คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ลำพังคำเบิกความของพนักงานตำรวจผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนพยานโจทก์ทั้งสองปากประกอบบันทึกการจับกุมข้อเท็จจริงก็พอฟังได้แล้วว่าเหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่26ธันวาคม2536ตรงตามวันเวลาที่โจทก์กล่าวในฟ้องการที่ผู้เสียหายเบิกความถึงวันและเดือนที่เกิดเหตุถูกต้องผิดไปแต่เพียงเป็นพ.ศ.2526แทนที่จะเป็นพ.ศ.2536น่าจะเป็นเพราะความพลั้งเผลอหรือหลงลืมคำเบิกความของผู้เสียหายผิดไปเพียงเท่านี้ยังถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องอันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสอง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,339 ให้ จำเลย คืน ทรัพย์ ที่ ยัง ไม่ได้ คืน หรือ ใช้ ราคา เป็น เงิน 10,000บาท แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 339 วรรคหนึ่ง วางโทษ จำคุก 6 ปี ชั้น จับกุม จำเลย ให้การรับสารภาพ เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษให้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่ง ใน สาม คง จำคุก 4 ปีให้ จำเลย คืน ทรัพย์ ที่ ยัง ไม่ได้ คืน หรือ ใช้ ราคา ทั้งสิ้น 10,000 บาทแก่ ผู้เสียหาย
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง ให้ จำคุก 10 ปี ลดโทษ ให้หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก 6 ปี 8 เดือนนอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา ตรวจ สำนวน ประชุม ปรึกษา แล้ว จำเลย ฎีกา ว่าโจทก์ ฟ้อง ว่า คดี นี้ เหตุ เกิด เมื่อ วันที่ 26 ธันวาคม 2536 แต่ ใน ทางพิจารณา ผู้เสียหาย ซึ่ง เป็น ประจักษ์พยาน เบิกความ ว่า เหตุ เกิด เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2526 ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏ ใน การ พิจารณาจึง แตกต่าง กับ ข้อเท็จจริง ดัง ที่ กล่าว ใน ฟ้อง และ การ ที่ ฟ้อง ผิด ไปเป็นเหตุ ให้ จำเลย หลงต่อสู้ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ลงโทษ จำเลย จึงไม่ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสองเห็นว่า นอกจาก คำเบิกความ ของ ผู้เสียหาย แล้ว โจทก์ ยัง มี สิบตำรวจเอก บุญเกิด ไปวันเสาร์ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ผู้จับกุม และ ร้อยตำรวจตรี เศกสันต์ บัณฑิตย์ พนักงานสอบสวน เบิกความ ประกอบ ด้วย โดย สิบตำรวจเอก บุญเกิด เบิกความ ว่า เมื่อ วันที่ 26 ธันวาคม 2536เวลา ประมาณ 23 นาฬิกา ได้ ปฏิบัติ หน้าที่ เป็น สาย ตรวจ อยู่ กับพวกขณะที่ ตรวจ ไป ถึง ศูนย์การค้า นครหลวง ได้ยิน ผู้เสียหาย ร้อง เรียกให้ คน ช่วย จึง ได้ หยุด รถ และ สอบถาม ผู้เสียหาย หลังจาก นั้น ได้ ติดตามคนร้าย ไป จน ถึง ร้าน ข้าวต้ม วัชระ เมื่อ ไป ถึง พบ พลเมือง ดี ได้ จับ จำเลย ไว้ผู้เสียหาย ได้ ชี้ ให้ พยาน จับ จำเลย ใน ข้อหา ร่วมกัน ชิงทรัพย์ ผู้เสียหายแล้ว ได้ ทำ บันทึก การ จับกุม เอกสาร หมาย จ. 6 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2536มี ข้อความ ว่า พฤติการณ์ แห่ง การ จับกุม คือ วัน นี้ วันที่ 26 ธันวาคม2536 เวลา 23.35 นาฬิกา พยาน กับพวก ได้ ออก ตรวจ ท้องที่ ที่ รับผิดชอบเมื่อ ตรวจ ไป ถึง ศูนย์การค้า นครหลวง ผู้เสียหาย แจ้ง ว่า มี คนร้าย สอง คนร่วมกัน ชิงทรัพย์ สร้อยคอ ผู้เสียหาย คนร้าย ได้ หลบหนี ไป จึง พา กัน ออกติดตาม จับ จำเลย ได้ ร้อยตำรวจตรี เศกสันต์ เบิกความ ว่า เมื่อ วันที่ 26 ธันวาคม 2536 เวลา 23.55 นาฬิกา สิบตำรวจเอก บุญเกิด ได้ จับ จำเลย มา ส่ง ให้ ที่ สถานีตำรวจนครบาล บางขุนนนท์ ใน ข้อหา ว่าร่วมกัน ชิงทรัพย์ พร้อม ทั้ง ได้ พา ผู้เสียหาย และ นำ สร้อยคอ ทองคำ ที่ ขาดอยู่ ครึ่ง เส้น มา ให้ ด้วย เห็นว่า ลำพัง คำเบิกความ ของ พยานบุคคลทั้ง สอง ปาก ดังกล่าว ประกอบ บันทึก การ จับกุม เอกสาร หมาย จ. 6ข้อเท็จจริง ก็ พอ ฟังได้ ว่า เหตุ คดี นี้ เกิด เมื่อ วันที่ 26 ธันวาคม 2536ตรง ตาม วัน เวลา ที่ โจทก์ กล่าว ใน ฟ้อง ผู้เสียหาย เบิกความ ถึง วัน และ เดือนที่เกิดเหตุ ถูกต้อง ผิด ไป แต่เพียง เป็น พ.ศ. 2526 แทนที่ จะ เป็นพ.ศ. 2536 น่า จะ เป็น เพราะ ความ พลั้งเผลอ หรือ หลงลืม คำเบิกความของ ผู้เสียหาย ผิด ไป เพียง เท่านี้ ไม่ถึง กับ จะ ฟัง ว่า ข้อเท็จจริง ตาม ที่ปรากฏ ใน การ พิจารณา แตกต่าง กับ ข้อเท็จจริง ดัง ที่ กล่าว ใน ฟ้องอัน จะ เป็นเหตุ ให้ ศาล ต้อง ยกฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
พิพากษายืน

Share