คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์2ฉบับสั่งจ่ายเงิน54,000บาทและ240,000บาทตามลำดับแล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลยสาขา กาญจนบุรี ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ ช. เป็นผู้ช่วยผู้จัดการสาขาและ ป. เป็นสมุห์บัญชีของธนาคารจำเลยมีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจลายมือชื่อของลูกค้าโดยตรงอยู่ตลอดเวลาย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดาหากได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือปลอมแต่ ช. และ ป. ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้โจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงกันไว้ตามข้อความในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันในข้อ20ว่าหากผู้ฝากละเลยหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้เช็คไปปลอมลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายและธนาคารหลงเชื่อจ่ายเงินตามเช็คปลอมนั้นๆไปธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ฝากสำหรับเงินจำนวนที่จ่ายไปนั้นก็ตามแต่ข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจะยกขึ้นอ้างได้ก็ต่อเมื่อจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้ปลอมลายมือของผู้สั่งจ่ายโดยสุจริตและใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้วจำเลยจะอ้างเอาข้อตกลงดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1008วรรคแรกตอนท้ายหาได้ไม่ หนี้อันเกิดจากการละเมิดที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณโดยถือความเสียหายที่เกิดขึ้นว่าฝ่ายใดเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกันศาลย่อมกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ลดลงได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เป็น สาขา ของ ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด ซึ่ง เป็น นิติบุคคล ประเภท บริษัท จำกัด โจทก์ ได้ เปิด บัญชี กระแสรายวันกับ จำเลย ได้ มี คนร้าย ลัก เอา เช็ค ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด สาขา กาญจนบุรี ของ โจทก์ ไป 2 ฉบับ แล้ว คนร้าย ได้ นำ เช็ค ทั้ง สอง ฉบับ ลงลายมือชื่อ โจทก์ ปลอม เป็น ผู้สั่งจ่าย และ กรอก ข้อความ ใน เช็ค สั่งจ่ายเงิน จำนวนเงิน 54,000 บาท และ 240,000 บาท ตามลำดับ ไปเบิกเงิน จาก ธนาคาร ธนาคาร ได้ จ่ายเงิน ตามเช็ค ทั้ง สอง ฉบับ ไป รวมเป็น เงิน 294,000 บาท จำเลย จ่ายเงิน ตามเช็ค ทั้ง สอง ฉบับ โดยประมาทเลินเล่อ ไม่ ตรวจสอบ ว่า ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย เป็น ลายมือชื่อ ของ โจทก์แท้จริง หรือไม่ แล้ว จำเลย ได้ หักเงิน ใน บัญชี ของ โจทก์ ทำให้ โจทก์เสียหาย จำเลย ต้อง คืนเงิน จำนวน 294,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยแก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ได้ ใช้ เงิน ให้ แก่ บุคคล ผู้ มา ขอ ขึ้นเงิน ตามเช็ค พิพาท ทั้ง สอง ฉบับ รวม 294,000 บาท ไป โดยสุจริต และ ปราศจากความประมาท เลินเล่อ โดย ตรวจสอบ ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย ใน เช็คทั้ง สอง ฉบับ แล้ว ไม่มี เหตุ ชวน สงสัย ว่า มิใช่ ลายมือชื่อ ของ โจทก์ และโจทก์ เป็น ผู้สั่งจ่าย เช็คพิพาท ทั้ง สอง ฉบับนั้น เอง จำเลย ไม่ต้องรับผิด ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน294,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี แก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า มี ผู้ ปลอม ลายมือชื่อโจทก์ ลง ใน เช็คพิพาท 2 ฉบับ สั่งจ่าย เงิน 54,000 บาท และ 240,000 บาทตามลำดับ แล้ว นำ ไป เบิกเงิน จาก ธนาคาร จำเลย นาย ชูชาติ อังสถิตย์อนันต์ ผู้ช่วยผู้จัดการ เป็น ผู้ตรวจ ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย เช็ค ฉบับ แรก และ นาย ประดิษฐ์ หว่านพืช สมุห์บัญชี เป็น ผู้ตรวจ ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย ใน เช็ค ฉบับที่ สอง แล้ว อนุมัติ ให้จ่ายเงิน ตามเช็ค ไป ศาลฎีกา เห็นว่า นาย ชูชาติ มี ตำแหน่ง เป็น ผู้ช่วยผู้จัดการ สาขา และ นาย ประดิษฐ์ มี ตำแหน่ง เป็น สมุห์บัญชี ประจำ สาขา ของ จำเลย ปฏิบัติ หน้าที่ เกี่ยวกับ การ ตรวจ ลายมือชื่อ ของลูกค้า โดยตรง อยู่ ตลอด เวลา บุคคล ทั้ง สอง ย่อม มี ความ ชำนาญ ใน การตรวจ พิสูจน์ ลายมือชื่อ ของ ลูกค้า มาก กว่า คน ธรรมดา หาก ได้ ใช้ความระมัดระวัง ใน การปฏิบัติหน้าที่ ของ ตน โดย ละเอียด รอบคอบตรวจสอบ ลายมือชื่อ ตาม ควร ก็ จะ ต้อง ทราบ ว่า ลายมือชื่อ ดังกล่าวเป็น ลายมือ ปลอม การ ที่ เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ไม่ ใช้ ความระมัดระวังให้ เพียงพอ จึง เป็น การกระทำ โดยประมาท เลินเล่อ อย่างร้ายแรง ทำให้เกิด ความเสียหาย แก่ โจทก์ ข้อต่อสู้ ของ จำเลย ที่ ว่า โจทก์ กับ จำเลยมี ข้อตกลง กัน ไว้ ตาม ข้อความ ใน คำขอ เปิด บัญชี กระแสรายวันตาม เอกสาร หมาย ล. 1 โดยเฉพาะ ข้อ 20 ว่า หาก ผู้ฝาก ละเลย หรือประมาท เลินเล่อ เป็นเหตุ ให้ บุคคลอื่น ได้ เช็ค ไป ปลอม ลายมือชื่อของ ผู้สั่งจ่าย และ ธนาคาร หลงเชื่อ จ่ายเงิน ตามเช็ค ปลอม นั้น ๆ ไปธนาคาร ไม่ต้อง รับผิดชอบ ต่อ ผู้ฝาก สำหรับ เงิน จำนวน ที่ จ่าย ไป นั้นเห็นว่า ข้อตกลง ดังกล่าว จำเลย จะ ยกขึ้น อ้าง ได้ ก็ ต่อเมื่อ จำเลยได้ จ่ายเงิน ตามเช็ค ที่ มี ผู้ ปลอม ลายมือชื่อ ของ ผู้สั่งจ่าย โดยสุจริตและ ใช้ ความระมัดระวัง ตาม สมควร แก่ กรณี แล้ว มิใช่ เป็น การกระทำโดยประมาท เลินเล่อ ปราศจาก ความระมัดระวัง ตาม สมควรดัง เช่น กรณี นี้ เมื่อ การ สั่งจ่าย เงิน ตามเช็ค พิพาท ของ จำเลยดังกล่าว เป็น การกระทำ โดยประมาท ย่อม เป็น ละเมิด และ ต้อง รับผิดต่อ โจทก์ จำเลย จะ อ้าง เอา ข้อตกลง ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 ข้อ 20มา เป็น ข้อยกเว้น ว่า โจทก์ ตกอยู่ใน ฐาน เป็น ผู้ต้อง ตัด บท มิให้ ยก ข้อลายมือชื่อปลอม ขึ้น เป็น ข้อต่อสู้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1008 วรรคแรก ตอนท้าย หาได้ไม่
ปัญหา ต่อไป มี ว่า จำเลย จะ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ เพียงใดแม้ จำเลย จะ มิได้ ให้การ ต่อสู้ ไว้ ว่า โจทก์ จะ ต้อง ร่วมรับผิด ด้วยก็ ตาม แต่ หนี้ อัน เกิดจาก การ ละเมิด ที่ จะ ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน แก่ ฝ่ายผู้เสียหาย มาก น้อย เพียงใด นั้น ต้อง อาศัย พฤติการณ์ เป็น ประมาณโดย ถือ ความเสียหาย ที่ เกิดขึ้น ว่า ฝ่ายใด เป็น ผู้ ก่อ ยิ่งหย่อน กว่ากัน เพียงไร กรณี นี้ โจทก์ จำเลย ต่าง ก็ ขาด ความระมัดระวัง ด้วยกันศาลฎีกา เห็นสมควร กำหนด ให้ จำเลย รับผิด ต่อ โจทก์ เป็น เงิน147,000 บาท
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ เงิน 147,000 บาท พร้อม ด้วยดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี แก่ โจทก์

Share