แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การนับอายุความการนับอายุความตามมาตรา 80 ในคดรเรื่องฉ้อโกงซึ่งการฟ้องต่อเนื่องมาจากคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งว่าทรัพย์ที่จำเลยเอามาเป็นประกันเงินกู้นั้นเป็นของผู้อื่นจริงหรือไม่นั้น ต้องเริ่มนับอายุความเมื่อคดีแพ่งนั้นถึงที่สุด
ย่อยาว
คดีนี้เดิมจำเลยยอมชำระหนี้ให้โจทก์ตามสัญญา แล้วไม่ปฏิบัติตามยอม โจทก์จึงนำยึดที่ดินแลเรือนซึ่งจำเลยได้เอาประกันไว้ ด.บิดาจำเลยร้องขัดทรัพย์ว่าทรัพย์รายนี้เป็นของตน ศาลไต่สวนคดีนี้เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๖ ด.แลจำเลยเบิกความว่าทรัพย์รายนี้เป็นของ ด.ไม่ใช่ของจำเลย ครั้นวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๖ ศาลพิพากษาชี้ขาดว่าทรัพย์รายพิพาทเป็นของ ด.ให้ถอนการยึดต่อมาวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๖ โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยฐานฉ้อโกงอ้างว่าจำเลยเพทุบายเอาทรัพย์ของผู้อื่นมาหลอกลวง เป็นประกันเงินกู้ ขอให้ลงโทษตาม ม.๓๐๔-๓๐๖
ศาลเดิมเห็นว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดแลผู้จักตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่วันที่ ๒ กันยายน ซึ่งเป็นวันที่พะยานเบิกความในชั้นขัดทรัพย์ฟ้องโจทก์เกิน ๓ เดือน คดีขาดอายุความ จึงให้ยกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าคดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ อ้างฎีกาที่ ๖๑๓/๒๔๗๐
ศาลฎีกาเห็นว่าเรื่องนี้จำต้องอาศัยมูลจากคดีอีกเรื่องหนึ่ง ว่าทรัพย์ที่จำเลยเอาไปเป็นประกันเงินกู้เป็นทรัพย์ของจำเลยหรือของ ด.จะถือว่าโจทก์ได้รู้เรื่องความผิดแลรู้จักตัวผู้กระทำผิดโดยคำเบิกความของพะยานไม่ได้ เพราะเป็นแต่เพียงหลักฐานซึ่งศาลจะฟังหรือไม่ฟังก็ได้ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รู้เรื่องความผิดแลรู้จักตัวผู้กระทำผิด เมื่อคดีขั้นขัดทรัพย์ถึงที่สุด คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ จึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
นข้อที่จะหลดพน