แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาที่แน่นอน การส่งหมายแจ้งวันนัดอ่านคำพิพากษาจึงต้อง แจ้งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 4 การที่ศาลชั้นต้นให้ปิดประกาศแจ้งวันนัดที่หน้าศาลจึงเป็นการแจ้งวันนัดที่ไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ 4 ไม่ทราบวันนัดศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งที่ให้ถือ ว่าจำเลยที่ 4 ได้ ทราบคำพิพากษานั้นเสียได้ โดย ให้ถือ ว่าจำเลยที่ 4 ยังไม่ได้ฟังคำพิพากษาและให้ถือ ว่าได้ ฟังคำพิพากษาในวันนัดพร้อมเพื่อพิจารณาคำร้องขอให้แจ้งวันนัดและพิพากษาใหม่ของจำเลยที่ 4 ได้
ผู้ตายโดยสารมาในรถยนต์ ของจำเลยที่ 3 ซึ่ง เดิน ด้วย กำลังเครื่องจักรกลเช่นเดียวกับรถยนต์ ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสียหายมิได้เกิดจากยานพาหนะที่เดิน ด้วยกำลังเครื่องจักรกลของจำเลยที่ 3 แต่ ฝ่ายเดียว จึงนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 อันว่าด้วยหน้าที่นำสืบมาใช้ บังคับไม่ได้
ย่อยาว
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรับผิดในแผลแห่งละเมิดซึ่งเป็นเหตุให้นางนารี นามธนาสิทธิ์ ซึ่งเป็นภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสของโจทก์ที่ ๒ และเป็นมารดาของโจทก์ที่ ๑ ถึงแก่ความตาย โดยจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ในฐานะนายจ้างของผู้ขับขี่รถยนต์ทั้งสองฝ่ายซึ่งก่อให้เกิดการละเมิดขับรถยนต์บรรทุกชนกันเป็นเหตุให้นางนารีถึงแก่ควาตายต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งได้กระทำไปในทางการที่จ้างต่อโจทก์ และจำเลยที่ ๔ ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกทั้งสองคันต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วย ขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำนวน ๘๕๘,๖๘๕ บาทแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ไม่ได้เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกคันหมายเลขทะเบียน ๘๐-๓๐๙๒ กรุงเทพมหานคร และไม่ได้เป็นนายจ้างของนายเกษม เรือนเงิน และเหตุรถชนกันไม่ใช่ความประมาทของนายเกษม หากแต่เป็นความประมาทของนายประสิทธิ์ บรรณา ฝ่ายเดียว ค่าเสียหายของโจทก์มีไม่มากตามฟ้องขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๓ ให้การว่า ความประมาทที่เกิดไม่ใช่เกิดจากนายประสิทธิ์ บรรณา ผู้ขับรถยนต์บรรทุกคันหมายเลขทะเบียน ๘๐ – ๑๑๔๕ นครสวรรค์ หากเกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของนายเกษม เรือนเงิน แต่ฝ่ายเดียว ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๔ ให้การว่า ความประมาทเลินเล่อเกิดจากนายเกษม เรือนเงิน แต่ฝ่ายเดียว นายเกษมขับขี่โดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ เมื่อเกิดเหตุแล้วหลบหนี และจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ได้นำตัวนายเกษมมาให้สอบปากคำและตรวจใบอนุญาตขับขี่รถยนต์อันเป็นการผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่ ๔ จึงไม่ต้องรับผิด ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ ร่วมกันชำระเงิน ๓๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย โดยให้จำเลยที่ ๔ ร่วมรับผิดเพียงจำนวนไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ให้ยกฟ้องจำเลยที่ ๓
โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ ๔ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์และพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยที่ ๔ ร่วมรับผิดเพียงจำนวนไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ ๔ ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า คำสั่งศาลชั้นต้นลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๒๗ ที่ให้เพิกถอนคำสั่งซึ่งได้สั่งไว้เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๒๗ ว่า จำเลยที่ ๔ ทราบคำพิพากษาแล้ว เป็นว่าจำเลยที่ ๔ ยังไม่ได้ฟังคำพิพากษาโดยให้ถือว่าได้ฟังในวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๒๗ เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ตามทางพิจารณาของศาลชั้นต้นปรากฎว่าเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๒๗ อันเป็นวันนัดฟังประเด็กกลับ ฝ่ายโจทก์มาศาลฝ่ายจำเลยไม่มาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าให้ถือว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะนำพยานเข้าสืบอีกต่อไป คดีเสร็จการพิจารณาให้นัดฟังคำพิพากษาวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๑๗ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา ประกาศหน้าศาลให้จำเลยทราบ ครั้นถึงวันนัด ผู้รับมอบจากฝ่ายโจทก์มาศาล ฝ่ายจำเลยไม่มาศาลชั้นต้นว่าเนื่องจากศาลยังทำคำพิพากษาไม่เสร็จ ให้เลื่อนไปนัดฟังคำพิพากษาวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๒๗ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา ประกาศนัดใหม่ให้จำเลยทราบหน้าศาล ถึงวันนัด ผู้รับมอบจากฝ่ายโจทก์มาศาล ฝ่ายจำเลยไม่มา ศาลชั้นต้นจึงอ่านให้โจทก์ฟังและให้ถือว่าจำเลยทั้งหมดได้ฟังคำพิพากษาด้วยแล้ว ต่อมาวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๒๗ จำเลยที่ ๔ จึงยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ ๔ มีความประสงค์จะอุทธรณ์ แต่จำเลยที่ ๔ ไม่ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาเพราะศาลชั้นต้นมิได้ส่งหมายแจ้งวันนัดไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ ๔ จำเลยที่ ๔ เพิ่งทราบเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๒๗ ว่า ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ซึ่งพ้นกำหนดเวลาใช้สิทธิอุทธรณ์แล้ว กระบวนพิจารณาและคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้แจ้งวันนัดให้จำเลยที่ ๔ เพิ่งทราบเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๒๗ ว่า ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ซึ่งพ้นกำหนดเวลาใช้สิทธิอุทธรณ์แล้ว กระบวนพิจารณาและคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้แจ้งวันนัดให้จำเลยที่ ๔ ทราบและพิพากษาใหม่ ศาลชั้นต้นนัดพร้อมวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๒๗ และเมื่อได้ฟังคำคัดค้านของโจทก์แล้วมีคำสั่งในวันนัดว่า ศาลไม่ได้ออกหมายแจ้งวันนัดไปยังจำเลยที่ ๔ ทำให้จำเลยที่ ๔ อ้างเหตุไม่ทราบคำพิพากษาได้ เห็นควรให้โอกาสแก่จำเลยที่ ๔ มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ว่าจำเลยที่ ๔ ทราบคำพิพากษาแล้ว โดยให้ถือว่าจำเลยที่ ๔ ยังไม่ได้ฟังคำพิพากษาและให้ถือว่าได้ฟังคำพิพากษาในวันนี้ (วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๒๗) พิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยที่ ๔ มีภูมิลำเนาที่แน่นอน การส่งหมายแจ้งวันนัดอ่านคำพิพากษาจึงต้องแจ้งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ ๔ การที่ศาลชั้นต้นให้ปิดประกาศแจ้งวันนัดที่หน้าศาล จึงเป็นการแจ้งวันนัดที่ไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยที่ ๔ ไม่ทราบวันนัด ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งที่ให้ถือว่าจำเลยที่ ๔ ได้ทราบคำพิพากษาในวันนัดนั้นเสียได้ ส่วนที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า ตามคำร้องของจำเลยที่ ๔ จำเลยที่ ๔ ทราบว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๒๗ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ให้ถือว่าจำเลยที่ ๔ ได้ฟังคำพิพากษาในวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๒๗ จึงเป็นการให้ถือเอาสิ่งที่ผิดข้อเท็จจริงนั้น เห็นว่า การที่ศาลชั้นต้นให้ถือว่าจำเลยที่ ๔ ได้ฟังคำพิพากษาในวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๒๗ เป็นเพียงวิธีการกำหนดให้ทราบว่าจำเลยที่ ๔ อาจยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๒๗ เท่านั้น เพราะหากจำเลยที่ ๔ มีความประสงค์จะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ต้องยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษานั้น ฎีกาโจทก์ทั้งสองในส่วนนี้ฟังไม่ขึ้น
ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า นายประสิทธิ์ บรรณา ลูกจ้างจำเลยที่ ๓ มีส่วนประมาทด้วย จำเลยที่ ๓ จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์นั้น พยานโจทก์มีแต่คำเบิกความของโจทก์ที่ ๒ ที่ว่า ทราบจากพนักงานสอบสวนว่าคนขับทั้งสองฝ่ายประมาท แต่พันตำรวจตรีวิโรจน์ หวลภิรมย์ พนักงานสอบสวนพยานโจทก์เองกลับเบิกความว่า จุดชบอยู่ในเส้นทางเดินรถของรถยนต์บรรทุก ๖ ล้อ ซึ่งเป็นรถของจำเลยที่ ๓ และได้สรุปสำนวนลงความเห็นว่าเป็นความผิดของนายเกษม เรือนเงิน ผู้ขับรถยนต์บรรทุก ๑๐ ล้อ ทั้งตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมาย ป.จ.๔ ที่พันตำรวจตรีวิโรจน์บันทึกลงไว้ภายหลังกลับจากตรวจที่เกิดเหตุ ก็มีให้ความเห็นว่า การชนกันครั้งนี้เป็นความผิดของผู้ขับรถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียน ๘๐-๓๐๙+ ซึ่งนายเกษม เรือนเงินขับมา จึงฟังไม่ได้ว่านายประสิทธิ์คนขับรถของจำเลยที่ ๓ มีส่วนประมาทด้วย ส่วนที่โจทก์ทั้งสองฎีกาด้วยว่า แม้จะฟังว่านายประสิทธิ์จะมิได้ประมาท แต่นายประสิทธิ์เป็นผู้ควบคุมดูแลยานพาหนะอันเกิดด้วยกำลังเครื่องจักรกล นายประสิทธิ์ต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๓๗ และคดีนี้มิได้พิสูจน์ให้เห็นได้เช่นนั้นจำเลยที่ ๓ ในฐานะนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดด้วย ข้อนี้ศาลฎีกาเห็นว่าผู้ตายโดยสารมาในรถยนต์ของจำเลยที่ ๓ ซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลเช่นเดียวกับรถยนต์ของจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ความเสียหายมิได้เกิดจากยานพาหนะที่เดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลของจำเลยที่ ๓ แต่ฝ่ายเดียวจึงนำบทบัญญัติมาตรา ๔๓๗ มาใช้ไม่ได้ ฎีกาโจทก์ทั้งสองฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน.