คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์มึนเมาสุราในเวลาทำงานพูดจาก้าวร้าวท้าทายส.หัวหน้าแผนกธุรการแล้วละทิ้งหน้าที่ออกจากโรงงานไปเป็นการก่อให้เกิดสภาพไม่มีระเบียบวินัยทำลายความสงบเรียบร้อยของสถานที่ทำงานทำลายความสามัคคีก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทเสียหายต่อการปกครองบังคับบัญชาและเสียหายแก่การงานของจำเลยที่โจทก์ละทิ้งไปถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ของ จำเลย และ เป็น กรรมการลูกจ้าง ศาลแรงงานกลาง ได้ มี คำสั่ง อนุญาต ให้ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์เพราะ โจทก์ กระทำ ผิด ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน หลาย ข้อ จำเลยจึง มี คำสั่ง เลิกจ้าง โจทก์ โดย ไม่ จ่าย ค่าชดเชย ซึ่ง ความผิด ที่จำเลย ยก ขึ้น อ้าง มิใช่ ความผิด ร้ายแรง ขอ ให้ บังคับ จำเลย จ่ายค่าชดเชย พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ขอ อนุญาต ศาลแรงงานกลาง เลิกจ้าง โจทก์เนื่องจาก โจทก์ ได้ กระทำ ผิด วินัย อย่าง ร้ายแรง ฝ่าฝืน ระเบียบข้อบังคับฯ หลาย ข้อ คือ จำเลย ได้ ดื่ม สุรา มี อาการ มึนเมา ใน ขณะปฏิบัติ งาน ละทิ้ง หน้าที่ นอก บริเวณ โรงงาน โดย มิได้ รับ อนุญาตจาก ผู้บังคับบัญชา ใช้ ถ้อยคำ ไม่ สุภาพ ก้าวร้าว ผู้บังคับบัญชา พูดจาเอะอะ โวยวาย รบกวน การ ปฏิบัติ งาน ของ เพื่อนร่วม งาน จำเลย มี สิทธิพิจารณา โทษ ขั้น หนัก ได้ และ ได้ เลิกจ้าง โจทก์ ตาม ที่ ได้ รับอนุญาต จาก ศาลแรงงานกลาง จึง ไม่ ต้อง จ่าย ค่าชดเชย ให้ โจทก์ ขอ ให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนกคดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า พฤติการณ์ ของ โจทก์ ที่ ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน โดย โจทก์ มึนเมา สุรา ใน เวลาทำงาน พูดจา ก้าวร้าว ท้าทาย นาย โสภณ หัวหน้า แผนกธุรการ ว่า ‘ถ้างั้นหลัง เลิกงาน แล้ว เจอกัน ดีกว่า คุณ กับ ผม ก็ มี อายุ ห่างกัน ไม่เท่าไร’ และ ว่า ‘เดี๋ยว ชก หน้า แม่ มัน เลย’ หลังจาก นั้น ก็ ละทิ้งหน้าที่ ออก จาก โรงงาน ไป เป็น การ ก่อ ให้ เกิด สภาพ ไม่ มี ระเบียบวินัย ทำลาย ความสงบ เรียบร้อย ของ สถานที่ ทำงาน ทำลาย ความ สามัคคีก่อ ให้ เกิด การ ทะเลาะ วิวาท เสียหาย ต่อ การ ปกครอง บังคับบัญชาตลอด จน เสียหาย แก่ การงาน ของ จำเลย ที่ โจทก์ ละทิ้ง ไป ถือ ได้ ว่าเป็น การ ฝ่าฝืน ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน เป็น กรณีร้ายแรง ตาม ประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลง วันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47 (3) แล้ว จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ได้ โดย ไม่ต้อง จ่าย ค่าชดเชย
พิพากษา ยืน.

Share