คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2531/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ยังไม่ได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นที่จะนำมาใช้ยันแก่บริษัทไม่ได้ตามป.พ.พ.มาตรา1129วรรคสามหมายถึงกรณีที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเองโดยบริษัทมิได้ร่วมรู้เห็นอยู่ด้วยเมื่อขณะที่มีการโอนขายหุ้นกัน ส. ผู้รับโอนเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยแม้จะรับโอนหุ้นไว้ในฐานะส่วนตัวต้องถือว่าบริษัทจำเลยร่วมรู้เห็นและยินยอมให้มีการโอนหุ้นแล้วบริษัทจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นโดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนคนหนึ่งคนใดแจ้งให้ดำเนินการอีกมิฉะนั้นย่อมเป็นความผิดของบริษัทจำเลยเองการที่กลับมายกเหตุที่ไม่มีการจดแจ้งการโอนขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อให้ผู้โอนต้องรับผิดย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามมาตรา5 ความรับผิดของผู้โอนหุ้นสำหรับจำนวนเงินที่ยังส่งใช้ไม่ครบตามมูลค่าของหุ้นที่โอนตามมาตรา1133หมายถึงความรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัทที่ผู้โอนเคยถือหุ้นอยู่หาได้หมายถึงว่าผู้โอนยังจะต้องรับผิดต่อบริษัทในเงินค่าหุ้นซึ่งตนยังส่งใช้ไม่ครบแม้จะได้โอนหุ้นดังกล่าวไปแล้วแต่อย่างใดไม่

ย่อยาว

ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง และ แก้ไข คำร้อง ว่า เดิม ผู้ร้อง เป็น ผู้ถือหุ้นและ กรรมการ ผู้มีอำนาจ ของ บริษัท จำเลย โดย ถือ หุ้น อยู่ 180 หุ้นมูลค่า หุ้น ละ 1,000 บาท ชำระ แล้ว หุ้น ละ 250 บาท คง ค้างชำระ ค่าหุ้นรวม 135,000 บาท ผู้ร้อง ลาออก จาก ตำแหน่ง กรรมการ และ ได้ โอนหุ้นของ ผู้ร้อง ทั้งหมด ให้ นาย สมศักดิ์ ฉันทนากร กรรมการ ผู้จัดการ ของ บริษัท จำเลย แล้ว ที่ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เรียก ให้ ผู้ร้องชำระ เงินค่าหุ้น จึง ไม่ชอบ ขอให้ มี คำสั่ง เพิกถอน คำสั่ง ของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ที่ ให้ ผู้ร้อง ชำระ เงิน จำนวน 135,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 30 มิถุนายน 2533เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
ผู้คัดค้าน ยื่น คำคัดค้าน ว่า การ โอนหุ้น ระหว่าง ผู้ร้อง กับนาย สมศักดิ์ ฉันทนากร ไม่มี การ แก้ไข ทาง ทะเบียน ผู้ถือหุ้น จึง ต้อง ถือว่า บัญชี ราย ชื่อ ผู้ถือหุ้น ฉบับ ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2518เป็น เอกสาร ที่ ถูกต้อง และ แท้จริง ผู้ร้อง จึง ต้อง รับผิด ใน มูลหนี้ที่ ค้างชำระ ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ยก คำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้นรับรอง ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นฟังได้ ว่า ผู้ร้อง เคย เป็น กรรมการ และ เป็น ผู้ถือหุ้น ชนิด ระบุ ชื่อลง ใน ใบหุ้น ใน บริษัท จำเลย จำนวน 180 หุ้น มูลค่า หุ้น ละ 1,000 บาทชำระ ค่าหุ้น แล้ว หุ้น ละ 250 บาท คง ค้างชำระ อีก หุ้น ละ 750 บาทรวม เงินค่าหุ้น ที่ ค้างชำระ ทั้งสิ้น 135,000 บาท ใน ปี 2519 ผู้ร้องลาออก จาก การ เป็น กรรมการ บริษัท จำเลย และ โอน ขาย หุ้น ทั้งหมด ให้ แก่นาย สมศักดิ์ ซึ่ง เป็น กรรมการ ผู้มีอำนาจ กระทำการ แทน บริษัท จำเลย ต่อ จาก ผู้ร้อง โดย ได้ ทำ สัญญาซื้อขาย หุ้น กัน ณ ที่ทำการ บริษัทจำเลย ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย ร.10 แต่ การ โอนหุ้น ระหว่าง ผู้ร้อง กับนาย สมศักดิ์ ยัง มิได้ มี การ จด แจ้ง การ โอน ทั้ง ชื่อ และ สำนัก ของ ผู้รับโอน ลง ใน ทะเบียน ผู้ถือหุ้น คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกาของ ผู้ร้อง ว่า ผู้ร้อง จะ ต้อง รับผิด ชำระ เงินค่าหุ้น ที่ ยัง ส่ง ใช้ไม่ครบ ให้ แก่ ผู้คัดค้าน หรือไม่ เพียงใด ศาลฎีกา พิจารณา แล้ว เห็นว่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม บัญญัติ ถึงการ โอนหุ้น ชนิด ระบุ ชื่อ ลง ใน ใบหุ้น ที่ ยัง ไม่ได้ จด แจ้ง การ โอน ลง ในทะเบียน ผู้ถือหุ้น ว่า จะ นำ มา ใช้ ยัน แก่ บริษัท ไม่ได้ นั้น หมายถึงกรณี ที่ ผู้โอน และ ผู้รับโอน โอนหุ้น กันเอง โดย บริษัท มิได้ ร่วม รู้เห็นอยู่ ด้วย กฎหมาย จึง บัญญัติ ให้ ถือ ตาม ที่ ปรากฏ อยู่ ใน ทะเบียน ผู้ถือหุ้นแต่ กรณี นี้ ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า ขณะที่ มี การ โอน ขาย หุ้น กัน นั้นนาย สมศักดิ์ ผู้รับโอน เป็น กรรมการ ผู้มีอำนาจ กระทำการ แทน บริษัท จำเลย ดังนี้ แม้ นาย สมศักดิ์ จะ รับโอน หุ้น ไว้ ใน ฐานะ ส่วนตัว แต่ ใน ฐานะ ที่นาย สมศักดิ์ เป็น กรรมการ ผู้มีอำนาจ กระทำการ แทน บริษัท จำเลย อยู่ ด้วย จึง ต้อง ถือว่า บริษัท จำเลยร่วม รู้เห็น และ ยินยอมให้ มี การ โอนหุ้น แล้ว บริษัท จำเลย จึง มี หน้าที่ ต้อง ดำเนินการ จด แจ้งการ โอน ลง ใน ทะเบียน ผู้ถือหุ้น โดย ไม่จำต้อง ให้ ผู้โอน หรือ ผู้รับโอนคนหนึ่ง คนใด แจ้ง ให้ ดำเนินการ อีก การ ที่ บริษัท จำเลย ไม่ ดำเนินการแจ้ง การ โอน ลง ใน ทะเบียน ผู้ถือหุ้น จึง เป็น ความผิด ของ บริษัท จำเลย เองนอกจาก นี้ ยัง เป็น ที่ เห็น ได้ว่า การ ที่ บริษัท จำเลย มี หน้าที่ ต้องจด แจ้ง การ โอน ลง ใน ทะเบียน ผู้ถือหุ้น แต่ กลับ ละเลย เพิกเฉย ไม่ จด แจ้งการ โอน แล้ว จะ กลับมา ยก เหตุ ที่ ไม่มี การ จด แจ้ง การ โอน ขึ้น เป็น ข้ออ้างเพื่อ ให้ ผู้โอน ต้อง รับผิด เช่นนี้ ย่อม เป็น การ ใช้ สิทธิ โดย ไม่สุจริตตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 อีก ด้วย บริษัท จำเลย หรือผู้คัดค้าน จะ เรียก ให้ ผู้ร้อง ชำระ เงินค่าหุ้น ที่ ยัง ค้างชำระ โดยอ้าง เหตุ ว่าการ โอนหุ้น ไม่สมบูรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสาม ไม่ได้ ส่วน บทบัญญัติ แห่ง ประมวล กฎหมาย แพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1133 เกี่ยวกับ ความรับผิด ของ ผู้โอน หุ้น สำหรับ จำนวนเงิน ที่ ยัง ส่ง ใช้ ไม่ครบ ตาม มูลค่า ของ หุ้น ที่ โอน นั้น หมายถึง ความรับผิด ต่อ เจ้าหนี้ ของ บริษัท ที่ ผู้โอน เคย ถือ หุ้น อยู่ หา ได้ หมายถึงว่า ผู้โอน ยัง จะ ต้อง รับผิด ต่อ บริษัท ใน เงินค่าหุ้น ซึ่ง ตน ยัง ส่ง ใช้ไม่ครบ แม้ จะ ได้ โอนหุ้น ดังกล่าว ไป แล้วแต่ อย่างใด ไม่ ดัง จะ เห็น ได้จาก บทบัญญัติ ใน (1) และ (2) ที่ ให้ รับผิด เฉพาะ ใน หนี้ ของ บริษัทซึ่ง ได้ ก่อ ให้ เกิดขึ้น ก่อน โอน และ ให้ รับผิด ต่อเมื่อ ผู้ที่ ยังถือ หุ้น อยู่ นั้น ไม่สามารถ ออก ส่วน ใช้ หนี้ อัน เขา จะ พึง ต้อง ออก ใช้นั้น ได้ ซึ่ง แสดง ถึง ความ เกี่ยวพัน ระหว่าง เจ้าหนี้ ของ บริษัท กับผู้ถือหุ้น ของ บริษัท โดยเฉพาะ ฉะนั้น คดี นี้ จึง ไม่ใช่ กรณี ที่ บริษัทจำเลย มีสิทธิ เรียกร้อง ให้ ผู้ร้อง ชำระ เงินค่าหุ้น ที่ ยัง ส่ง ใช้ไม่ครบ อัน ผู้คัดค้าน จะ เรียก ให้ ผู้ร้อง ชำระ เงิน แก่ ผู้คัดค้าน ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 ได้ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สองมี คำสั่ง และ คำพิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา ของ ผู้ร้องฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ จำหน่าย ชื่อ ผู้ร้อง ออกจาก บัญชี ลูกหนี้ ของบริษัท จำเลย

Share