คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยทั้งสามขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่การที่ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาของจำเลยทั้งสามว่าสำเนาให้โจทก์รวมสั่งในอุทธรณ์และสั่งในอุทธรณ์ว่าจำเลยยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดรับเป็นอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามโดยมิได้สั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสามอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาก็พออนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา223ทวิวรรคแรกแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าเสียหายแก่โจทก์โดยให้จำเลยที่1รับผิดในฐานะผู้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่2และจำเลยที่3ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่2จึงต้องฟ้องจำเลยที่1และที่2ภายใน1ปีนับแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคแรกมิฉะนั้นคดีขาดอายุความส่วนความรับผิดของจำเลยที่3นั้นเกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยจึงต้องนำอายุความ2ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882วรรคหนึ่งมาปรับแก่คดีเมื่อโจทก์ฟ้องยังไม่พ้นกำหนด2ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยคดีเกี่ยวกับจำเลยที่3จึงไม่ขาดอายุความ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์เป็น เงิน 22,911.33 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีของ ต้นเงิน 20,510 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์เป็น เงิน 20,510 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีนับแต่ วันที่ 27 กรกฎาคม 2532 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จสิ้น
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย โดยตรง ต่อ ศาลฎีกาโดย ได้รับ อนุญาต จาก ศาลชั้นต้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ จำเลย ทั้ง สาม ขออนุญาต ยื่น อุทธรณ์โดยตรง ต่อ ศาลฎีกา ซึ่ง ศาลชั้นต้น จะ ต้อง พิจารณา ว่า เป็น อุทธรณ์เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย และ สั่ง อนุญาต ให้ ผู้อุทธรณ์ โดยตรง ต่อ ศาลฎีกาได้ หรือไม่ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิแต่ คดี นี้ ศาลชั้นต้น สั่ง ใน คำร้องขอ อนุญาต อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา ของจำเลย ทั้ง สาม แต่เพียง ว่า สำเนา ให้ โจทก์ รวม สั่ง ใน อุทธรณ์ และสั่ง ใน อุทธรณ์ ว่า จำเลย ยื่น อุทธรณ์ ภายใน กำหนด รับ เป็น อุทธรณ์ ของจำเลย ทั้ง สาม เห็นว่า แม้ ศาลชั้นต้น จะ มิได้ สั่ง อนุญาต ให้ จำเลย ทั้ง สามอุทธรณ์ โดยตรง ต่อ ศาลฎีกา แต่ การ ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง รับ อุทธรณ์ของ จำเลย ทั้ง สาม พอ อนุโลม ได้ว่า ศาลชั้นต้น สั่ง อนุญาต ให้ จำเลยทั้ง สาม ฎีกา โดยตรง ต่อ ศาลฎีกา ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ วรรคแรก แล้ว ศาลฎีกา จะ ได้ วินิจฉัย อุทธรณ์ ของ จำเลยทั้ง สาม ต่อไป เห็นว่า โจทก์ ฟ้อง โดย ยก ข้ออ้าง ที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหาว่า จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์บรรทุก ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2ด้วย ความประมาท เลินเล่อ เป็นเหตุ ให้ เฉี่ยว ชน รถยนต์ ของ บริษัท อีเล็คโทรลักซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่ง โจทก์ เป็น ผู้รับประกันภัย ได้รับ ความเสียหาย โจทก์ เสีย ค่าซ่อม และ ค่าใช้จ่าย อื่น ๆ แทนผู้เอาประกันภัย ไป แล้ว จึง รับช่วงสิทธิ จาก ผู้เอาประกันภัยมา เรียกร้อง จาก จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้กระทำ ละเมิด จำเลย ที่ 2ใน ฐานะ นายจ้าง จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 3 ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัยรถยนต์ ของ จำเลย ที่ 2 เห็นว่า คำฟ้อง ของ โจทก์ เป็น การ ฟ้อง ให้จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 รับผิด ใน มูลละเมิด ซึ่ง หาก ผู้เอาประกันภัยไว้ กับ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เอง ก็ ต้อง ฟ้อง ภายใน กำหนด 1 ปีนับแต่ วันที่ ได้ รู้ตัว ผู้ที่ จะ ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ใน การ ที่ ละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก คดี นี้ โจทก์ฟ้อง โดย เข้า รับช่วงสิทธิ ของ ผู้เอาประกันภัย ที่ มี ต่อ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ซึ่ง เป็น บุคคลภายนอก ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 880 สิทธิ ของ โจทก์ จึง มี เท่ากับ สิทธิ ของ ผู้เอาประกันภัยมี อยู่ โดย มูลหนี้ ต่อ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 วรรคแรก ฉะนั้น เมื่อผู้เอาประกันภัย ต้อง ฟ้อง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึง ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก โจทก์ ก็ ต้อง ฟ้องจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ภายใน กำหนด เวลา ดังกล่าว ด้วย เมื่อ โจทก์มิได้ ฟ้อง ภายใน กำหนด ระยะเวลา ดังกล่าว คดี ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 จึง ขาดอายุความ
ส่วน กรณี ของ จำเลย ที่ 3 นั้น เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ให้จำเลย ที่ 3 ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัย ค้ำจุน รับผิด ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนตาม กรมธรรม์ประกันภัย ไม่ได้ ฟ้อง ให้ รับผิด ใน ฐานะ ผู้ทำละเมิดจำเลย ที่ 3 จะ ยก อายุความ เรื่อง ละเมิด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 มา ปฏิเสธ ความรับผิด ไม่ได้ เมื่อ ความผิด ของ จำเลย ที่ 3เกิดขึ้น ตาม สัญญาประกันภัย จึง ต้อง นำ อายุความ ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง ซึ่ง มี กำหนด 2 ปีนับแต่ วันเกิด วินาศภัย มา ปรับ แก่ คดี โจทก์ ฟ้องคดี นี้ ยัง ไม่ พ้น กำหนด2 ปี นับแต่ วันเกิด วินาศภัย คดี ของ โจทก์ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 3จึง ไม่ขาดอายุความ อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สาม ฟังขึ้น บางส่วน ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้องโจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

Share