แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนแม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าค่าปรับสูงเกินไปเมื่อศาลเห็นว่ามีเหตุสมควรลดค่าปรับก็ย่อมทำได้เพราะค่าปรับตามสัญญาประกันชั้นสอบสวนเป็นเบี้ยปรับจึงเป็นดุลพินิจของศาลที่มีอำนาจจะลดค่าปรับให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ได้ ทำ สัญญาประกัน ตัว ผู้ต้องหา ต่อ โจทก์โดย ตกลง ว่า หาก ผิดสัญญา ยินยอม ใช้ เงิน 60,000 บาท ต่อมา จำเลยผิดสัญญา ไม่ส่ง ตัว ผู้ต้องหา ตาม กำหนด ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ ค่าปรับจำนวน 60,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันที่ 15 สิงหาคม 2532 ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน 9,862.50 บาท รวมเป็น เงิน ค่าเสียหาย ทั้งสิ้น จำนวน 69,862.50 บาท และ ดอกเบี้ย ใน อัตราดังกล่าว ใน ต้นเงิน 60,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่าชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ ค่าปรับ จำนวน 60,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 16 สิงหาคม2532 เป็นต้น ไป จนกว่า ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 30,000 บาทแก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ได้ ใน เบื้องต้น ว่าจำเลย ได้ ทำ สัญญาประกัน ตัว นางสาว สมัย พาเทียม ผู้ต้องหา ใน ข้อหา ปลอม และ ใช้ เอกสารราชการ ปลอม โดย ทำ สัญญาประกัน ว่า หากผิดนัด ไม่นำ ตัว ผู้ต้องหา มา ส่ง ให้ โจทก์ ตาม กำหนด นัด ยอม ใช้ เงิน60,000 บาท จำเลย ผิดสัญญา ประกัน ไม่นำ ตัว ผู้ต้องหา มา ส่ง ตาม นัดมี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า ศาลอุทธรณ์ มีอำนาจ ลด ค่าปรับให้ จำเลย หรือไม่ โดย โจทก์ ฎีกา ว่า จำเลย มิได้ ให้การ ต่อสู้ ไว้ ว่าค่าปรับ สูง เกิน ไป และ โจทก์ ฟ้อง เรียก เบี้ยปรับ ตาม ประมวล กฎหมาย แพ่งและ พาณิชย์ มิใช่ เป็น ค่าปรับ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา จำเลย ไม่สามารถ นำพยาน มา สืบ ว่า ได้ นำตัว ผู้ต้องหา ส่ง โจทก์ แล้ว ที่ ศาลอุทธรณ์ ลด ค่าปรับให้ จำเลย จึง ไม่ชอบ เห็นว่า การ ปล่อย ผู้ต้องหา หรือ จำเลย ชั่วคราวมี บัญญัติ ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แม้ จำเลย มิได้ ให้การต่อสู้ ไว้ ว่า ค่าปรับ สูง เกิน ไป เมื่อ ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า มีเหตุอันสมควรที่ จะ ลด ค่าปรับ ลง ก็ ย่อม กระทำ ได้ เพราะ ค่าปรับ ตาม สัญญาประกันผู้ต้องหา ชั้นสอบสวน เป็น เบี้ยปรับ จึง เป็น ดุลพินิจ ของ ศาลอุทธรณ์ที่ มีอำนาจ จะ ลด ค่าปรับ ให้ ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 ไม่ ขัด ต่อ กฎหมาย ดัง ที่ โจทก์ ฎีกา สำหรับ กรณี นี้ ปรากฏตาม คำเบิกความ ของ พันตำรวจโท วิชัย ชุ่มจินดา ตาม เอกสาร หมาย ล. 5 ว่า หลังจาก ผิดสัญญา ประกัน แล้ว จำเลย ได้ ส่งตัว ผู้ต้องหา ให้ แก่พนักงานสอบสวน ย่อม ส่อ แสดง ว่า จำเลย ได้ พยายาม ขวนขวาย ติดตามนำตัว ผู้ต้องหา ส่งมอบ ให้ พนักงานสอบสวน และ เมื่อ พิจารณา ถึง ว่าผู้ต้องหา ที่ จำเลย ทำ สัญญาประกัน ไว้ ต้อง หา ว่า กระทำ ความผิดฐาน ปลอม และ ใช้ เอกสารราชการ ปลอม ซึ่ง มี โทษ ไม่ สูง มาก การ ที่ศาลอุทธรณ์ ลด ค่าปรับ ให้ จำเลย นั้น ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน