แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
จำเลยมีข้อบังคับว่าพนักงานที่ประสงค์จะลาออกจะต้องยื่นใบลาออกจากงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่า30วันและวันที่จำเลยอนุมัติให้ลาออกได้เป็นวันสิ้นสุดสัญญาการจ้างงานข้อบังคับนี้มีความหมายเพียงกำหนดระเบียบการลาออกของพนักงานว่าจะต้องยื่นใบลาล่วงหน้าเป็นระยะเวลาเท่าใดและวันสิ้นสุดสัญญาการจ้างงานเป็นวันใดมิใช่หมายความว่าจำเลยมีสิทธิหรือมีอำนาจกำหนดการลาออกจากงานของโจทก์เป็นวันอื่นนอกจากใบลาได้การลาออกเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะลาออกเมื่อใดก็ได้ภายใต้ข้อบังคับของจำเลยซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโจทก์ยื่นใบลาออกถูกต้องตามข้อบังคับเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกำหนดวันลาออกของตนได้จำเลยไม่ชอบที่จะอนุมัติวันลาเป็นประการอื่นการที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกก่อนกำหนดทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับค่าจ้างที่จะได้รับถึงวันที่โจทก์ประสงค์ลาออกอย่างแท้จริงจำเลยต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนนี้.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย จ้าง โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ มี กำหนดระยะ เวลา เป็น งวด ค่าจ้าง เดือนละ 3,309 บาท หาก โจทก์ ทำงาน ครบ งวดใด มี สิทธิ ได้ รับ เงิน พิเศษ งวดละ 3,000 บาท โจทก์ ทำงาน ครบสอง งวด แล้ว จำเลย ไม่ จ่าย เงิน พิเศษ ให้ งวด ที่ สาม มี กำหนดเวลา จ้าง 1 ปี นับแต่ วันที่ 1 เมษายน 2528 ถึง วันที่ 1 เมษายน 2529โจทก์ ขอ ลาออก โดย ยื่น ใบลา ล่วงหน้า เมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2528เพื่อ ขอ ลาออก จาก งาน วันที่ 30 กันยายน 2528 แต่ จำเลย่ กลับ มีคำสั่ง ให้ โจทก์ ออก จาก งาน ใน วันที่ 1 กันยายน 2528 จำเลย จึงต้อง จ่าย เงิน ค่าจ้าง สำหรับ เดือน กันยายน 2528 แก่ โจทก์ ขอ ให้บังคับ ให้ จำเลย จ่าย เงิน ตอบแทน พิเศษ สอง งวด รวม 6,000 บาทค่าจ้าง เดือน กันยายน 2528 เป็น เงิน 3,309 บาท และ เงิน ประกันค่าเสียหาย 3,000 บาท ที่ จำเลย เรียก จาก โจทก์ ใน การ เข้า ทำงานแก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย จ้าง โจทก์ มี กำหนด เวลา หนึ่ง ปี ค่าจ้างเดือนละ 3,000 บาท การ ที่ โจทก์ ลาออก จาก งาน ก่อน ครบ กำหนด เวลาการ จ้าง จำเลย ไม่ ต้อง จ่าย เงิน ตอบแทน พิเศษ ตาม ข้อบังคับ ของจำเลย มี ว่า พนักงาน ที่ ประสงค์ จะ ลา ออก ให้ ยื่น หนังสือ ขอ ลาออก จาก งาน ล่วงหน้า ไม่ น้อยกว่า สามสิบ วัน และ วันที่ จำเลย อนุมัติให้ ลา ออก เป็น วัน สิ้นสุด สัญญา จ้าง จำเลย อนุมัติ ให้ โจทก์ลาออก เมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2528 ตาม ข้อบังคับ ของ จำเลย จึง ไม่ต้อง จ่าย ค่าจ้าง ให้ โจทก์ จำเลย ไม่ ได้ เรียกเก็บ เงิน ค่า ประกันความ เสียหาย จาก โจทก์ ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย จ้าง โจทก์ ใน อัตรา ค่าจ้างเดือนละ 3,000 บาท พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย ค่า ตอบแทน พิเศษ 6,000บาท ค่าเสียหาย เป็น ค่าจ้าง สำหรับ เดือน กันยายน 2528 จำนวน 3,000บาท และ เงิน ประกัน ค่าเสียหาย 3,000 รวม เป็น เงิน 12,000 บาท แก่โจทก์
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า ข้อบังคับ ของ จำเลย ซึ่ง มีความ ว่า ‘พนักงาน ที่ มี ความ ประสงค์ จะ ลาออก ให้ ยื่น หนังสือขอ ลาออก จาก งาน ล่วงหน้า ไม่ น้อยกว่า 30 วัน และ วันที่ โรงพยาบาลอนุมัติ ให้ ลาออก ได้ เป็น วัน สิ้นสุด สัญญา การ จ้างงาน พนักงานผู้ใด ไม่ ปฏิบัติ ตาม ความ ใน ข้อนี้ โรงพยาบาล จะ ริบ เงิน ประกันความ เสียหาย ของ พนักงาน ผู้นั้น ทั้งหมด ทันที’ นั้น มี ความหมายเพียง กำหนด ระเบียบ การ ลาออก ของ พนักงาน ว่า จะ ต้อง ยื่น ใบลาล่วงหน้า ล่วงหน้า เป็น ระยะ เวลา เท่าใด และ วัน สิ้นสุด สัญญาการ จ้างงาน เป็น วันใด มิใช่ ความหมาย ว่า จำเลย มี สิทธิ หรือ มีอำนาจ ที่ จะ กำหนด การ ลาออก จาก งาน ของ โจทก์ เป็น วันอื่น นอกจากใบลา ได้ การ ลาออก เป็น สิทธิ ของ โจทก์ ที่ จะ ลาออก เมื่อใด ก็ ได้ทั้งนี้ ภายใต้ ข้อบังคับ ของ จำเลย ซึ่ง เป็น ข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพ การจ้าง โจทก์ ได้ ยื่น ใบลาออก ถูกต้อง ตาม ข้อบังคับ แล้วเป็น สิทธิ ของ โจทก์ ที่ จะ กำหนด วัน ลาออก ของ ตน ได้ จำเลย ไม่ชอบ ที่ จะ อนุมัติ วันลา เป็น ประการอื่น การ ที่ จำเลย อนุมัติ ให้โจทก์ ลาออก ก่อน กำหนด ย่อม เป็น ที่ เห็น ได้ ว่า โจทก์ ขาด ค่าจ้างที่ จะ ได้ รับ นับแต่ วัน ยื่น ใบลา จน ถึง วันที่ โจทก์ ประสงค์ลาออก อย่าง แท้จริง และ ยัง ความ เสียหาย แก่ โจทก์
พิพากษายืน.