คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานโดยกำหนดว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้และโจทก์จะไม่เรียกร้องอย่างใดๆเอากับจำเลยนั้นเป็นเพียงข้อสัญญาซึ่งให้สิทธิจำเลยที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่านั้นมิได้หมายความว่าโจทก์สละสิทธิไม่เรียกร้องเงินซึ่งพึงจะได้รับตามกฎหมาย ค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46บังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างซึ่งประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับอย่างกฎหมายโจทก์กับจำเลยจะตกลงทำสัญญาจ้างแรงงานโดยมีข้อตกลงใดๆอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศฉบับดังกล่าวหาได้ไม่การที่โจทก์กับจำเลยตกลงกันโดยกำหนดให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยย่อมเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46ไม่มีผลใช้บังคับ.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ให้ โจทก์ ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ออกจาก งาน เพราะ หมด ความ จำเป็น โดย โจทก์ ไม่ มี ความผิด และ ไม่ จ่ายค่าชดเชย ขอ ให้ บังคับ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ใน ตำแหน่ง กรรมกรได้ รับ ค่าจ้าง เป็น รายวัน เฉพาะ วัน ที่ มา ทำงาน ตอน ที่ โจทก์เข้า ทำงาน กับ จำเลย นั้น ได้ มี ข้อตกลง กัน ไว้ ว่า จำเลย มีสิทธิ เลิกจ้าง โจทก์ เมื่อใด ก็ ได้ และ โจทก์ จะ ไม่ เรียกร้องอย่างใด ๆ เอา กับ จำเลย ดังนั้น เมื่อ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ตามข้อตกลง โจทก์ จึง ไม่ มี สิทธิ เรียก เงิน จาก จำเลย ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย แก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดี แรงงาน วินิจฉัย ว่า แม้ ใน การ ตกลง จ้างแรงงานหรือ สัญญา จ้างแรงงาน จะ เกิดขึ้น ด้วย ความ ยินยอม หรือ ความสมัครใจ ของ คู่สัญญา ซึ่ง คู่สัญญา มี สิทธิ ที่ จะ ตกลง หรือ กำหนดเงื่อนไข ใน การ จ้าง อย่างไร ก็ ได้ แต่ ถ้า เงื่อนไข หรือ ข้อตกลงข้อใด มี วัตถุประสงค์ ซึ่ง เป็น การ ต้องห้าม ชัดแจ้ง โดย กฎหมายแล้ว เงื่อนไข หรือ ข้อตกลง นั้น ย่อม ไร้ผล บังคับ การ ที่ โจทก์กับ จำเลย ทำ สัญญา จ้างแรงงาน โดย กำหนด ว่า จำเลย มี สิทธิ เลิกจ้างโจทก์ เมื่อใด ก็ ได้ และ โจทก์ จะ ไม่ เรียกร้อง อย่าง ใด ๆ เอา กับจำเลย นั้น เป็น เพียง ข้อ สัญญา ซึ่ง ให้ สิทธิ จำเลย ที่ จะ เลิกจ้างโจทก์ ได้ โดย ไม่ ถือ ว่า เป็น การ เลิกจ้าง ไม่ เป็น ธรรม ซึ่งทำ ให้ โจทก์ ไม่ มี สิทธิ เรียก ค่าเสียหาย จาก จำเลย เท่านั้นมิได้ หมายความ ว่า โจทก์ สละสิทธิ ไม่ เรียกร้อง เงิน ซึ่ง พึง จะได้ รับ ตาม กฎหมาย อย่าวไร ก็ ตาม แม้ จะ แปล ข้อตกลง คำ ว่าโจทก์ จะ ไม่ เรียกร้อง อย่างใด ๆ เอา กับ จำเลย นั้น คู่สัญญา มีเจตนา ให้ รวมถึง การ ไม่ เรียกร้อง ค่าชดเชย ด้วย ก็ ตาม แต่ ค่าชดเชยเป็น เงิน ซึ่ง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ46 บังคับ ให้ นายจ้าง จ่ายแก่ ลูกจ้าง ซึ่ง เลิกจ้าง ซึ่ง ประกาศฉบับนี้ มี ผล ใช้ บังคับ อย่าง กฎหมาย โจทก์ กับ จำเลย จะ ตกลง ทำสัญญา จ้าง แรงงาน โดย มี ข้อตกลง ใดๆ อัน เป็น การ ฝ่าฝืน ประกาศฉบับ ดังกล่าว หา ได้ ไม่ การ ที่ โจทก์ กับ จำเลย ตกลง กัน โดย กำหนดให้ โจทก์ ไม่ มี สิทธิ เรียกร้อง ค่าชดเชย ย่อม เป็น การ ตัด สิทธิโจทก์ ที่ จะ ได้ รับ ค่าชดเชย ตาม กฎหมาย เป็น การ ขัด ต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ไม่ มี ผล ใช้บังคับ
พิพากษายืน

Share