คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2264/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ทรัพย์มรดกเป็นที่ดินมือเปล่าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้โจทก์โดยข้อกำหนดในพินัยกรรมระบุว่าให้พินัยกรรมมีผลเมื่อภริยาของเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วระหว่างที่โจทก์เป็นผู้เยาว์ให้จำเลยเก็บผลประโยชน์จากทรัพย์มรดกดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายอุปการะเลี้ยงดูโจทก์โจทก์ทราบข้อความในพินัยกรรมตั้งแต่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่หลังจากเจ้ามรดกตายแล้วแต่ในระหว่างที่ภริยาของเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่นั้นโจทก์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วได้แสดงเจตนาสละสิทธิในทรัพย์มรดกเมื่อภริยาของเจ้ามรดกถึงแก่กรรมจำเลยก็ได้ครอบครองทรัพย์มรดกอย่างเป็นเจ้าของนับแต่นั้นเป็นต้นมาดังนี้ทรัพย์มรดกจึงตกเป็นของจำเลยแล้วโจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกและเงินผลประโยชน์อันเกิดจากทรัพย์มรดกจากจำเลยไม่ได้.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า นาย เงิน ภักดีโชติ เจ้ามรดกทำ พินัยกรรม ยก ที่ดิน ให้ โจทก์ โดย ให้ มี ผล เมื่อ นาง เนี่ยมภักดีโชติ ภริยา ของ เจ้ามรดก ถึงแก่กรรม แล้ว ระหว่าง ที่ โจทก์ เป็นผู้เยาว์ ให้ จำเลย เก็บ ผลประโยชน์ จาก ที่ดิน ดังกล่าว เป็นค่าใช้จ่าย อุปการะ เลี้ยงดู โจทก์ เจ้ามรดก ถึงแก่กรรม ไป เมื่อ ประมาณ 18 ปี ก่อน ฟ้อง ส่วน ภริยา เจ้ามรดก ถึงแก่กรรม เมื่อ วันที่ 4ธันวาคม 2524 โจทก์ ทราบ ข้อความ ใน พินัยกรรม เมื่อ วันที่ 26 มกราคม2525 จำเลย ครอบครอง ที่ดิน ของ โจทก์ ตาม พินัยกรรม แทน โจทก์ ตั้งแต่ภริยา เจ้ามรดก ถึงแก่กรรม ตลอด มา จน ถึง วันฟ้อง จำเลย รับ ผลประโยชน์จาก ที่ดิน มรดก นับ แต่ พ.ศ. 2517 ซึ่ง เป็น เวลา ที่ โจทก์ บรรลุนิติภาวะ แล้ว คิด ถึง วัน ฟ้อง เป็น เวลา 8 ปี รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น56,000 บาท จำเลย ไม่ ยอม ส่งมอบ ที่ดิน พร้อม เงิน ผลประโยชน์ ให้โจทก์ ขอ ให้ ศาล พิพากษา ว่า ที่ดิน มรดก เป็น ของ โจทก์ ให้ จำเลยส่งมอบ แก่ โจทก์ พร้อม เงิน ผลประโยชน์ 56,000 บาท ห้าม จำเลยเกี่ยวข้อง อีก ต่อไป
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ทราบ ข้อความ ใน พินัยกรรม ที่ นาย เงินภักดีโชติ ทำ ไว้ ตั้งแต่ ผู้ ทำ ยัง มี ชีวิต อยู่ ต่อมา พ.ศ. 2517โจทก์ ซึ่ง บรรลุนิติภาวะ แล้ว ได้ ขาย ที่ดิน ที่ จะ ได้ ตาม พินัยกรรมให้ จำเลย จำเลย จึง ครอบครอง อย่าง เป็น เจ้าของ ด้วย ความสงบ และเปิดเผย ตลอด มา คดี โจทก์ ขาด อายุความ แล้ว ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ประเด็น ที่ โจทก์ ฎีกา เป็น ข้อแรก คือ จำเลยครอบครอง ที่ พิพาท แทน โจทก์ มา จน ถึง วันฟ้อง หรือไม่ โจทก์ มีตัวเอง ยืนยัน ว่า เพิ่ง รู้ ว่า มี สิทธิ ได้ รับ ที่ พิพาท ตามพินัยกรรม จาก นาย ฉอน ภักดีโชติ เมื่อ ก่อน เบิกความ ประมาณ 1 ปีคือ พ.ศ. 2525 เมื่อ ไป เปิด พินัยกรรม ทราบ ข้อความ แล้ว ก็ มา ขอ ให้จำเลย โอน ที่ พิพาท ให้ โดย ไม่ เคย ขาย ให้ จำเลย ส่วน นาย ฉอนภักดีโชติ พยานโจทก์ ซึ่ง เป็น น้า โจทก์ เป็น หลาน เจ้ามรดก เป็น พยานใน พินัยกรรม และ เป็น ผู้จัดการ มรดก ราย นี้ ยืนยัน ว่า เจ้ามรดกไม่ ได้ ปิดบัง ได้ บอก ข้อความ ใน พินัยกรรม ให้ โจทก์ ทราบ แล้ว พยานเอง ก็ เคย บอก โจทก์ ตั้งแต่ เจ้ามรดก ยัง ไม่ ถึงแก่กรรม หลัง งานศพนาง เนี่ยม ภรรยา เจ้ามรดก แล้ว พยาน กับ โจทก์ และ นาย พัว ภักดีโชติร่วมกัน เปิด พินัยกรรม พยาน จะ แบ่ง มรดก จำเลย มา อ้าง ว่า ที่ พิพาทอัน เป็น ส่วน ของ โจทก์ นั้น โจทก์ ขาย ให้ จำเลย แล้ว นาย พัวภักดีโชติ กับ นาง พริ้ง ทวีศักดิ์ ซึ่ง รู้ตัว ว่า มี สิทธิ ได้ รับที่ดิน จาก พินัยกรรม นั้น ได้ ขาย ที่ดิน ของ ตน ให้ คนอื่น ไป ก่อนนาง เนี่ยม จะ ถึงแก่กรรม อัน จะ ทำ ให้ พินัยกรรม มี ผล บังคับ ใช้แล้ว ผู้ซื้อ ก็ ขอ ออก น.ส.3 ก. ใน ที่ดิน ที่ ซื้อ พร้อมๆ กับ นายเขียบ ไชยภักดี สามี จำเลย ซึ่ง ออก น.ส.3 ก. ใน ที่ พิพาท นาย พัวภักดีโชติ พยานโจทก์ เช่นกัน ยืนยัน ว่า ทราบ ถึง ข้อความ ใน พินัยกรรมจาก นาง เนี่ยม มา ก่อน แล้ว ว่า มี สิทธิ รับ ที่ดิน ตาม พินัยกรรมนั้น และ ได้ ขาย ที่ดิน นั้น ให้ นาย ทวน ก่อน พินัยกรรม มี ผล บังคับคือ ก่อน นาง เนี่ยม ถึงแก่กรรม ส่วน นาง พริ้ง ขาย ที่ดิน ส่วน ของ ตนให้ นาย ชม นาย ทวน ออก น.ส.3 ก. ใน ที่ดิน ที่ ซื้อ แล้ว สำหรับ นายกลิ้ง วรรณบวร พยานโจทก์ อีก ปาก หนึ่ง เบิกความ ว่า นาง เนี่ยมถึงแก่กรรม เมื่อ 10 ปี ก่อน เบิกความ พยาน เบิกความ พ.ศ. 2526 จึงหมายความ ว่า นาง เนี่ยม ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2516 ซึ่ง ขัด กับ คำฟ้องและ ความจริง ตาม ทะเบียนบ้าน เอกสาร หมาย ล.2 ซึ่ง ระบุ ว่า นาง เนี่ยมถึงแก่กรรม พ.ศ. 2524 และ พยาน ปาก นี้ เบิกความ แต่ เพียง ว่า เข้าใจว่า จำเลย จะ ครอบครอง ที่ พิพาท แทน โจทก์ พยาน ปาก นี้ จึง ไม่ มีน้ำหนัก ดังนี้ จะ เห็น ว่า ตัว โจทก์ เบิกความ ขัดแย้ง กับ นาย ฉอนใน เรื่อง ที่ ว่า โจทก์ รู้ ถึง สิทธิ รับ มรดก ตาม พินัยกรรม มา ก่อนหรือไม่ โดย โจทก์ ว่า ไม่ รู้ มา ก่อน แต่ นาย ฉอน ว่า รู้ มา ก่อนซึ่ง น่าเชื่อ เพราะ มี นาย พัว ผู้ มี สิทธิ รับ มรดก ด้วย ผู้หนึ่งเบิกความ รับ ว่า รู้ มา ก่อน สนับสนุน นาย ฉอน และ ยัง ไป เจือสม กับทาง นำสืบ ของ จำเลย ที่ ว่า เจ้ามรดก บอก ข้อความ ใน พินัยกรรม ให้บุตร ทุกคน ทราบ แสดง ว่า โจทก์ ซ่อนเร้น ความจริง เป็น พิรุธ น่าสงสัยฉะนั้น ที่ โจทก์ เบิกความ ลอยๆ ว่า ไม่เคย ขาย ที่ พิพาท ให้ จำเลยจึง พลอย ขาด น้ำหนัก ไป ด้วย ตรงข้าม ฝ่าย จำเลย นำสืบ ตัว จำเลย ว่าก่อน นาง เนี่ยม ถึงแก่กรรม โจทก์ ซึ่ง บรรลุ นิติภาวะ แล้ว ขอ เงินจำเลย อีก 2,500 บาท หลังจาก ที่ จำเลย ให้ โจทก์ กู้ และ ออก เงิน ช่วยโจทก์ ใน กรณี ต่างๆ มา เป็น ระยะๆ รวม 16,500 บาท แล้ว โดย โจทก์ ยกที่ดิน พิพาท ทั้ง สอง แปลง ให้ จำเลย ไม่ เกี่ยวข้อง อีก ต่อไป จำเลยตกลง และ ทำ สัญญา กัน ไว้ โดย มี นาย เยื้อ วรรณบวร เป็น ผู้ เขียนนาย เขียบ สามี จำเลย จึง ทำ เรื่อง ขอ ออก น.ส.3 ก. ได้ ตาม เอกสารหมาย ล.3 และ ล.4 ซึ่ง เอกสาร ดังกล่าว ออก ให้ ใน ปี พ.ศ. 2520 ทำเรื่องราว มา แต่ พ.ศ. 2519 ตาม เอกสาร หมาย ล.5 เมื่อ เทียบ กับ เอกสารหมาย ล.1 คือ ทะเบียนบ้าน ของ จำเลย ซึ่ง ระบุ ปี เกิด ของ โจทก์ ไว้ว่า พ.ศ. 2497 ก็ เป็น ขณะ ที่ โจทก์ มี อายุ 22 ปี บรรลุนิติภาวะ แล้วจริง จำเลย มี นาย เขียบ สามี จำเลย เบิกความ สนับสนุน ว่า โจทก์ มาทำ สัญญา สละ ที่ พิพาท ให้ จำเลย โดย รับ เงิน ไป ทำ สัญญา กัน ไว้ โดยนาย เยื้อ วรรณบวร เป็น ผู้เขียน แล้ว พยาน นำ ที่ พิพาท ไป ขอ ออกน.ส.3 ก.ได้ ตาม เอกสาร หมาย ล.3 และ ล.4 จำเลย มี นาย เยื้อ ซึ่ง เป็นข้าราชการ สำนักงาน ป่าไม้เขต นครศรีธรรมราช และ ไม่ ปรากฏ สาเหตุ กับฝ่าย โจทก์ มา ยืนยัน ว่า ได้ เขียน สัญญา ดังกล่าว ให้ จริง เมื่อก่อน เบิกความ ประมาณ 6 – 7 ปี ซึ่ง พยาน ปาก นี้ เบิกความ ปี พ.ศ. 2526 หมายความ ว่า เขียน สัญญา ประมาณ ปี พ.ศ. 2519 – 2520 ตรง กับ พยานบุคคล และ เอกสาร คือ บันทึก การ สอบสวน สิทธิฯ ก่อน ออก น.ส.3 ก. ให้นาย เขียบ พยานหลักฐาน ของ จำเลย จึง มี น้ำหนัก ดีกว่า ของ โจทก์ ฟังได้ ว่า โจทก์ เจตนา สละสิทธิ ใน ที่ พิพาท ให้ จำเลย ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 และ เมื่อ นาง เนี่ยม ถึงแก่กรรม แล้ว จำเลย ก็ ได้ ครอบครอง อย่างเป็น เจ้าของ เอง นับแต่ นั้น เป็นต้น มา ที่ พิพาท จึง ตก เป็น ของจำเลย โจทก์ ไม่ มี สิทธิ ฟ้อง เรียก ที่ พิพาท และ เงิน ผลประโยชน์อัน เกิดจาก ที่ พิพาท จาก จำเลย ได้
พิพากษา ยืน.

Share