คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพร้อมกับโทรศัพท์ให้แก่จำเลยทั้งสองเพื่อดำเนินกิจการโรงแรมแต่อาคารพิพาทจะใช้เป็นโรงแรมได้ต่อเมื่อโจทก์ได้แก้ไขตามเงื่อนไขของเจ้าพนักงานกรุงเทพมหานครโจทก์มิได้แก้ไขและล่วงเลยเวลาที่แก้ไขก่อนที่โจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกัน3ปีแล้วโจทก์ปกปิดข้อเท็จจริงซึ่งควรจะแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบและหากจำเลยทั้งสองได้ทราบแล้วคงจะไม่ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายด้วยกรณีถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาด้วยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ซึ่งนับว่าเป็นสาระสำคัญสัญญาจะซื้อจะขายจึงเป็นโมฆียะกรรมเมื่อจำเลยทั้งสองได้บอกล้างแล้วย่อมตกเป็นโมฆะคู่กรณีจึงกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยทั้งสองไม่มีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายและไม่จำต้องชำระหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายชำระราคาให้แก่โจทก์

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อร่วมกันสั่งจ่ายเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขาเยาวราช ลงวันที่ 30พฤศจิกายน 2531 จำนวนเงิน 44,000,000 บาท ชำระหนี้แก่โจทก์แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยให้เหตุผลว่ามีคำสั่งให้ระงับการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2531 ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี คิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 3,290,958.80 บาทขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 47,290,958.80 บาทกับดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 44,000,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องให้โจทก์เป็นค่ามัดจำการซื้อที่ดินรวม 15 โฉนดพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งตั้งอยู่ที่แขวงถนนเพชรบุรี เขตพญาไทกรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินกิจการโรงแรมในราคา 95,000,000 บาทกำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ภายใน 180 วัน พร้อมชำระเงินส่วนที่เหลือ แต่เนื่องจากอาคารดังกล่าวก่อสร้างผิดแบบและพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งให้แก้ไข แต่โจทก์เพิกเฉย ทั้งมิได้แจ้งเรื่องนี้ให้จำเลยที่ 2 ทราบ ซึ่งหากทราบ จำเลยที่ 2จะไม่เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายและวางมัดจำกับโจทก์ จำเลยที่ 2เพิ่งทราบเรื่องก่อนเช็คตามฟ้องถึงกำหนด จึงบอกกล่าวห้ามโจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงิน แต่ให้จัดการแก้ไขข้อบกพร่องของอาคารเสียก่อน ทั้งแจ้งให้ธนาคารตามเช็คระงับการจ่ายเงินตามเช็คโจทก์ยังมิได้ดำเนินการแก้ไขอาคาร กลับนำเช็คไปเรียกเก็บเงินการเข้าทำสัญญาของจำเลยที่ 2 จึงเกิดจากการฉ้อฉลของโจทก์และจำเลยที่ 2 มีหนังสือบอกล้างสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวแล้วจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติได้ว่า โจทก์และจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพร้อมกับโทรศัพท์ โดยโจทก์เป็นผู้จะขาย จำเลยทั้งสองเป็นผู้จะซื้อ ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.11 เพื่อดำเนินกิจการโรงแรม ตกลงราคา 80,000,000 บาท แต่ระบุราคาในสัญญาไว้ 95,000,000 บาท ในวันทำสัญญาจำเลยทั้งสองได้วางเงินมัดจำให้โจทก์โดยสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 44,000,000 บาทตามเช็คเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งก่อนวันทำสัญญาจำเลยที่ 1 ได้จ่ายเงินมัดจำให้โจทก์ไว้แล้ว 1,000,000 บาท และโจทก์ได้ออกเช็คจำนวนเงิน 15,000,000 บาท ให้จำเลยที่ 1 โดยทำหนังสือรับรองไว้ตามเอกสารหมาย จ.12 และ จ.13 ต่อมาวันที่ 2 ธันวาคม 2531 โจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงิน ปรากฎว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยอ้างว่ามีคำสั่งให้ระงับการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1ได้คืนเช็คเอกสารหมาย จ.13 ให้โจทก์ ต่อมาจำเลยทั้งสองมอบให้ทนายความมีหนังสือบอกล้างนิติกรรมการทำสัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมาย ล.2 มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ในข้อแรกว่า จำเลยทั้งสองต้องชำระเงินตาม เช็คพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ในข้อนี้โจทก์มีนายวิชัย เพชรลิขิต ซึ่งเป็นกรรมการของโจทก์เบิกความตอบทนายโจทก์ชักถามว่า อาคารพิพาทบางส่วนผิดแบบ โจทก์ได้ดำเนินการแก้ไขแล้ว แต่ตอบทนายจำเลยที่ 2ถามค้านว่า เดิมโจทก์ขออนุญาตสร้างเป็นแฟลต 8 ชั้น ต่อมาขออนุญาตเปลี่ยนแปลงเป็นโรงแรมสูง 9 ชั้น เจ้าพนักงานกรุงเทพมหานครอนุญาต โดยมีเงื่อนไขให้แก้ไขตามเอกสารหมาย จ.10 ปรากฎว่าเงื่อนไขที่ให้โจทก์แก้ไขตามเอกสารหมาย จ.10 มี 4 ข้อ คือ1. ให้รื้อถอนตึกแถวด้านหน้าอาคารบางส่วนเพื่อให้มีที่ว่างด้านหน้าอาคาร 12 เมตร 2. ให้รื้อถอนกันสาดด้านหลังอาคารเพื่อให้มีที่ว่างเป็นทางเดินหลัง 2 เมตร 3. ให้รื้อถอนพื้นค.ส.ล.ชั้นสองบางส่วนเพื่อให้มีช่องโล่งตามแบบ 4. ให้รื้อถอนกันสาดด้านข้างและพื้น ค.ส.ล. บนชั้นดาดฟ้าที่สร้างเกินจากแบบโจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นดังกล่าว คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ เห็นว่า อาคารพิพาทจะใช้เป็นโรงแรมได้ต่อเมื่อโจทก์ได้แก้ไขตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเอกสารหมาย จ.10 แต่โจทก์มิได้จัดการแก้ไขแต่อย่างใดซึ่งหนังสืออนุญาตให้แก้ไขได้กำหนดอายุถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2528จึงล่วงเลยเวลาที่จะแก้ไขไปก่อนที่โจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกันถึง 3 ปี เมื่อคำนึงถึงว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อที่ดินและอาคารของโจทก์เพื่อดำเนินกิจการโรงแรม หากยังไม่มีการจัดการแก้ไขตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารหมาย จ.10จำเลยทั้งสองก็ไม่สามารถจะดำเนินกิจการโรงแรมได้และการแก้ไขดังกล่าวนับว่าเป็นเรื่องที่ยากสำหรับจำเลยทั้งสอง ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จำเลยทั้งสองรับจะไปแก้ไขเองดังที่โจทก์นำสืบมาเมื่อพิจารณาสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.11 แล้วเห็นได้ว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นว่าลายมือชื่อผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจท้ายคำให้การของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ลำพังแต่ตามวันที่ลงในหนังสือมอบอำนาจจำเลยที่ 2ไม่ได้อยู่ในประเทศไทยจะฟังว่าลายมือชื่อดังกล่าวเป็นลายมือชื่อปลอมหาได้ไม่ ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาข้อสุดท้ายตามฎีกาของโจทก์ว่า ศาลชั้นต้นมีอำนาจอนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมเอกสารหมาย ล.6 หรือไม่ เห็นว่าเอกสารหมาย ล.6 เป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นชาวฮ่องกงไม่ได้อยู่ในประเทศไทย เชื่อว่าทนายจำเลยที่ 2 เพิ่งจะรู้ว่าเอกสารหมาย ล.6 ได้มีอยู่ เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานเช่นว่านั้น ศาลก็มีอำนาจอนุญาตให้จำเลยที่ 2ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคสี่ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวไว้ และทำไว้โดยละเอียด สำหรับเรื่องที่แก้ไขนี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ หากจำเลยทั้งสองได้ทราบว่าจะต้องมีการแก้ไขอาคารและรับจะจัดการแก้ไขจริงก็น่าจะระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายให้ชัดเจน ด้วยเหตุผลและพฤติการณ์ดังกล่าวไม่น่าเชื่อว่าในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายจำเลยทั้งสองได้ทราบว่าต้องมีการแก้ไขในใบอนุญาตตามที่กำหนดไว้ในเอกสารหมาย จ.10โจทก์น่าจะปกปิดข้อเท็จจริงในข้อนี้ซึ่งควรจะแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบ และหากจำเลยทั้งสองได้ทราบแล้วคงจะไม่ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายด้วย กรณีถือว่าเป็นการแสดงเจตนาด้วยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ซึ่งนับว่าเป็นสาระสำคัญ สัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.11จึงเป็นโมฆียะกรรม เมื่อจำเลยทั้งสองได้บอกล้างแล้วย่อมตกเป็นโมฆะ คู่กรณีจึงกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยทั้งสองไม่มีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.11 และไม่จำต้องรับผิดชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
ศาลฎีกาวินิจฉัยต่อไปว่า ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า ลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจของจำเลยที่ 2 ปลอม และที่ศาลชั้นต้นสั่งรับบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลยที่ 2 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนชอบแล้ว
พิพากษายืน

Share