คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

คำสั่งของจำเลยแจ้งให้พนักงานของจำเลยใช้สิทธิลาพักผ่อนประจำปีรวมทั้งวันลาสะสมที่มีอยู่ให้หมดในปีที่พนักงานผู้นั้นจะเกษียณอายุหาใช่เป็นการกำหนดให้พนักงานหยุดพักผ่อนในช่วงเวลาใดที่กำหนดไว้แน่นอนไม่และไม่ปรากฏว่าหัวหน้าฝ่ายหัวหน้ากองและหัวหน้าหน่วยงานทุกหน่วยงานของจำเลยได้จัดวันหยุดให้พนักงานในสังกัดลาพักผ่อนประจำปีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีแล้วเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์ตามข้อ45แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สิบสี่ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ของ จำเลยต่อมา วันที่ 1 ตุลาคม 2528 จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สิบสี่ โดยอ้าง เหตุ ว่า เกษียณอายุ ครบ 60 ปี บริบูรณ์ โดย ไม่ จ่าย ค่าชดเชยและ ค่าจ้าง สำหรับ วัน หยุด พักผ่อน ประจำปี ขอ ให้ ศาล บังคับ จำเลยจ่าย เงิน ค่าชดเชย และ ค่าจ้าง สำหรับ วันหยุด พักผ่อน ประจำปีพร้อมด้วย ดอกเบี้ย ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สิบสี่
จำเลย ให้การ โจทก์ ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ ค่าชดเชย และ ดอกเบี้ย ตามฟ้อง ส่วน วันหยุด พักผ่อน ประจำปี ได้ มี คำสั่งที่ 54/2528 เรื่องกำหนด หลักเกณฑ์ ให้ พนักงาน ใกล้เกษียณ อายุ ลา พักผ่อน ประจำปี กำหนดให้ ใช้ สิทธิ ลา ให้ หมด ใน ปี ที่ เกษียณอายุ ด้วย โจทก์ จึง ไม่ มีสิทธิ ฟ้อง ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1ถึง ที่ 14 ตาม ฟ้อง พร้อมทั้ง ดอกเบี้ย ใน เงิน ดังกล่าว นับแต่ วันเลิกจ้าง จนกว่า จะ ชำระเสร็จ คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ ยก
โจทก์ ทั้ง สิบสี่ และ จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า สำหรับ ข้ออุทธรณ์ ของ โจทก์ที่ เกี่ยวกับ ค่าจ้าง สำหรับ วัน หยุด พักผ่อน ประจำปี ว่า ตาม คำสั่งที่ 54/2528 ของ จำเลย เป็น เรื่อง การ กำหนด หลักเกณฑ์ ให้ พนักงานที่ ใกล้ เกษียณอายุ ลา พักผ่อน ประจำปี ให้ หมด เท่านั้น หา ใช่ เป็นการ กำหนด ให้ โจทก์ ลา พักผ่อน วันใด ถึง วันใด ไม่ จึง ถือ ไม่ ได้ว่า จำเลย ได้ กำหนด วัน ให้ โจทก์ หยุด พักผ่อน ประจำปี แล้ว นั้นพิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า ตาม คำสั่ง ที่ 54/2528 ของ จำเลย นั้น เป็นเพียง หนังสือ แจ้ง ให้ พนักงาน ของ จำเลย ใช้ สิทธิ ลา พักผ่อน ประจำปีรวมทั้ง วันลา สะสม ที่ มี อยู่ ให้ หมด ใน ปี ที่ พนักงาน ผู้นั้นจะ เกษียณอายุ เท่านั้น หา ใช่ เป็น การ กำหนด ให้ พนักงาน หยุด พักผ่อนใน ช่วง เวลา ใด ที่ กำหนด ไว้ แน่นอน ไม่ และ ข้อเท็จจริง ไม่ ปรากฏว่า หัวหน้า ฝ่าย หัวหน้า กอง และ หัวหน้า หน่วยงาน ทุก หน่วยงาน ของจำเลย ได้ จัด วันหยุด ให้ พนักงาน ใน สังกัด ลา พักผ่อน ประจำปี แล้วจึง ถือ ไม่ ได้ ว่า จำเลย ผู้ เป็น นายจ้าง ได้ กำหนด ให้ โจทก์ ซึ่งเป็น ลูกจ้าง หยุด พักผ่อน ประจำ ปี แล้ว เมื่อ จำเลย ยัง ไม่ ได้ กำหนดวันหยุด พักผ่อน ประจำปี ให้ แก่ โจทก์ ที่ 10 ถึง ที่ 13 ดัง ที่ ได้วินิจฉัย มา แล้ว และ โจทก์ ดังกล่าว ยัง มิได้ ใช้ สิทธิ หยุด พักผ่อนประจำปี เช่นนี้ การ ที่ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ที่ 10 ถึง ที่ 13 เพราะเกษียณอายุ จำเลย จึง ต้อง จ่าย ค่าจ้าง สำหรับ วันหยุด พักผ่อน ประจำปีให้ ตาม ข้อ 45 แห่ง ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลง วันที่ 16 เมษายน 2515 และ เนื่องจาก กฎหมาย กำหนด ให้ นายจ้างจ่าย ค่าจ้าง สำหรับ วัน หยุดพักผ่อน ประจำปี เมื่อ เลิกจ้าง จำเลยไม่ จ่าย จึง ตก เป็น ผู้ ผิดนัด ต้อง เสีย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละเจ็ดครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วัน เลิกจ้าง
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย เสีย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่งต่อปี สำหรับ ค่าชดเชย ของ โจทก์ กับ ให้ จำเลย ชำระ ค่าจ้าง สำหรับวันหยุด พักผ่อน ประจำปี ให้ แก่ โจทก์ ที่ 10 ถึง โจทก์ ที่ 13พร้อมด้วย ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วัน เลิกจ้าง ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลแรงงานกลาง

Share