แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
โจทก์จะครบเกษียณอายุในวันที่1ตุลาคม2528ครั้นวันที่10มิถุนายน2528ก่อนโจทก์ครบเกษียณอายุ3เดือน21วันจำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งว่าหากโจทก์มีวันหยุดพักผ่อนประจำปีเหลืออยู่เท่าใดก็ให้ขออนุญาตหยุดเสียก่อนที่โจทก์จะเกษียณอายุถือได้ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีล่วงหน้าให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างต้องตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515ข้อ10แล้วเป็นการกำหนดช่วงระยะเวลาให้โจทก์เลือกวันหยุดเอาเองเพื่อความสะดวกแก่โจทก์ได้ชื่อว่าจำเลยปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแล้วเมื่อโจทก์ไม่ยอมหยุดเองจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย จ้าง โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ต่อมา วันที่ 1ตุลาคม 2528 จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เพราะ เหตุ ครบเกษียณ อายุ โดย ไม่จ่าย ค่าชดเชย โจทก์ มี สิทธิ หยุด พักผ่อน ประจำปี ได้ ปี ละ 10 วันและ ให้ สะสม ได้ ไม่เกิน 20 วัน โจทก์ มิได้ หยุด พักผ่อน ประจำปีพ.ศ. 2527 และ ปี พ.ศ. 2528 รวม เป็น เวลา 20 วัน รวม เป็น ค่าจ้างสำหรับ วันหยุด พักผ่อน ประจำปี 17,306.60 บาท ซึ่ง จำเลย ยัง มิได้จ่าย ให้ โจทก์ ขอ ให้ ศาล บังคับ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย และ ค่าจ้างสำหรับ วันหยุด พักผ่อน ประจำปี พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ได้ รับ เงินบำเหน็จ จาก จำเลย แล้ว ซึ่ง ถือว่า เป็น การ จ่าย เงินชดเชย ตาม กฎหมาย เกี่ยวกับ แรงงาน ดังนั้น โจทก์จึง ไม่ มี สิทธิ เรียก ค่าชดเชย จาก จำเลย อีก จำเลย ได้ แจ้ง เป็นหนังสือ ให้ โจทก์ หยุด พักผ่อน ประจำปี เสียก่อน ที่ โจทก์ จะเกษียณอายุ แต่ โจทก์ สมัครใจ มา ทำงาน เอง โดย จำเลย ไม่ ได้ สั่งโจทก์ จึง ไม่ มี สิทธิ เรียก ค่าจ้าง สำหรับ วันหยุด พักผ่อน ประจำปี ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย พร้อมด้วย ดอกเบี้ยคำขอ อื่น ให้ ยก
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า โจทก์ จะ ครบ เกษียณอายุ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2528 ครั้น วันที่ 10 มิถุนายน 2528 ก่อน โจทก์ ครบเกษียณอายุ 3 เดือน 21 วัน จำเลย ก็ มี หนังสือ ตาม เอกสาร หมายเลข 6ท้าย คำให้การ ถึง โจทก์ แจ้ง ว่า หาก โจทก์ มี วันหยุด พักผ่อน ประจำปีเหลือ อยู่ เท่าใด ก็ ให้ ขออนุญาต หยุด เสียก่อน ที่ โจทก์ จะเกษียณอายุ กรณี ดังกล่าว นี้ ย่อม ถือ ได้ ว่า จำเลย ผู้ เป็น นายจ้างได้ กำหนด วันหยุด พักผ่อน ประจำปี ล่วงหน้า ให้ แก่ โจทก์ ผู้ เป็นลูกจ้าง ต้อง ตาม ประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลง วันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 10 แล้ว เป็น การ กำหนด ช่วง ระยะ เวลาให้ โจทก์ เลือก วันหยุด เอาเอง เพื่อ ความ สะดวก แก่ โจทก์ ได้ ชื่อว่า จำเลย ปฏิบัติ ตาม กฎหมาย ว่า ด้วย การ คุ้มครองแรงงาน แล้ว เมื่อโจทก์ ไม่ ยอม หยุด เอง จำเลย จึง ไม่ ต้อง จ่าย ค่าจ้าง สำหรับ วันหยุดพักผ่อน ประจำปี แก่ โจทก์ กรณี เทียบเคียง ได้ ตาม คำพิพากษา ศาลฎีกาที่ 1468/2525 คดี ระหว่าง นาง ชุลีวรรณ เลิศสุทธิรักษ์ โจทก์ บริษัทอัลลายนิวสเปเปอร์ จำกัด จำเลย
พิพากษา ยืน.