คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุมี ส. เป็นผู้ขับจำเลยที่3เช่าซื้อมามีจำเลยที่2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1เป็นผู้ค้ำประกันมีการพ่นชื่อจำเลยที่1เช่นเดียวกับรถยนต์ของจำเลยที่1คนทั่วไปที่ได้พบเห็นรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุจะต้องเข้าใจว่าเป็นรถของจำเลยที่1หลังเกิดเหตุจำเลยที่2ได้ต่อรองเรื่องค่าเสียหายพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่1ได้รับประโยชน์ร่วมกันกับจำเลยที่3เมื่อ ส. นำรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่3ไปใช้ในทางการที่จ้างของจำเลยที่3โดยประมาทเลินเล่อกรณีถือได้ว่า ส. เป็นลูกจ้างของจำเลยที่1ด้วยจำเลยที่1ซึ่งมีจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิด

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 3 ใน ฐานะ นายจ้างของ นาย สุพล หรือ ไก่ กับ จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ หุ้นส่วน ผู้จัดการ ของ จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่าสินไหมทดแทน ที่นาย สุพล หรือ ไก่ ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ ได้รับ บาดเจ็บ ขอให้จำเลย ทั้ง สาม ชำระ ค่าเสียหาย เป็น เงิน 398,931 บาท พร้อม ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน จำนวน ดังกล่าว นับแต่ วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ไม่ใช่นายจ้าง ของ จำเลย ที่ 3 และ นาย สุพลหรือไก่ เหตุ เกิด มิใช่ ความประมาท ของ นาย สุพลหรือไก่ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน283,605 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงินจำนวน 221,758 บาท แก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า ใน ปัญหา ที่ ว่า จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ต้อง ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 3 หรือไม่ นั้น ได้ความ ว่ารถยนต์บรรทุก คัน เกิดเหตุ ที่ มี นาย สุพลหรือไก่ เป็น ผู้ขับ จำเลย ที่ 3เช่าซื้อ มา มี จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ ของ จำเลย ที่ 1เป็น ผู้ค้ำประกัน มี การ พ่นชื่อ จำเลย ที่ 1 เช่นเดียว กับ รถยนต์ ของจำเลย ที่ 1 คน ทั่วไป ที่ ได้ พบ เห็น รถยนต์บรรทุก คัน เกิดเหตุ จะ ต้องเข้าใจ ว่า เป็น รถ ของ จำเลย ที่ 1 หลัง เกิดเหตุ จำเลย ที่ 2 ได้ ต่อรองเรื่อง ค่าเสียหาย ที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 อ้างว่า ได้ว่า จ้าง รถยนต์คัน เกิดเหตุ มา ใช้ เป็น ครั้งคราว ก็ คง มี แต่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3ซึ่ง มีผล ประโยชน์ ร่วมกัน เป็น พยาน ย่อม ไม่มี น้ำหนัก น่าเชื่อ ถือข้อเท็จจริง และ พฤติการณ์ ดังกล่าว ถือได้ว่า จำเลย ที่ 1 ได้รับ ประโยชน์ร่วมกัน กับ จำเลย ที่ 3 เมื่อ นาย สุพลหรือไก่ นำ รถยนต์ คัน เกิดเหตุ ของ จำเลย ที่ 3 ไป ใช้ ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 3 โดยประมาทเลินเล่อ กรณี ถือได้ว่า นาย สุพลหรือไก่ เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 1ด้วย จำเลย ที่ 1 ซึ่ง มี จำเลย ที่ 2 เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ จึง ต้อง ร่วมรับผิด ใน ผล แห่ง ละเมิด ฎีกา จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ใน ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน

Share