คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยเรียกประชุมพนักงานของบริษัทชี้แจงให้ทราบว่าบริษัทประสบปัญหาทำให้การดำเนินกิจการไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรและค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายรับขอให้ที่ประชุมลงมติเลิกสัญญาจ้างพนักงานเมื่อมติของที่ประชุมพนักงานบริษัทตกลงเลิกสัญญาจ้างจึงมีผลเท่ากับจำเลยเลิกสัญญาจ้างที่ทำไว้กับโจทก์เป็นการให้ลูกจ้างออกจากงานถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสองไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดตามข้อ47จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์และการเลิกจ้างกรณีเช่นนี้จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582.

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง ห้า สำนวน ฟ้อง ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง ห้า ซึ่งเป็น ลูกจ้าง ประจำ ขอ ให้ บังคับ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย สินจ้าง แทนการ บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ค่าทำงาน ใน วันหยุด
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย มิได้ เลิกจ้าง โจทก์ แต่ ได้ เรียก ประชุมพนักงาน ของ จำเลย ชี้แจง ให้ ทราบ ว่า บริษัท ต้อง ประสบ ปัญหา ต่างๆ ทำให้ การ ดำเนินการ ไม่ ประสบ ผลสำเร็จ เท่าที่ ควร ประกอบ กับค่าใช้จ่าย สูงกว่า รายรับ ขอ ให้ ที่ประชุม ลงมติ เลิก สัญญา จ้างโดย จำเลย จะ จ่ายื ค่าจ้าง ให้ กับ พนักงาน ทุกคน รวมทั้ง โจทก์เป็น เวลา 3 เดือน ที่ประชุม รวมทั้ง โจทก์ ได้ ตกลง ลงมติ เลิกจ้างตาม สัญญา จ้างแรงงาน จำเลย ได้ เลิกจ้าง โจทก์ จึง ไม่ ต้อง จ่าย เงินตาม ฟ้อง ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า และ ค่า ทำงาน ใน วันหยุด แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง ห้า สำนวน อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ปัญหา เรื่อง การ เลิกจ้าง ว่ามูลเหตุ ที่ จะ มี การ เลิก สัญญา จ้าง ระหว่าง โจทก์ จำเลย นั้นปรากฏ ตาม คำให้การ ของ จำเลย ว่า สืบเนื่อง มา จาก จำเลย ได้ เรียกประชุม พนักงาน ของ บริษัท ชี้แจง ให้ ทราบ ว่า บริษัท ต้อง ประสบปัญหา ต่างๆ ทำให้ การ ดำเนิน กิจการ ไม่ ประสบ ผลสำเร็จ เท่าที่ ควรประกอบ กับ ค่าใช้จ่าย สูงกว่า รายรับ ขอ ให้ ที่ประชุม ลงมติ เลิกสัญญาจ้าง ฉะนั้น แม้ โจทก์ จำเลย ได้ ตกลง เลิก สัญญา จ้าง กัน ตาม มติที่ ประชุม ของ พนักงาน บริษัท ก็ เท่ากับ จำเลย เลิก สัญญา จ้าง ที่ได้ ทำ ไว้ กับ โจทก์ นั่นเอง ซึ่ง มี ผล ให้ นายจ้าง ให้ ลูกจ้างออก จาก งาน การ กระทำ ดังกล่าว ถือ ได้ ว่า เป็น การ เลิกจ้าง ตามความหมาย ของ ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46วรรคสอง ลง วันที่ 16 เมษายน 2515 เมื่อ ข้อเท็จจริง ไม่ ปรากฏ ว่าโจทก์ ทั้ง ห้า ได้ กระทำ ความผิด ตาม ข้อ 47 แห่ง ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ดังกล่าว จำเลย จึง ต้อง จ่าย ค่าชดเชย ให้ แก่ โจทก์ซึ่ง การ เลิก สัญญา จ้าง ใน กรณี เช่นนี้ จำเลย จำต้อง บอกกล่าวล่วงหน้า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582
พิพากษา ยืน

Share