คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ผู้เสียหายซึ่งเป็น บุคคลภายนอก สัญญาประกันภัย เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนให้รับผิดปรากฏว่าจำเลยที่1ได้ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่3รับประกันภัยไว้โดย ได้รับ ความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยด้วยความประมาทเลินเล่อเฉี่ยวชนรถยนต์ของโจทก์จึงต้องถือว่าจำเลยที่1กระทำละเมิดเป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยกระทำละเมิดเอง ผู้รับประกันภัยจึง ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ในการกระทำละเมิดของจำเลยที่1 ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887วรรคสองบัญญัติให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วยนั้นก็เป็นประโยชน์เพื่อจะได้พิจารณา ความรับผิดของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยไปพร้อมกันถ้าผู้ต้องเสียหายไม่ได้ฟ้องหรือเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู้คดีด้วยจะมีผลเพียงทำให้ผู้ต้องเสียหายไม่อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้นหาได้มีผลถึงกับทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหายไม่อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้นหาได้มีผลถึงกับทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหายและทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์กระบะ หมายเลข ทะเบียน1 ป-5170 กรุงเทพมหานคร ของ จำเลย ที่ 2 มา ตาม ถนน พุทธมณฑลสาย 2 มุ่งหน้า ไป ทาง ทิศใต้ โดย ไม่ มอง ดู รถ ตรง ทางแยก จึง แล่น ตัด หน้า รถยนต์ ของ โจทก์ ใน ระยะ กระชั้นชิด เป็นเหตุ ให้รถยนต์ ทั้ง สอง คัน ชนกัน รถยนต์ ของ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย จำเลย ที่ 1กระทำ โดยประมาท จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของ ผู้ครอบครอง รถยนต์ คัน ที่จำเลย ที่ 1 ขับ และ เป็น นายจ้าง ของ จำเลย ที่ 1 เหตุ เกิด ใน ระหว่าง ที่จำเลย ที่ 1 ขับ รถ ไป ปฏิบัติงาน ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 3เป็น ผู้รับประกันภัย รถยนต์ คัน ดังกล่าว จึง ต้อง ร่วมรับผิด ด้วย ขอให้บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน 48,285 บาท แก่ โจทก์ พร้อมดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 38,800 บาท นับแต่ วันฟ้องจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม จำเลย ที่ 2 ไม่ได้เป็น นายจ้าง ของ จำเลย ที่ 1 ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 3 รับประกัน ภัย ไว้ จาก ผู้อื่นมิใช่ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 3 จึง ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ เพราะ โจทก์มิได้ ฟ้องร้อง ผู้เอาประกันภัย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ร่วมกันชำระ เงิน แก่ โจทก์ 44,800 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 38,800 บาท นับแต่ วันที่ 15 มีนาคม 2534 จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ ยกฟ้อง โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2
จำเลย ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “จำเลย ที่ 3 ฎีกา เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย ว่าตาม กรมธรรม์ประกันภัย เอกสาร หมาย ล. 2 ข้อ 2.3 โจทก์ ไม่ได้ ฟ้องผู้เอาประกันภัย รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน 1ป-5170 กรุงเทพมหานคร เข้า มาใน คดี ด้วย จำเลย ที่ 3 ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัย ค้ำจุน จึง ไม่ต้องร่วมรับผิด ด้วย และ ตาม ข้อ 2.8 ใน กรณี ที่ ผู้รับประกันภัย จะ ถือว่าผู้ขับขี่รถยนต์ โดย ได้รับ ความ ยินยอม จาก ผู้เอาประกันภัย เสมือน หนึ่งเป็น ผู้เอาประกันภัย เอง นั้น เป็น เรื่อง การ คุ้มครองความเสียหาย ของ รถยนต์ ที่ เอา ประกันภัย เท่านั้น เห็นว่า คดี นี้เป็น เรื่อง ที่ ผู้เสียหาย ซึ่ง เป็น บุคคลภายนอก เป็น โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 3ผู้รับประกันภัย ค้ำจุน ให้ รับผิด เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ได้ว่าจำเลย ที่ 1 ได้ ขับ รถยนต์ คัน ที่ จำเลย ที่ 3 รับประกัน ภัย ไว้ โดย ได้รับความ ยินยอม จาก ผู้เอาประกันภัย ด้วย ความประมาท เลินเล่อเฉี่ยว ชน รถยนต์ ของ โจทก์ จึง ต้อง ถือว่า จำเลย ที่ 1 เป็น เสมือนผู้เอาประกันภัย เอง ตาม กรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2.8 ผู้รับประกันภัยจึง ต้อง รับผิด ใน ความเสียหาย ที่ เกิดขึ้น แก่ โจทก์ ใน การกระทำ ละเมิดของ จำเลย ที่ 1 ด้วย ทั้ง นาย กฤษฎา อัมพรทิวานนท์ ผู้จัดการ บริษัท จำเลย ที่ 3 ก็ เบิกความ ยอมรับ ว่า หาก ผู้เอาประกันภัย ยินยอม ให้ผู้ใด ขับ รถยนต์ คัน ที่ เอา ประกันภัย ไว้ แล้ว เกิด อุบัติเหตุ ขึ้นจำเลย ที่ 3 ก็ จะ ยอมรับ ผิด ชอบ ด้วย นอกจาก นี้ ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคสอง บัญญัติ ว่า”บุคคล ผู้ต้อง เสียหาย ชอบ ที่ จะ ได้รับ ค่าสินไหมทดแทน ตาม ที่ ตน ควร จะได้ นั้น จาก ผู้รับประกันภัย โดยตรง ใน คดี ระหว่าง บุคคล ผู้ต้อง เสียหายกับ ผู้รับประกันภัย นั้น ท่าน ให้ ผู้ต้อง เสียหาย เรียก ตัว ผู้ เอาประกันภัย เข้า มา ใน คดี ด้วย ” ก็ เพื่อ จะ ได้ พิจารณา ความรับผิด ของ ผู้ เอาประกันภัย และ ผู้รับประกันภัย ไป พร้อมกัน ถ้า ผู้ต้อง เสียหาย ไม่ได้ ฟ้องหรือ เรียก ตัว ผู้เอาประกันภัย เข้า มา สู้ คดี ด้วย จะ มีผล เพียง ทำให้ผู้ต้อง เสียหาย ไม่อาจ เรียก ค่าสินไหมทดแทน ส่วน ที่ ยัง ขาด จาก ผู้ เอาประกันภัย ได้ เท่านั้น หา ได้ มีผล ถึง กับ ทำให้ ผู้เอาประกันภัย ไม่ต้องรับผิด ต่อ ผู้ต้อง เสียหาย และ ทำให้ ผู้รับประกันภัย หลุดพ้น ความรับผิด ไป ด้วย ไม่ ตาม นัย คำพิพากษา ศาลฎีกา ที่ 1675/2516 และคำพิพากษา ศาลฎีกา ที่ 87/2521 ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัย ให้จำเลย ที่ 3 ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา จำเลย ที่ 3 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share