คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

การที่อ.กับจ.กรรมการบริษัทจำเลยลงชื่อมอบอำนาจให้ถ.ดำเนินคดีแทนบริษัทจำเลยเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทจำเลยจึงเป็นการกระทำของบริษัทจำเลยแม้ต่อมาอ.จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยไปหนังสือมอบอำนาจฉบับนั้นก็หาระงับไปไม่ถ.จึงยังมีอำนาจที่จะมอบอำนาจให้ส.ต่อสู้คดีแทนจำเลยโดยทำคำให้การยื่นต่อศาลได้. จำเลยประสบภาวะการขาดทุนมากมีความจำเป็นเพียงพอต้องเลิกจ้างลูกจ้างและจำเลยได้ใช้หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกว่าจะเลิกจ้างผู้ใดก่อนอย่างสมเหตุผลการที่โจทก์เป็นผู้ต้องถูกเลิกจ้างเพราะลากิจลาป่วยและมาทำงานสายมากจะถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อลูกจ้างบางคนมิได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย จ้าง โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ต่อมา ได้เลิกจ้าง โจทก์ โดย อ้าง เหตุ ว่า จำเลย ประสบ ภาวะ ขาดทุน จำเป็น ต้องลด จำนวน พนักงาน ลง ความจริง จำเลย มิได้ ขาดทุน แต่ จำเลย เลิกจ้างโจทก์ เนื่องจาก สามี ของ โจทก์ มี บทบาท ใน ขบวนการ แรงงาน เป็น การเลิกจ้าง ไม่ เป็นธรรม ขอ ให้ ศาล พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย ค่าเสียหายเงินโบนัส ประจำปี 2527 หรือ รับ โจทก์ กลับ เข้า ทำงาน ใน ตำแหน่งหน้าที่ ค่าจ้าง และ สภาพ การจ้าง เดิม
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เนื่อง มา จาก จำเลย ประสม กับวิกฤติการณ์ ผลผลิต ของ จำเลย ไม่ อาจ จำหน่าย ได้ ตาม เป้าหมาย จำเลยขาดทุน ถึง 4 ปี ติดต่อ กัน และ มี แนวโน้ม ที่ จะ ขาดทุน ต่อไป ก่อนที่ จำเลย จะ เลิกจ้าง โจทก์ นั้น จำเลย เปิด โอกาส ให้ ลูกจ้าง ลาออกจาก งาน เพื่อ ไป ประกอบ อาชีพ อื่น โดย ยินดี จ่ายเงิน ช่วยเหลือ ไม่น้อยกว่า อัตรา ค่าชดเชย หาก จำนวน พนักงาน ที่ สมัครใจ ลาออก ไม่ ครบตาม จำนวน โครงการ ที่ จำเลย วาง ไว้ จำเลย จะ พิจารณา จาก ลูกจ้าง ที่มา ปฏิบัติ งาน สาย ขาดงาน ลากิจ และ ลาป่วย เป็น เกณฑ์ ใน การ เลิกจ้างจนกว่า จะ ครบ จำนวน ปรากฏ ว่า โจทก์ ลากิจ มาก ลาป่วย โดย อ้าง อาการป่วย เอง มา ทำงาน สาย บ่อย และ ขาดงาน โดย มิได้ ยื่น ใบลา ให้ ถูกต้อง จำเลย จึง เลิกจ้าง โจทก์ จำเลย ไม่ ต้อง รับผิด ใน ค่าเสียหาย ตามฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า โจทก์ อุทธรณ์ ว่า นาย เสถียรครุธศรัทธา เป็น ผู้ยื่น คำให้การ แทน จำเลย ตาม หนังสือ มอบอำนาจ ของนาย ถง เหลียนเชียน ผู้จัดการ โรงงาน ลง วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2528โดย นาง ถง เหลียนเชียน ได้ รับ มอบอำนาจ จาก จำเลย ตาม หนังสือมอบอำนาจ ลง วันที่ 1 ตุลาคม 2523 ซึ่ง นาย อีวาโอะ ชิโนดา และ นายจินดา วงศ์จริงตรง กรรมการ บริษัท จำเลย ใน ขณะนั้น เป็น ผู้ ลงชื่อแต่ ปรากฏ ว่า ขณะ นาย ถง เหลียนเชียน ทำ หนังสือ มอบอำนาจ ให้ นายเสถียร ครุธศรัทธา ต่อสู้คดี นี้ นั้น นาย อีวาโอะ ชิโนดา ได้ พ้น จากการ เป็น กรรมการ ของ จำเลย ไปแล้ว นาย ถง เหลียนเชียน จึง ไม่ มี อำนาจที่ จะ มอบอำนาจ แก่ นาย เสถียร ครุธศรัทธา กระบวนพิจารณา ที่ นายเสถียร ครุธศรัทธา ดำเนิน มา ใน คดีนี้ จึง เสีย ไป ศาลแรงงานกลาง นำ พยานหลักฐาน ของ จำเลย มา เป็น เหตุ ยกฟ้อง โจทก์ มิได้ พิเคราะห์ แล้วการ ที่ นาย อีวาโอะ ชิโนดา และ นาย จินดา วงศ์จริงตรง ลงชื่อ ในหนังสือ มอบอำนาจ ลง วันที่ 1 ตุลาคม 2523 เป็น การ กระทำ ใน ฐานะผู้แทน บริษัท จำเลย จึง เป็น การ กระทำ ของ บริษัท จำเลย แม้ ต่อมานาย อีวาโอะ ชิโนดา จะ พ้นจาก การ เป็น กรรมการ ของ บริษัท จำเลย ไปหนังสือ มอบอำนาจ ฉบับ นั้น ก็ หา ระงับ ไป ไม่ นาย ถง เหลียนเชียนจึง ยัง มี อำนาจ ที่ จะ มอบอำนาจ ให้ นาย เสถียร ครุธศรัทธา ต่อสู้คดีนี้ แทน จำเลย ได้
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อไป ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ โดย โจทก์ ไม่ ได้กระทำ ความผิด ใดๆ ย่อม เป็น การ เลิกจ้าง ที่ ไม่ เป็นธรรม แล้ว ทั้งไม่ ปรากฏ ว่า จำเลย ขาดทุน จนกระทั่ง ไม่ สามารถ ประกอบ ธุรกิจ ต่อไปได้ และ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เป็น การ เลือก ปฏิบัติ ต่อ ลูกจ้าง บางคน จึง ไม่ เป็นธรรม พิเคราะห์ แล้ว ได้ ความ ว่า จำเลย ขาดทุน ติดต่อกัน มา 3 ปี เป็น เงิน ห้าร้อยล้านบาท เศษ ทำ ให้ ต้อง ลด จำนวน ลูกจ้างลง 250 คน จำเลย ประกาศ ชักชวน ให้ ลูกจ้าง ลา ออก โดย จำเลย จะ จ่ายเงินช่วยเหลือ ให้ ไม่ น้อยกว่า ค่าชดเชย ลูกจ้าง ลา ออก ประมาณ 100คน ไม่ ครบ จำนวน จำเลย จึง ต้อง เลิกจ้าง ลูกจ้าง ต่อไป จำเลย พิจารณาลูกจ้าง ที่ มา ปฏิบัติ งาน สาย ขาดงาน ลากิจ ลาป่วย มาก ใน รอบ ปี2526 และ ลูกจ้าง ที่ มี ผลงาน อยู่ ใน ระดับ ต่ำ เป็น เกณฑ์ เลิกจ้างก่อน จนกว่า จะ ครบ จำนวน โจทก์ เป็น ผู้ ลากิจ ลาป่วย และ มา ทำงานสาย มาก ดังนี้ เห็น ว่า จำเลย ขาดทุน มาก มี ความ จำเป็น เพียงพอ ต้องเลิกจ้าง ลูกจ้าง และ จำเลย ได้ ใช้ หลักเกณฑ์ ใน การ คัดเลือก ว่าจะ เลิกจ้าง ผู้ใด ก่อน อย่าง สม เหตุผล การ ที่ โจทก์ เป็น ผู้ ต้องถูก เลิกจ้าง จะ ถือ ว่า เป็น การ เลือก ปฏิบัติ ต่อ ลูกจ้าง บางคนมิได้ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า เป็น การ เลิกจ้าง ที่ เป็นธรรมศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย
พิพากษา ยืน.

Share