แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
จำเลยให้การว่าเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์โดยปลูกพืชเกษตรกรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นมะพร้าวต้นจากและต้นพุทราซึ่งพืชเหล่านี้ไม่ใช่พืชไร่ดังนั้นจากคำให้การดังกล่าวการทำเกษตรกรรมของจำเลยจึงไม่มีลักษณะเป็นการทำนาตามความหมายของมาตรา21แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524กรณีจึงเป็นเรื่องการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นนอกจากการเช่านาต้องนำมาตรา63มาใช้บังคับเมื่อปรากฏว่าขณะพิพาทยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นจำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าวและเมื่อเป็นการเช่าที่ดินโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจำเลยก็ไม่อาจยกเอาการเช่านี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขับไล่ จำเลย ผู้ อาศัย และ บริวาร ให้ ออก จาก ที่ดินพิพาท ของ โจทก์ และ เรียก ค่าเสียหาย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เช่า ที่ดิน จาก เจ้าของ ที่ดิน เดิม โดยไม่ มี หลักฐาน เป็น หนังสือ และ ได้ ปลูก พืช เกษตรกรรม จึง ได้ รับการ คุ้มครอง โดย พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524การ บอก เลิก สัญญาเช่า โจทก์ ต้อง แจ้ง เป็น หนังสือ ต่อ จำเลยพร้อมทั้ง แสดงเหตุ แห่ง การ บอก เลิก การ เช่า และ ส่ง สำเนา หนังสือบอกกล่าว ต่อ ประธานคณะกรรมการ เช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม ประจำ ตำบลหรือ จังหวัด แล้วแต่ กรณี การ ที่ โจทก์ มอบอำนาจ ให้ ทนายความ มีหนังสือ แจ้ง ไป ยัง จำเลย จึง ไม่ ชอบ ด้วย กฎหมาย และ ค่าเสียหายที่ โจทก์ เรียก มา ไม่ ถูกต้อง ตาม ความ เป็น จริง ขอ ให้ ยกฟ้อง
ใน ชั้น ชี้สองสถาน ศาลชั้นต้น กำหนด ประเด็น ข้อพิพาท ว่า 1.จำเลย อาศัย หรือ เช่า ที่ดิน พิพาท ของ โจทก์ 2. จำเลย ได้ รับความ คุ้มครอง ตาม พระราชบัญญัติ การ เช่า ที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรมหรือไม่ และ 3. เรื่อง ค่าเสียหาย และ สั่ง ให้ โจทก์ นำสืบ ก่อนถึง วันนัด สืบพยาน โจทก์ โจทก์ ยื่น คำร้อง ขอ ให้ ชี้ขาด ข้อ กฎหมายเบื้องต้น ใน ประเด็น ข้อ 1 และ ข้อ 2 ส่วน ประเด็น ข้อ 3 โจทก์ ยอมรับเท่าที่ จำเลย ให้การ ต่อสู้ ไว้
ศาลชั้นต้น งด สืบพยาน โจทก์ จำเลย และ วินิจฉัย ว่า การ เช่า ที่ดินพิพาท ไม่ มี หลักฐาน เป็น หนังสือ ใช้ ยัน โจทก์ ไม่ ได้ จำเลย อยู่ใน ที่ดิน พิพาท เป็น การ ละเมิด ส่วน ประเด็น ว่า ได้ รับ ความคุ้มครอง ตาม พระราชบัญญัติ การ เช่า ที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม หรือไม่เป็น อัน ตก ไป พิพากษา ให้ ขับไล่ จำเลย และ บริวาร และ ให้ ใช้ค่าเสียหาย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนินกระบวน พิจารณา ต่อไป แล้ว พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า จาก คำ ให้การ ของ จำเลย พืชเกษตรกรรม ที่จำเลย ให้การ ว่า ปลูก นั้น ส่วนใหญ่ เป็น ต้น มะพร้าว ต้นจาก และต้น พุทธรา ซึ่ง พืช เหล่านี้ ไม่ ใช่ พืชไร่ การ ทำ เกษตรกรรม ของจำเลย จึง ไม่ มี ลักษณะ เป็น การ ทำนา ตาม ความหมาย ของ บทบัญญัติมาตรา 21 พระราชบัญญัติ การ เช่า ที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2524กรณี นี้ จึง ต้อง นำ มาตรา 63 มา ใช้ บังคับ ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าวการ เช่า ที่ดิน เพื่อ ประกอบ เกษตรกรรม ประเภท อื่น นอกจาก การ เช่า นา เมื่อ รัฐบาล เห็น สมควร ให้ มี การ ควบคุม ตาม พระราชบัญญัติ นี้ก็ ให้ มี อำนาจ กระทำ ได้ โดย ตรา เป็น พระราชกฤษฎีกา ปรากฏ ว่าขณะนี้ ไม่ มี พระราชกฤษฎีกา ควบคุม การ เช่า ที่ดิน เพื่อ ประกอบเกษตรกรรม ประเภท อื่น ดังนั้น จำเลย จึง ไม่ ได้ รับ ความ คุ้มครองตาม พระราชบัญญัติ ดังกล่าว อนึ่ง เมื่อ เป็น การ เช่า ที่ดิน โดยไม่ มี หลักฐาน เป็น หนังสือ จำเลย ก็ ไม่ อาจ ยก เอา การ เช่านี้ขึ้น ต่อสู้ โจทก์ ได้ ตาม นัย แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 538
พิพากษากลับ ให้ บังคับ คดี ตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น