คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2532

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความผิดตาม พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 99 เป็นเรื่องสำแดงรายการสินค้าอันเป็นเท็จ แต่ จำเลยนอกจากได้สำแดงรายการสินค้าอันเป็นเท็จแล้วยังได้ นำสินค้าที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในพระราชอาณาจักรอันเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีและฉ้อภาษีของ รัฐบาล ด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม มาตรา 27 ที่แก้ไขแล้ว
จำเลยขอทำความตกลง ระงับคดีต่อ กรมศุลกากร ตาม มาตรา 102102 ทวิ อธิบดีกรมศุลกากรอนุมัติให้รับทำความตกลง ระงับคดีโดยให้จำเลยชำระค่าซื้อของกลางคืนเป็น 3 งวด งวดละหนึ่งเดือนโดย มีธนาคารเป็นผู้ค้ำประกัน แต่ จำเลยมิได้ดำเนินการตามข้อตกลง อธิบดีกรมศุลกากรจึงขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลย เช่นนี้คดียังไม่ระงับ
อายุความตาม พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 เป็นอายุความในทางแพ่งเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าภาษีอากร ไม่ใช่อายุความการฟ้องคดีอาญา จำเลยกระทำผิดฐาน ไม่สำแดงรายการให้ตรงตาม ความจริง เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีและฉ้อภาษีของ รัฐบาล เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2517 มีความผิดตาม มาตรา 27 ซึ่ง มีโทษปรับหรือจำคุกไม่เกินสิบปี มีอายุความ 15 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95(2) โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2527 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันนำสินค้าซึ่งมีแหล่งกำเนิดและผลิตขึ้นในต่างประเทศ ยังมิได้เสียภาษีศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดยจำเลยยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแสดงรายการการค้า สำแดงชนิดของสินค้า จำนวนและราคาเป็นเท็จกับไม่สำแดงรายการสินค้าบางอย่างในใบขนสินค้าเป็นการแสดงรายการต่ำกว่าที่เป็นจริง ๑๕๔,๑๑๙.๑๒ บาท อากรขาเข้าขาดไป ๙๑,๘๕๗.๑๓ บาท โดยจำเลยมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและฉ้อภาษีของรัฐบาล ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๔๖๙ มาตรา ๒๗ พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๔๘๒ มาตรา ๑๖, ๑๗ พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๔๙๑ มาตรา ๓ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓ ริบของกลาง และให้จ่ายเงินรางวัลแก่เจ้าพนักงาน
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๔๖๙ มาตรา ๒๗ ปรับจำเลยทั้งสองเป็นเงินสี่เท่าของราคาสินค้าที่รวมค่าอากรแล้ว เป็นเงิน +++++ บาท หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระค่าปรับ ให้บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ กรณีกักขังแทนค่าปรับให้กักขังจำเลยที่ ๒ มีกำหนด ๒ ปี กับให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินรางวัลร้อยละยี่สิบของเงินท่ได้จากการขายของกลาง หากไม่อาจขายได้ให้จ่ายเงินรางวัลร้อยละยี่สิบของเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาลแก่เจ้าหน้าที่ผู้จับตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. ๒๔++ มาตรา ๕, ๘ และของกลางทั้งหมดให้ริบ
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยทั้งสองฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างโดยลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเป็นเงิน ๑,๑๑๖,๗๘๖.๒+ บาท ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๔๖๙ มาตรา ๒๗ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๒๑๘ ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ ๑ เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ ๒ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้นำสินค้าเข็มขัดหนัง กระดุมข้อมือทำด้วยโลหะ กำไลข้อมือทำด้วยโลหะ กระเป๋าใส่สตางค์และน้ำหอมจากประเทศสหรัฐอเมริกาเข้ามาในราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๑๗ จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเลขที่ ๑๑๗-๑๑๖๐ สำแดงชนิดของสินค้า จำนวนและราคาสินค้าเพียง ๒๑,๑๘๔.๓๕ บาท และชำระค่าอากรขาเข้า ๑๒,๑๔๕.๖๕ บาท แต่สินค้าทั้งหมดที่พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบและประเมินราคาคิดเป็นเงิน ๑๗๕,๑๙๓.๘๗ บาท ต้องชำระค่าอากรขาเข้า ++++.๖๘ บาท ราคาสินค้า++ไป ๑๕๔,+++++ บาท ค่าอากรขาเข้าขาดไป ๙๑,๘๕๗.๑๓ บาท ต่อมาวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕++ จำเลยทั้งสองได้เข้ามามอบตัวต่อสู้คดี จำเลยทั้งสองขอทำความตกลงระงับคดี อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดเงื่อนไขให้จำเลยทั้งสองซื้อสินค้าทั้งหมดคืนพร้อมด้วยชำระค่าอากรขาเข้าโดยให้ผ่อนชำระเป็น ๓ งวด งวดละหนึ่งเดือน จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตาม จึงได้ทำการสอบสวนดำเนินคดี ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๔๖๔ มาตรา ๒๗ นั้นไม่ถูกต้อง จำเลยที่ ๒ ได้มอบให้ชิปปิ้งหรือพนักงาน++ของเป็นผู้ยื่นแสดงรายการ ชิปปิ้งยื่นแบบแสดงรายการเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติศุลากรมาตรา ๙๙ นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๔๖๔ มาตรา ๙๙ เป็นเรื่องสำแดงรายการสินค้าอันเป็นเท็จ แต่ข้อเท็จในคดีนี้ จำเลยทั้งสองได้สำแดงรายการสินค้าอันเป็นเท็จแล้วยังได้นำสินค้าที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในพระราชอาณาจักรอันเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีและฉ้อภาษีของรัฐบาลด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๔๖๙ มาตรา ๒๗ ที่แก้ไขแล้ว ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองมาชอบแล้ว
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ได้ตกลงผ่อนชำระค่าสินค้ารวมค่าอากรต่อกรมศุลกากร คดีย่อมระงับไปตามมาตรา +++ มาตรา ++๒ ทวิ นั้น เห็นว่า อธิบดีกรมศุลกากรอนุมัติให้รับทำความตกลงระงับคดี โดยให้จำเลยทั้งสองชำระค่าซื้อของกลางคืนเป็น ๓ งวดงวดละหนึ่งเดือน โดยมีธนาคารเป็นผู้ค้ำประกัน แต่จำเลยทั้งสองมิได้ดำเนินการตามข้อตกลงอธิบดีกรมศุลากรจึงขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองต่อไป คดีโจทก์ยังไม่ระงับ
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า คดีขาดอายุความนั้น จำเลยทั้งสองได้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรและร่วมกันยื่นใบขนสินค้าขาเข้าแบบแสดงรายการการค้าเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๑๗ จำเลยไม่สำแดงรายการให้ตรงตามความจริงเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีและฉ้อภาษีของรัฐบาล มีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๔๖๙ มาตรา ๒๗ ที่แก้ไขแล้วซึ่งมีโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปีซึ่งมีอายุความ ๑๕ ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๕ (+) ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๔๖๙ มาตรา ๑๐ เป็นอายุความในทางแพ่งเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าภาษีอากร ไม่ใช่อายุความการฟ้องคดีอาญา โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๒๗ คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน.

Share