คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

เมื่อที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ซึ่งสมรสกันมาตั้งแต่พ.ศ.2475โดยยังมิได้หย่าร้างกันดังนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมกันในโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1475. จำเลยที่3เป็นบุตรของจำเลยที่1เคยทราบว่ามารดาและพี่ชายเคยถูกโจทก์ฟ้องขอเพิกถอนการโอนที่ดินบางแปลงมาแล้วแสดงว่าจำเลยที่3ทราบดีว่าโจทก์ก็ยังเป็นภริยาจำเลยที่1อยู่นอกจากนี้ในวันโอนที่ดินแปลงพิพาทก็ได้ทราบจากพนักงานที่ดินแล้วว่าโจทก์เคยอายัดที่ดินแปลงนี้ไว้แต่หมดอายุแล้วแต่จำเลยที่3ก็ยังฝืนรับซื้อที่ดินจากจำเลยที่1จึงส่อถึงเจตนาอันไม่สุจริตฉะนั้นเมื่อที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จำเลยที่1จะขายที่ดินแปลงนี้จะต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์หรือโจทก์ให้สัตยาบันเสียก่อนการขายนั้นจึงจะสมบูรณ์การที่จำเลยที่1ขายที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่3โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์และจำเลยที่3กระทำการโดยไม่สุจริตดังนี้โจทก์จึงมีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินแปลงนี้ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ เพิกถอน นิติกรรม การ โอน ที่ดิน โฉนด เลขที่9060 ตำบล หัวหิน อำเภอ หัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ระหว่าง จำเลยที่ 1 กับ ที่ 3 และ ให้ ใส่ ชื่อ โจทก์ เป็น เจ้าของร่วม ในโฉนด ที่ดิน ดังกล่าว กับ จำเลย ที่ 1 โดย ให้ โจทก์ มี ส่วน 1 ใน 3ถ้า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ไม่ ปฏิบัติ ให้ ถือ เอา คำพิพากษา เป็นการ แสดง เจตนา
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1และ ที่ 3 ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 9060 ตำบล หัวหิน อำเภอ หัวหินจังหวัด ประจวบ คีรีขันธ์ เป็น สินสมรส ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1และ ฟัง ได้ จาก ทาง นำสืบ ของ โจทก์ ซึ่ง ฝ่าย จำเลย มิได้ นำสืบ ให้เห็น เป็น อย่างอื่น ด้วย ว่า โจทก์ สมรส กับ จำเลย ที่ 1 มา แต่ พ.ศ.2475 ยัง มิได้ หย่าร้าง กัน ดังนั้น โจทก์ ย่อม มี สิทธิ ร้อง ขอ ให้ลงชื่อ ตน เป็น เจ้าของ รวมกัน ใน โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1475 และ ถ้า จำเลย ที่ 1 จะ ขายที่ดิน แปลง นี้ ก็ ต้อง ได้ รับ ความ ยินยอม จาก โจทก์ หรือ ให้ โจทก์ให้ สัตยาบัน เสียก่อน การ ขาย นั้น จึง จะ สมบุรณ์ มิฉะนั้น โจทก์ อาจขอ ให้ ศาล เพิกถอน การ ขาย นั้น ได้ เว้นแต่ จะ ปรากฏ ว่า ใน ขณะ ที่ซื้อ ขาย ผู้ซื้อ ได้ กระทำ การ โดย สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 ซึ่ง ใน การ ขาย ที่ดิน โฉนดที่ 9060 ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 3 ใน คดี นี้ นั้น ก็ ฟังได้ จาก ทาง นำสืบ ตรงกัน ของ ทั้ง สอง ฝ่าย ว่า ไม่ ได้ รับ ความยินยอม หรือ การ ให้ สัตยาบัน จาก โจทก์ แต่ อย่างใด ฉะนั้น การเพิกถอน การ ซื้อ ขาย รายนี้ จึง อาจ ทำ ได้ ถ้า โจทก์ พิสูจน์ ได้ ว่าจำเลย ที่ 3 ซื้อ โดย ไม่ สุจริต
เกี่ยวกับ ความ สุจริต ของ จำเลย ที่ 3 นี้ โจทก์ มี ตนเอง กับ นายจินดา ชัยรัตน์ ยืนยัน ว่า โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 อยู่ บ้าน คนละ หลังใน บริเวณ เดียวกัน โดย จำเลย ที่ 1 อยู่ กับ จำเลย ที่ 2 และ บุตรแสดงว่า จำเลย ที่ 3 ซึ่ง เป็น บุตร คนหนึ่ง ของ จำเลย ที่ 1 ต้อง ทราบถึง ฐานะ ความ เป็น อยู่ ความ สัมพันธ์ ภายใน ครอบครัว ของ โจทก์ จำเลยที่ 1 เป็น อย่างดี และ จำเลย ที่ 3 น่า จะ มี ความ ผูกพัน กับ จำเลยที่ 1 เป็น พิเศษ ด้วย พยาน โจทก์ ดังกล่าว ยืนยัน ตรงกับ จำเลย ที่ 1ด้วย ว่า โจทก์ เคย ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ นาย สิทธา เพิกถอนการ โอน ที่ดิน และ ให้ ใส่ ชื่อ โจทก์ ร่วมกับ จำเลย ที่ 1 เมื่อพ.ศ. 2512 และ ศาลฎีกา ให้ โจทก์ ชนะ คดี ใน ปี พ.ศ. 2518 ตาม คำพิพากษาฎีกา ที่ 442/2518 ซึ่ง ใน ช่วง เวลา ระหว่าง คดี นี้ เทียบ อายุ จำเลยที่ 3 จาก คำเบิกความ ของ จำเลย ที่ 1 เอง จะ อยู่ ระหว่าง 15 ถึง ปี23 ปี ประกอบ กับ จำเลย ที่ 3 อยู่ กับ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ มี การศึกษา ดี จึง ย่อม รู้ และ เข้าใจ ใน มูล และ ผล แห่ง คดี ดังกล่าว ได้จำเลย ที่ 3 เอง ก็ เบิกความ เจือสม ไว้ ด้วย แล้ว ว่า เคย ทราบ ว่ามารดา และ พี่ชาย เคย ถูก โจทก์ ฟ้อง ขอ เพิกถอน การ โอน ที่ดิน บางแปลง มา แล้ว แสดง ว่า จำเลย ที่ 3 ทราบ ดี ว่า โจทก์ ยัง เป็น ภรรยาจำเลย ที่ 1 อยู่ ยัง มี สิทธิ มี ส่วน ใน ทรัพย์สิน ทั้งหลาย ร่วม อยู่กับ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 จะ จัดการ โอน ไป ตาม ลำพัง โดย ปราศจากการ ยินยอม ของ โจทก์ หา ได้ ไม่ ทั้ง จำเลย ที่ 3 ก็ เบิกความ รับ อยู่อีก ว่า ใน วัน โอน ที่ดิน แปลง พิพาท ได้ ทราบ จาก พนักงาน ที่ดิน แล้วว่า โจทก์ เคย อายัด ที่ดิน แปลง พิพาท นี้ ไว้ แต่ หมด อายุ แล้วปรากฏ ตาม บันทึก ใน เอกสาร หมาย ล.2 ซึ่ง การ หมด อายุ อายัด ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 เพียงแต่ เป็น ขั้นตอน ให้ พนักงาน ที่ดินทำ นิติกรรม ต่อไป ได้ เท่านั้น ไม่ ทำ ให้ ผู้แจ้ง อายัด เสีย สิทธิฟ้อง ขอ เพิกถอน การ โอน ที่ดิน ที่ อายัด นั้น แต่ ประการ ใด เมื่อจำเลย ที่ 3 ยัง ฝืน รับ โอน ที่ดิน แปลง พิพาท จาก จำเลย ที่ 1 จึงส่อ ถึง เจตนา อัน ไม่ สุจริต กรณี มี เหตุผล พอ ที่ จะ เพิกถอนนิติกรรม การ โอน ที่ดิน โฉนด ที่ 9060 ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลยที่ 3 และ ใส่ ชื่อ โจทก์ เป็น เจ้าของ ร่วม ใน โฉนด ที่ดิน ดังกล่าวได้ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ต้องกัน มา ชอบ แล้ว ฎีกา ของ จำเลย ที่1 และ ที่ 3 ฟัง ไม่ ขึ้น’
พิพากษา ยืน ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ใช้ ค่าทนายความ ชั้นฎีกา2,000 บาท แทน โจทก์

Share