คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

แม้การขายฝากจะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาจะผูกพันกันในเรื่องกู้ยืมเงินสัญญาขายฝากที่ทำไว้จึงเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา118วรรคสองและจะต้องถือว่าสัญญาขายฝากเป็นหลักฐานที่จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์และมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันเท่านั้น.(ที่มา-เนติฯ)

ย่อยาว

ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ ขับไล่ จำเลย กับ บริวาร ออก จาก ที่ดิน แปลงเนื้อที่ 14 ไร่ และ ห้าม เข้า ไป เกี่ยวข้อง อีก ให้ จำเลย ใช้ ค่าขาดประโยชน์ เป็น ค่าเช่า ทำนา ใน ที่ดิน ดังกล่าว แก่ โจทก์ ปีละ1,900 บาท นับแต่ ปี ทำนา พ.ศ. 2524 เป็นต้นไป จนกว่า จะ ออก ไป จากที่ดิน และ ให้ โจทก์ รับ เงิน จาก จำเลย 15,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยนับแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2520 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แล้ว คืน หนังสือรับรอง การ ทำ ประโยชน์ ที่ดิน แปลง เนื้อที่ 36 ไร่ ให้ แก่ จำเลยคำขอ อื่น ให้ ยก ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ‘ชั้น นี้ จะ ต้อง พิจารณา เฉพาะเรื่อง การ ขายฝาก ที่ดิน พิพาท แปลง เนื้อที่ 36 ไร่ ซึ่ง มี หลักฐานทำ สัญญา ไว้ ตาม เอกสาร หมาย ล.2 กับ จ.3 เท่านั้น ส่วน การ ขายฝากที่ดิน พิพาท แปลง เนื้อที่ 14 ไร่ โจทก์ เป็น ฝ่าย ชนะคดี และ คดี ยุติไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น แล้ว เพราะ จำเลย ผู้ แพ้ คดี ไม่ อุทธรณ์สำหรับ การ ขายฝาก ที่ดิน พิพาท แปลง เนื้อที่ 36 ไร่ ก็ มี ปัญหา จะต้อง วินิจฉัย ว่า สัญญา ที่ ทำ ไว้ เป็น นิติกรรม อำพราง การ กู้ยืมเงิน หรือไม่ เห็นว่า แม้ การ ขายฝาก จะ ทำ เป็น หนังสือ และ จด ทะเบียนต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ถูกต้อง ตาม กฎหมาย แต่ จำเลย ก็ ยืนยัน ว่าได้ ทำ สัญญา ขายฝาก ที่ดิน แปลง เนื้อที่ 36 ไร่ แทน การ กู้ยืม เงินใน ลักษณะ ให้ เป็น หลักประกัน การ กู้ยืม เงิน เพราะ โจทก์ คิด เอาดอกเบี้ย ร้อยละ 5 ต่อ เดือน ซึ่ง จำเลย จะ ต้อง ชำระ ให้ เดือนละ 1,000 บาท หรือ ปีละ 12,000 บาท และ โจทก์ ก็ ตกลง ว่า เมื่อ ครบ กำหนดขายฝาก 6 เดือน แล้ว จำเลย ไม่ ไถ่ คืน โจทก์ ก็ ไม่ เอา ที่ดิน เป็นกรรมสิทธิ์ ของ ตน ซึ่ง ข้อเท็จจริง ก็ ได้ ความ ว่า จำเลย เป็น ผู้ครอบครอง ทำ ประโยชน์ อยู่ ใน ที่ดิน ดังกล่าว ตลอด มา และ ได้ เสียภาษี บำรุง ท้องที่ เอง ตาม เอกสาร หมาย ล.5 ถึง ล.10 โจทก์ เพียงอ้าง ว่า จำเลย ครอบครอง แทน เพราะ โจทก์ ให้ ช่วย ดูแล และ อาศัยทำกิน เท่านั้น ใน เรื่อง เกี่ยวกับ การ เสีย ดอกเบี้ย ฝ่าย จำเลยก็ มี ตัว จำเลย นาย ดำ อินทรเพชร กับ นาย บุญถม พุทธาวันดี เบิกความประกอบ กัน ยืนยัน ว่า จำเลย ได้ เสีย ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ เรื่อยมาโดย ใน ปี 2516 จ่าย ให้ 7,000 ปี 2517 จ่าย ให้ 20,000 บาท ปี 2518ให้ เป็น ข้าวเปลือก 41 กระสอบ ซึ่ง คิด ราคา ใน ขณะ ยื่นฟ้อง เป็นเงิน 5,166 บาท และ ใน ปี 2519 โจทก์ ก็ มา ทวงถาม เอา ดอกเบี้ย อีก จำเลยไม่ มี เงิน และ ขอ ให้ โจทก์ แสดง บัญชี หนี้สิน ก่อน โจทก์ จึง ให้บุตรสาว ชื่อ นาง สุภาพร หรือ แดง เขียน บัญชี หนี้สิน ส่ง ให้ จำเลยตาม เอกสาร หมาย ล.3 ซึ่ง โจทก์ โต้แย้ง คัดค้าน ว่า เอกสาร ดังกล่าวไม่ ใช่ ลายมือ ของ นาง แดง บุตรสาว โจทก์ เพราะ เกี่ยวกับ เรื่อง การขายฝาก หรือ การ ชำระหนี้ ตาม สัญญา ขายฝาก โจทก์ เป็น ผู้ รับผิด ชอบและ ทำ เอง ไม่ เคย ให้ บุตรสาว ทำ แทน แต่ นาย อดุลย์ พลดวงเดช พยานโจทก์ ซึ่ง เป็น สามี ของ นาง แดง หรือ สุภาพร และ มี ฐานะ เป็น บุตรเขยโจทก์ กลับ ตอบ คำถาม ค้าน ของ ทนายจำเลย ว่า นาง แดง ภรรยา ของ ตนเป็น ผู้จัดการ เกี่ยวกับ การ เงิน การ ทอง ของ โจทก์ และ บัญชี หนี้สินตาม เอกสาร หมาย ล.3 เป็น ลายมือชื่อ ของ นาง แดง ภริยา ของ ตนเองแสดงว่า นาง แดง บุตร โจทก์ เป็น ผู้ เขียน บัญชี หนี้สิน ตาม เอกสารหมาย ล.3 จริง และ จำเลย จะ ต้อง ได้ รับ เอกสาร ดังกล่าว จาก โจทก์หรือ บุตรสาว โจทก์ ด้วย ใน เอกสาร ดังกล่าว ได้ กล่าว ถึง หนี้เงินต้น 20,000 บาท และ มี การ คิด ดอกเบี้ย เดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 6 ปี แล้ว หักหนี้ ที่ ชำระ ไป แล้ว ให้ 30,435 บาท ซึ่ง ก็ แสดงให้ เห็น ชัดแจ้ง ว่า ต้อง เป็น หนี้ เงินกู้ และ ต้นเงิน จำนวน 20,000บาท ก็ ตรงกับ ที่ ระบุ ไว้ ใน สัญญา ขายฝาก เอกสาร หมาย จ.3 ด้วยจึง เชื่อ ว่า เป็น หนี้ รายเดียว กัน ตาม ที่ จำเลย นำสืบ ไว้ เพราะดอกเบี้ย ก็ คิด เดือนละ 4,000 บาท เท่ากัน สำหรับ เงิน ดอกเบี้ย ที่ชำระ แล้ว มี จำนวน แตกต่างกัน บ้าง เล็กน้อย อาจ เป็น เพราะ คิด ราคาข้าวเปลือก 41 กระสอบ แตกต่าง กัน โดย ฝ่าย โจทก์ คิด ราคา ใน ตอนส่งมอบ และ จำเลย คิด ราคา ใน ขณะ ถูก ฟ้อง ก็ ได้ แต่ การ ที่ โจทก์ยัง เรียก เก็บ เอา ดอกเบี้ย ใน เงินต้น ตาม สัญญา ขายฝาก จำนวน20,000 บาท ตลอด มา เป็น เวลา ถึง 6-7 ปี เช่นนี้ ก็ เป็น ที่ เห็น ได้ชัด แล้ว ว่า คู่สัญญา ไม่ มี เจตนา จะ ผูกพัน กัน ตาม สัญญา ขายฝากรูปคดี มี เหตุผล ให้ เชื่อ ว่า โจทก์ จำเลย มี เจตนา จะ ผูกพัน กัน ในเรื่อง กู้ยืม เงิน ตาม ข้อต่อสู้ ของ จำเลย สัญญา ขายฝาก ที่ ทำ ไว้ตาม เอกสาร หมาย จ.2 กับ จ.3 จึง เป็น นิติกรรม อำพราง การ กู้ ยืม เงินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคสอง และ จะ ต้อง ถือ ว่าสัญญา ขายฝาก ดังกล่าว เป็น หลักฐาน ที่ จำเลย ได้ กู้ยืม เงิน โจทก์และ มอบ ที่ดิน พิพาท แปลง เนื้อที่ 36 ไร่ ให้ โจทก์ ยึดถือ ไว้ เป็นประกัน เท่านั้น ทั้ง จะ ต้อง รับฟัง ว่า จำเลย ได้ กู้ยืม เงิน โจทก์20,000 บาท ตาม ที่ ระบุ ไว้ ใน สัญญา ขายฝาก ด้วย เพราะ ใน เอกสารหมาย ล.3 ก็ ระบุ เงินต้น ไว้ 20,000 บาท ตรง กัน และ จำเลย เอง ก็เบิกความ ยอมรับ ว่า โจทก์ คิด ดอกเบี้ย ร้อยละ 5 ต่อเดือน เป็น เงินดอกเบี้ย เดือนละ 1,000 บาท แสดงว่า คิด ดอกเบี้ย จาก เงินกู้ จำนวน20,000 บาท เช่นเดียว กัน ฎีกา โจทก์ คง ฟัง ขึ้น เพียง บางส่วน ตามที่ ได้ วินิจฉัย มา แล้ว เท่านั้น’
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ โจทก์ รับ เงิน จาก จำเลย 20,000 บาทพร้อมด้วย ดอกเบี้ย ร้อยละ 7 ครึ่ง ต่อปี นับแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม2520 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แล้ว ให้ โจทก์ คืน หนังสือ รับรอง การ ทำประโยชน์ ที่ดิน พิพาท แปลง เนื้อที่ 36 ไร่ แก่ จำเลย สำหรับ ค่าฤชาธรรมเนียม ชั้น ฎีกา ให้ เป็น พับ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์.

Share