดอกผล รายได้ ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด คน ละ หนึ่ง ใน แปด ส่วนคิด เป็น เงิน ที่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด มีสิทธิ ได้รับ คน ละ 165,436.62 บาทหลังจาก ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษา จำเลย ยัง คง เข้า แย่ง ทำสวน ยางพาราต่อไป อีก โจทก์ ทั้ง เจ็ด มีสิทธิ ได้รับ ส่วนแบ่ง ดอกผล รายได้ คิด เป็น เงินคน ละ 3,500 บาท ต่อ เดือน ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน แก่ โจทก์ ทั้ง เจ็ดคน ละ 165,436.62 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ และ อีก เดือน ละ 3,500 บาท นับแต่วันฟ้อง จนกว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ด จะ ได้ เข้า ไป ทำสวน ยางพารา ใน ที่ดินพิพาทขอให้ มี คำสั่ง ตั้ง โจทก์ ที่ 5 เป็น ผู้จัดการ สวน ยางพารา ใน ที่ดินดังกล่าว ห้าม จำเลย เข้า เกี่ยวข้อง
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดินพิพาท โดย รับมรดกมาจาก นาย จำนันท์ สามี ของ จำเลย ซึ่ง เป็น ผู้มีสิทธิ ครอบครอง มา แต่ เดิม โดย นาย จำนันท์ ได้ ร่วม กับ จำเลย ครอบครอง ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท ด้วย การ ถากถาง ปรับ พื้นดิน และ ปลูก ต้นยางพารา จน กระทั่ง ที่ดินพิพาทกลาย เป็น สวน ยางพารา โจทก์ ทั้ง เจ็ด เคย ฟ้อง จำเลย ใน เรื่อง เดียว กัน นี้ต่อ ศาลชั้นต้น ตาม คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 826/2530 ขอให้ บังคับ จำเลยจดทะเบียน ใส่ ชื่อ โจทก์ ทั้ง เจ็ด เป็น ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดินพิพาทร่วม กับ จำเลย แต่ มิได้ ขอให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย ทั้ง ๆ ที่ โจทก์ทั้ง เจ็ด สามารถ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ทั้ง เจ็ดเป็น คดี เดียว กัน ได้ อยู่ แล้ว ฟ้องโจทก์ คดี นี้ จึง เป็น ฟ้องซ้อน กับ คดีดังกล่าว ซึ่ง อยู่ ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลฎีกา ยัง ไม่ถึงที่สุดโจทก์ เรียก ค่าเสียหาย สูง เกิน ความจริง สวน ยางพารา ใน ที่ดินพิพาทเมื่อ หัก ค่าใช้จ่าย แล้ว จะ มี รายได้ สุทธิ ปี ละ ไม่เกิน 40,000 บาทขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว เห็นว่า ฟ้องโจทก์ ทั้ง เจ็ด คดี นี้เป็น ฟ้องซ้อน กับ คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 826/2530 ของ ศาลชั้นต้นพิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง เจ็ด อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง เจ็ด ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี มี ปัญหา สู่ ศาลฎีกา ว่า ฟ้องโจทก์ ทั้ง เจ็ดคดี นี้ เป็น ฟ้องซ้อน กับ คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 826/2530 ของ ศาลชั้นต้นหรือไม่ เห็นว่า ปัญหา ดังกล่าว เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่ง ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง บัญญัติ ว่า “นับแต่ เวลาที่ ได้ ยื่น คำฟ้อง แล้ว คดี นั้น อยู่ ระหว่าง พิจารณา และ ผล แห่ง การ นี้
(1) ห้าม ไม่ให้ โจทก์ ยื่นฟ้อง เรื่อง เดียว กัน นั้น ต่อ ศาล เดียว กันหรือ ศาล อื่น และ ”
ข้อเท็จจริง ฟังได้ ตาม ที่ คู่ความ รับ และ ไม่ โต้เถียง กัน ว่า โจทก์ทั้ง เจ็ด เคย ฟ้อง จำเลย กับพวก ต่อ ศาลชั้นต้น ตาม คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่826/2530 อ้างว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ด มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดินพิพาท อันเป็นสวน ยางพารา ซึ่ง จำเลย ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ของ นาย จำนันท์ วงษ์ขจร ได้รับ โอน ที่ดิน ดังกล่าว และ จดทะเบียน จำนอง ไว้ กับ ธนาคารพาณิชย์ขอให้ บังคับ จำเลย จดทะเบียน ไถ่ถอน จำนอง ที่ดินพิพาท และ จดทะเบียนใส่ ชื่อ โจทก์ ทั้ง เจ็ด เป็น ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ร่วม กับ จำเลย คดี อยู่ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลฎีกา แล้ว โจทก์ ทั้ง เจ็ด จึง ได้ ฟ้อง จำเลยเป็น คดี นี้ อ้างว่า จำเลย เข้า แย่ง ทำสวน ยางพารา ใน ที่ดินพิพาท ระหว่างคดี และ เก็บ ดอกผล รายได้ เป็น ของ จำเลย แต่เพียง ผู้เดียว รวมเป็น เงินทั้งสิ้น 1,323,493 บาท จำเลย มี หน้าที่ ต้อง ส่งมอบ ดอกผล รายได้ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน แก่ โจทก์ทั้ง เจ็ด คน ละ 165,436.62 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ และ อีก เดือน ละ 3,500 บาทนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ด จะ ได้ เข้า ไป ทำสวน ยางพารา ในที่ดินพิพาท ดังนี้ เห็นว่า ดอกผล รายได้ จาก การ ทำสวน ยางพารา ในที่ดินพิพาท ก็ คือ ค่าเสียหาย อันเป็น ผล เนื่องมาจาก การ ที่ จำเลย ไม่ยอมจดทะเบียน ใส่ ชื่อ โจทก์ ทั้ง เจ็ด เป็น ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดินพิพาทใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 826/2530 ร่วม กับ จำเลย นั่นเองซึ่ง ค่าเสียหาย ดังกล่าว ตาม ที่ ฟ้อง ใน คดี นี้ ย่อม เกิดขึ้น ทันที ที่ จำเลยปฏิเสธ ไม่ยอม จดทะเบียน ใส่ ชื่อ ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด เป็น ผู้มีสิทธิครอบครอง ที่ดินพิพาท สิทธิ การ ฟ้องคดี นี้ เกิดจาก มูลกรณี เดียว กัน กับข้ออ้าง ของ โจทก์ ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 826/2530 จึง เป็นเรื่อง เดียว กัน แต่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด หา ได้ ฟ้อง เป็น คดี เดียว กัน ไม่เพิ่ง มา ฟ้อง ใหม่ เป็น คดี นี้ จึง เป็น คดี ที่ ฟ้องซ้อน กับ คดีแพ่งหมายเลขแดง ที่ 826/2530 ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1)
พิพากษายืน