คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่จำเลยขาย ก๋วยเตี๋ยวที่มีกัญชาเป็นส่วนผสมก็เท่ากับได้จำหน่ายกัญชานั้นให้ผู้ที่ซื้อก๋วยเตี๋ยวจากจำเลยด้วย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 4, 7, 8, 26, 76 วรรคสอง , 102 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 และ ริบของกลาง
จำเลย ฎีกา
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ ลงโทษ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 76 วรรคสอง จำคุก 2 ปี คำให้การ รับสารภาพ ชั้น จับกุม และชั้นสอบสวน ของ จำเลย เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษลดโทษ ให้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่ง ใน สามคง จำคุก 1 ปี 4 เดือน ริบของกลาง
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว มี ปัญหา ที่ จะ วินิจฉัยตาม ฎีกา ของ จำเลย ว่า จำเลย ได้ กระทำ ความผิด ฐาน มี กัญชา ไว้ใน ครอบครอง เพื่อ จำหน่าย ดัง ฟ้อง และ สมควร รอการลงโทษ จำคุก จำเลยหรือไม่ เห็นว่า การ ที่ จำเลย ได้ ให้การ ไว้ ตาม บันทึก คำให้การดังกล่าว ว่า จำเลย มี กัญชา ของกลาง ไว้ เพื่อ ใส่ ใน ก๋วยเตี๋ยว ที่ จำเลยขาย ก็ มี ความหมาย ว่า จำเลย ให้การรับสารภาพ ว่า จำเลย มี กัญชาของกลาง ไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ จำหน่าย นั่นเอง เพราะ การ ขาย ก๋วยเตี๋ยวที่ มี กัญชา เป็น ส่วนผสม ก็ เท่ากับ ได้ จำหน่าย กัญชา นั้น ให้ ผู้ที่ ซื้อก๋วยเตี๋ยว จาก จำเลย ด้วย พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ได้ความดังนี้ โดย ไม่ปรากฏ ว่า พยาน ของ โจทก์ ดัง วินิจฉัย แล้ว ข้างต้นมี สาเหตุ โกรธเคือง กับ จำเลย อัน จะ ทำให้ น่า สงสัย ว่า จะ แกล้ง เบิกความปรักปรำ จำเลย จึง เห็นว่า พยานหลักฐาน ของ โจทก์ มี น้ำหนัก เชื่อ ได้ว่าจำเลย ได้ กระทำ ความผิด ฐาน มี กัญชา ของกลาง ไว้ ใน ครอบครองเพื่อ จำหน่าย จริง ดัง ฟ้อง พยานหลักฐาน ของ จำเลย ไม่มี น้ำหนักเพียงพอ ให้ รับฟัง หักล้าง พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2พิพากษา ว่า จำเลย ได้ กระทำ ความผิด ดัง ฟ้อง ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วยแต่ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษา ลงโทษ จำคุก จำเลย โดย ไม่รอการลงโทษให้ นั้น เห็นว่า จำเลย ไม่เคย ได้รับ โทษ จำคุก มา ก่อน และ กัญชา ของกลางมี จำนวน เพียง เล็กน้อย สมควร รอการลงโทษ จำคุก เพื่อ ให้ จำเลย ได้ กลับประพฤติ ตน เป็น คนดี ต่อไป แต่ เพื่อ ให้ จำเลย หลาบจำ จึง ให้ ลงโทษปรับ จำเลย อีก สถาน หนึ่ง ด้วย ฎีกา ของ จำเลย ฟังขึ้น บางส่วน ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ปรับ จำเลย อีก สถาน หนึ่ง เป็น เงิน21,000 บาท ลดโทษ ให้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78หนึ่ง ใน สาม คง ให้ ปรับ 14,000 บาท โทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษ ไว้มี กำหนด 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระ ค่าปรับให้ บังคับ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจาก ที่ แก้คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2

Share