คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2263/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยทำหน้าที่ขับรถยนต์ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดใบอนุญาตขับขี่รถยนต์เพราะปฏิบัติผิดกฎจราจรต่อมาหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยกล่าวกับโจทก์ว่าหากไม่มีใบอนุญาตขับขี่ก็ไม่ต้องมาทำงานย่อมทำให้โจทก์เข้าใจว่านายจ้างสั่งให้โจทก์หยุดการทำงานไว้ก่อนจนกว่าจะได้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์กลับคืนมาเพราะไม่ปรากฏว่าจำเลยมีระเบียบข้อบังคับว่าผู้มีหน้าที่ขับรถยนต์จะต้องมาปฏิบัติหน้าที่อื่นในกรณีเช่นนี้ด้วยการที่โจทก์ไม่ได้มาทำงานในระหว่างวันดังกล่าวโดยมิได้ยื่นใบลาหรือติดต่อมายังจำเลยจึงมิใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ โดย โจทก์ ไม่มี ความผิด และไม่ได้ บอกกล่าว ล่วงหน้า ขอให้ บังคับ จำเลย จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า จำนวน 3,866 บาท และ ค่าชดเชย จำนวน 12,000 บาท แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ ศาลแรงงานกลางฟัง ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง จำเลย ทำ หน้าที่ ขับขี่ รถยนต์เมื่อ เดือน ตุลาคม 2536 โจทก์ ถูก เจ้าพนักงาน ตำรวจ ยึด ใบอนุญาตขับ รถยนต์ เพราะ ปฏิบัติ ผิด กฎจราจร ต่อมา วันที่ 4 พฤศจิกายน 2536นางสาว สุชาดา อนุกูล หุ้นส่วน ผู้จัดการ ของ จำเลย กล่าว กับ โจทก์ ว่า หาก ไม่มี ใบอนุญาต ขับขี่ ก็ ไม่ต้อง มา ทำงาน โจทก์ จึง หยุดงาน ไปตั้งแต่ วันที่ 5 ถึง 16 เดือน นั้น โดย ไม่มี การ ยื่น ใบลา หรือ ติดต่อ มายัง จำเลย แต่อย่างใด และ ฟัง ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ใน วันที่ 17 เดือนเดียว กัน มี ปัญหา วินิจฉัย ตาม อุทธรณ์ ข้อกฎหมาย ของ โจทก์ ว่า การ ที่โจทก์ ไม่มา ทำงาน ระหว่าง วันที่ 5 ถึง 16 พฤศจิกายน 2536 เป็น การละทิ้ง หน้าที่ เป็น เวลา สาม วันทำงาน ติดต่อ กัน ไม่ว่า จะ มี วันหยุด คั่นหรือไม่ ก็ ตาม โดย ไม่มี เหตุอันสมควร หรือไม่ เห็นว่า การ ที่ โจทก์ ทำหน้าที่ ขับ รถยนต์ เมื่อ นางสาว สุชาดา ซึ่ง เป็น นายจ้าง กล่าว ว่า หาก ไม่มี ใบอนุญาต ขับขี่ ก็ ไม่ต้อง มา ทำงาน นั้น ย่อม ทำให้ โจทก์ เข้าใจ ว่านายจ้าง สั่ง ให้ โจทก์ หยุด การ ทำงาน ไว้ ก่อน จนกว่า จะ ได้ ใบอนุญาต ขับขี่รถยนต์ กลับคืน มา เพราะ ไม่ปรากฏ ว่า จำเลย มี ระเบียบ ข้อบังคับ ว่า ผู้ มีหน้าที่ ขับขี่ รถยนต์ จะ ต้อง มา ปฏิบัติ หน้าที่ อื่น ใน กรณี เช่นนี้ ด้วยการ ที่ โจทก์ ไม่ได้ มา ทำงาน ใน ระหว่าง วัน ดังกล่าว จึง มิใช่ เป็น การละทิ้ง หน้าที่ โดย ไม่มี เหตุอันสมควร ดัง ที่ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัยอุทธรณ์ ของ โจทก์ ฟังขึ้น
ปัญหา ต่อไป มี ว่า จำเลย จะ ต้อง จ่ายเงิน ให้ โจทก์ ตาม ฟ้อง เพียงใดข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ว่า จำเลย จ้าง โจทก์ เมื่อ วันที่ 1 มิถุนายน2535 ได้รับ ค่าจ้าง ครั้งสุดท้าย เดือน ละ 4,000 บาท กำหนด จ่าย ค่าจ้างทุกวัน ที่ 1 และ 16 ของ เดือน ต่อมา วันที่ 17 พฤศจิกายน 2536 จำเลยเลิกจ้าง โจทก์ เมื่อ ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า การ ที่ โจทก์หยุดงาน ไป ใน ช่วง ระยะเวลา ดังกล่าว มิใช่ เป็น การ ละทิ้ง หน้าที่ โดยไม่มี เหตุสมควร ดังกล่าว แล้ว การ ที่ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ จึง เป็น การเลิกจ้าง โดย มิได้ มี ความผิด ต้อง จ่าย ค่าชดเชย ให้ โจทก์ เก้า สิบ วัน ของค่าจ้าง อัตรา สุดท้าย ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การ คุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46(2) แก้ไข เพิ่มเติม โดยข้อ 3 แห่ง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2536 และ ต้อง จ่าย สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 482เป็น เวลา 29 วัน ”
พิพากษากลับ ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย จำนวน 12,000 บาท สินจ้างแทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า 3,866 บาท แก่ โจทก์

Share