คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

คดีอาญาที่ต้องห้ามมิให้คู่ความาฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอายามาตรา221ให้อำนาจผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์.อนุญาตให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้เมื่อเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดแต่อำนาจอนุญาตให้ฎีกาเป็นอำนาจเฉพาะตัวของผู้พิพากษามิใช่อำนาจของศาลศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษาคนหนึ่งซึ่งมิได้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งจึงไม่มีอำนาจอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ การพนัน พ.ศ. 2478มาตรา 4, 5, 6, 10, 12 และ 15 พระราชบัญญัติ การพนัน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2490 มาตรา 3 พระราชบัญญัติ การพนัน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2504 มาตรา 3ริบ ของกลาง และ จ่าย เงิน สินบน นำจับ
จำเลย ให้การ รับสารภาพ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ลงโทษ จำคุก 3 เดือน และ ปรับ 2,500 บาท ของกลางริบ และ จ่าย สินบน นำจับ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ‘คดี นี้ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น จำคุก จำเลย ไม่ เกิน ห้า ปี คู่ความ ต้องห้ามมิให้ ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 จำเลย ฎีกา โดย ยื่น คำร้อง ต่อ ศาลชั้นต้น ขอ ให้ รับรอง ให้จำเลย ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้น โดย ผู้พิพากษา นาย หนึ่งซึ่ง มิได้ พิจารณา หรือ ลงชื่อ ใน คำพิพากษา หรือ ทำ ความ เห็นแย้งสั่ง อนุญาต ให้ จำเลย ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ที่ ว่า ควร รอ การลงโทษ ให้ แก่ จำเลย หรือไม่ และ สั่ง รับ ฎีกา จำเลย ข้อ 2 ก. ว่าเป็น ปัญหา ข้อกฎหมาย
พิเคราะห์ แล้ว คดีอาญา ที่ ต้องห้าม มิให้ คู่ความ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ให้ อำนาจผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา หรือ ลงชื่อ ใน คำพิพากษา หรือ ทำ ความเห็นแย้ง ใน ศาลชั้นต้น หรือ ศาลอุทธรณ์ อนุญาต ให้ คู่ความ ฎีกา ในปัญหา ข้อเท็จจริง ได้ เมื่อ เห็นว่า เป็น ปัญหา อัน ควร สู่ ศาล สูงสุด แต่ อำนาจ อนุญาต ให้ ฎีกา เป็น อำนาจ เฉพาะตัว ของ ผู้พิพากษา มิใช่อำนาจ ของ ศาล ศาลชั้นต้น โดย ผู้พิพากษา ดังกล่าว จึง ไม่ มี อำนาจอนุญาต ให้ จำเลย ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ได้ ผล จึง เป็น ว่า จำเลยยัง คง ต้องห้าม ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ฎีกา จำเลย ข้อ 2 ก. ที่ศาลชั้นต้น สั่ง รับ มา เป็น ฎีกา โต้แย้ง ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับของกลาง แล้ว สรุป ว่า ไม่ ควร ฟัง ว่า จำเลย เป็น เจ้ามือ ราย ใหญ่จึง เป็น ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ไม่ ใช่ ปัญหา ข้อกฎหมาย ศาลฎีกาไม่ รับ วินิจฉัย’

Share