แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีปัญหาเรื่องคำขอท้ายฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามอุทธรณ์ โจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดและโจทก์ฟ้องประสงค์ให้ศาลพิพากษาแบ่งที่ดินที่โจทก์และจำเลยทั้งสองถือกรรมสิทธิ์รวมกันตามส่วนของแต่ละคนที่มีกรรมสิทธิ์อยู่เป็นประการสำคัญแม้โจทก์ขอมาในคำขอท้ายฟ้องอย่างไรศาลย่อมมีอำนาจแบ่งให้ได้ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ไม่เป็นการพิพากษาที่ไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์รวมที่ดิน โฉนด เลขที่ 6324 ตำบล ชายนา อำเภอเสนา (เสนากลาง) จังหวัด พระนครศรีอยุธยา (กรุง เก่า ) เนื้อที่ ทั้ง แปลง 18 ไร่ 1 งาน17 ตารางวา โดย โจทก์ มี กรรมสิทธิ์ อยู่ จำนวน 8 ไร่ หรือ 3,200 ส่วนใน 7,317 ส่วน โจทก์ ประสงค์ จะ แบ่งแยก กรรมสิทธิ์ ส่วน ของ โจทก์ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ไป ดำเนินการ ขอ รังวัด จดทะเบียนแบ่งแยก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6324 ตำบล ชายนา อำเภอเสนา(เสนากลาง) จังหวัด พระนครศรีอยุธยา (กรุง เก่า ) เฉพาะ ส่วน เนื้อที่ 8 ไร่ หรือ3,200 ส่วน ใน จำนวน 7,317 ส่วน แก่ โจทก์ ถ้า จำเลย ทั้ง สองไม่ ปฎิบัติตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สองโดย ให้ โจทก์ ดำเนินการ ไป ได้ แต่เพียง ฝ่ายเดียว
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
จำเลย ที่ 2 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ดำเนินการ ขอ รังวัดจดทะเบียน แบ่งแยก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6324 ตำบล ชายนา อำเภอเสนา (เสนากลาง) จังหวัด พระนครศรีอยุธยา (กรุง เก่า ) เฉพาะ ส่วน เนื้อที่ 8 ไร่ หรือ 3,200 ส่วน ใน จำนวน 7,317 ส่วน แก่ โจทก์ ถ้า จำเลยทั้ง สอง ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แสดง เจตนา แทนโดย ให้ โจทก์ ดำเนินการ ไป ได้ แต่ ฝ่ายเดียว
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก คำขอ ใน ส่วน ที่ ว่า ถ้าจำเลย ทั้ง สอง ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แสดงเจตนา แทน โดย ให้ โจทก์ ดำเนินการ ไป ได้ ฝ่ายเดียว เสีย นอกจากที่ แก้ คง เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1โดย จำเลย ที่ 1 ฎีกา ประการ แรก ว่า การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2วินิจฉัย ปัญหา เรื่อง คำขอบังคับ ท้ายฟ้อง เคลือบคลุม หรือไม่ ว่าจำเลย ที่ 1 ไม่ได้ ยื่นคำให้การ ต่อสู้ คดี ประเด็น นี้ จึง เป็น ข้อ ที่ไม่ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ใน ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ไม่ วินิจฉัยให้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง นั้นแม้ จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ ยื่นคำให้การ ต่อสู้ คดี ไว้ ก็ ตาม แต่ คำขอท้ายฟ้อง เคลือบคลุม หรือไม่ เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย อัน เกี่ยว ด้วยความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ศาลฎีกา ย่อม สามารถ หยิบยก ขึ้น วินิจฉัยได้ เห็นว่า เมื่อ จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ ยื่นคำให้การ ต่อสู้ คดี ปัญหาเรื่อง คำขอ ท้ายฟ้อง เคลือบคลุม หรือไม่ จึง เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้นว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลชั้นต้น และ มิใช่ ปัญหา อัน เกี่ยว ด้วยความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ต้องห้าม อุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ไม่รับ วินิจฉัย จึง ชอบแล้ว
จำเลย ที่ 1 ฎีกา ต่อไป ว่า คำพิพากษา ของ ศาล ใน ส่วน ที่ ให้ แบ่งกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท ไม่มี สภาพ บังคับ ที่ จะ ปฎิบัติให้ เป็น ไป ตามวิธีการ ที่ กำหนด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364เพราะ ศาล จะ พิพากษา ให้ ต่าง หรือ เกินคำขอ ท้ายฟ้อง ไม่ได้ นั้นเห็นว่า ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง มิได้ แบ่งแยก กันครอบครอง ที่ดินพิพาท เป็น ส่วนสัด และ โจทก์ ฟ้อง ประสงค์ ให้ ศาล พิพากษาแบ่ง ที่ดิน ที่ โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง ถือ กรรมสิทธิ์รวม กันตาม ส่วน ของ แต่ละ คน ที่ มี กรรมสิทธิ์ อยู่ เป็น ประการ สำคัญแม้ โจทก์ ขอ มา ใน คำขอ ท้ายฟ้อง อย่างไร ศาล ย่อม มีอำนาจ แบ่ง ให้ ได้ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364ไม่เป็น การ พิพากษา ที่ ไม่ ตรง ตาม คำขอ ท้ายฟ้อง ของ โจทก์ ฎีกา ของจำเลย ที่ 1 ฟังไม่ขึ้น แต่ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษา ให้ยก คำขอใน ส่วน ที่ ว่า ถ้า จำเลย ทั้ง สอง ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษาของ ศาล แสดง เจตนา แทน โดย ให้ โจทก์ ดำเนินการ ไป ได้ ฝ่ายเดียว เสีย นั้นก็ ยัง ไม่เป็น ไป ตาม บทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 ศาลฎีกา เห็นสมควร แก้ไข ให้ ถูกต้อง โดย การ แบ่งกรรมสิทธิ์รวม นั้น ให้ เป็น ไป ตาม ที่ กำหนด ไว้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า วิธีการ แบ่ง ให้ เป็น ไป ตาม ที่ กำหนด ไว้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 นอกจาก ที่ แก้ ให้เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2