แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จำเลยที่2มีตำแหน่งเป็นสมุห์บัญชีของจำเลยที่1ย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าบุคคลธรรมดาการที่จำเลยที่2ไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอแล้วให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายเช็คคล้ายลายมือโจทก์ย่อมถือเป็นการยืนยันว่าลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายเช็คเป็นลายมือชื่อของโจทก์นั่นเองคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่2จึงเป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์หาใช่เกิดจากดุลพินิจในการพิจารณาพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนตามลำพังไม่การกระทำของจำเลยที่2จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่2ให้การต่อพนักงานสอบสวนโดยลงลายมือชื่อเป็นพยานพร้อมประทับตราของจำเลยที่1กำกับไว้และเบิกความตอบคำถามค้านรับว่าตนให้การในฐานะที่เป็นพนักงานของจำเลยที่1ซึ่งจำเลยที่1ก็มิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นคำให้การของจำเลยที่2ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำในตำแหน่ง หน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งและมอบหมายจากจำเลยที่1ฉะนั้นการที่จำเลยที่2ให้การต่อพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่1จำเลยที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยที่2รับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ด้วย การที่จำเลยที่2ได้ให้การเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนจนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาต้องถูกออกหมายจับและถูกควบคุมตัวย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่เสรีภาพและชื่อเสียงของโจทก์โดยตรงโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ถึงระยะเวลาที่โจทก์ถูกจับและถูกควบคุมตัวจนถึงได้รับการประกันตัวเป็นเวลาเพียงประมาณ5ถึง6ชั่วโมงประกอบกับหลังเกิดเหตุถูกจับแล้วโจทก์ซึ่งเป็นนักธุรกิจก็ยังได้รับการประกาศเกียรติคุณรางวัลเกียรติยศนักธุรกิจดีเด่นแสดงให้เห็นว่าการที่จำเลยที่2กระทำละเมิดต่อโจทก์นั้นมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงนักที่โจทก์ขอค่าเสียหายเกี่ยวกับการเสื่อมเสียเสรีภาพ1,000,000บาทและเกี่ยวกับชื่อเสียงอีก1,000,000บาทนั้นสูงเกินไปเห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายทั้งสองส่วนนี้ให้รวม300,000บาท
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน2,000,000 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า การ ที่ จำเลย ที่ 2 ให้การ ต่อ พนักงานสอบสวน เป็น เรื่องส่วนตัว ของ จำเลย ที่ 2 ไม่ใช่ เป็น การกระทำ ไป ใน ทางการที่ จ้าง ของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ทั้ง สอง ไม่เคย ทราบ ว่า โจทก์ ได้ ลาออก จากตำแหน่ง กรรมการ ผู้มีอำนาจ ของ บริษัท สยามแคสเติล จำกัด ทั้ง โจทก์ ไม่เคย แจ้ง ยกเลิก ตัวอย่าง ลายมือชื่อ หรือ แจ้ง เปลี่ยนแปลง ให้จำเลย ทั้ง สอง ทราบ จำเลย ที่ 2 ให้การ เพราะ เชื่อ โดยสุจริต ว่า โจทก์เป็น กรรมการ ผู้มีอำนาจ กระทำการ แทน บริษัท ดังกล่าว อำนาจ ใน การ สอบสวนดำเนินคดี แก่ โจทก์ เกี่ยวกับ ความผิด ต่อ พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิดอัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค เป็น ของ พนักงานสอบสวน โดยตรง จำเลย ที่ 2เป็น เพียง พยาน ประกอบ สำนวน การ สอบสวน เท่านั้น จำเลย ทั้ง สอง จึง ไม่ต้องรับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา ของ โจทก์ ใน ประการ แรก ว่า การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 เป็น การละเมิด ต่อ โจทก์ หรือไม่ โจทก์ มี พัน ตำรวจ ตรี วรกิจ ประภานนท์ และ พันตำรวจโท ปิยรัตน์ กลิ่นพันธุ์ ซึ่ง ขณะ เกิดเหตุ พัน ตำรวจ ตรี วรกิจ เป็น พนักงานสอบสวน ผู้สอบสวน ส่วน พันตำรวจโท ปิยรัตน์ เป็น พนักงานสอบสวน ผู้สั่ง ฟ้อง เกี่ยวกับ คดี ดังกล่าว เป็น พยาน เบิกความ ถึง ขั้นตอน การ สอบสวน จน ถึง มี การ ออกหมายจับ และสั่ง ฟ้องโจทก์ ว่า เมื่อ ผู้เสียหาย แจ้งความ ร้องทุกข์ ให้ ดำเนินคดีแก่ ผู้สั่งจ่าย ใน เช็ค ก็ ได้ สอบ คำให้การ ผู้แจ้งความ ไว้ ต่อมา จึงสอบ คำให้การ จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ สมุห์บัญชี ของ ธนาคาร ตามเช็ค(จำเลย ที่ 1) นั้น เมื่อ จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า ลายมือชื่อ ใน เช็คคล้าย ตัวอย่าง ลายมือชื่อ ของ โจทก์ ที่ ได้ ให้ ไว้ แก่ ธนาคาร และ เนื่องจากธนาคาร ตามเช็ค (จำเลย ที่ 1) ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน โดย ให้ เหตุผล ว่ามี คำสั่ง ให้ ระงับ การ จ่าย มิใช่ เป็น กรณี ปฏิเสธ ว่า ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย ไม่ เหมือน ตัวอย่าง ที่ ให้ ไว้ จึง ไม่จำต้อง ตรวจสอบ เอกสารเกี่ยวกับ ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย อีก เมื่อ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็นผู้ทำ หน้าที่ เกี่ยวกับ ลายมือชื่อ และ ตรวจสอบ ลายมือชื่อ ของ เช็คโดยเฉพาะ อยู่ แล้ว จึง เชื่อถือ ได้ เพียงพอ และ ได้ มี ความเห็น สั่ง ฟ้องคดีโดย เชื่อ ตาม คำให้การ ของ ผู้แจ้งความ ร้องทุกข์ ประกอบ กับ คำให้การของ จำเลย ที่ 2 เห็น ได้ว่า แม้ ผู้แจ้งความ ร้องทุกข์ จะ ระบุ ชื่อ ผู้ใดเป็น ผู้สั่งจ่าย เช็ค เพื่อ ดำเนินคดี นั้น ไว้ แล้ว ก็ ตาม แต่ ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย เช็ค ดังกล่าว เป็น ลายเซ็น ที่ ไม่อาจ อ่าน ออก ได้ว่าจะ ตรง ตาม ที่ ผู้แจ้งความ ได้ แจ้ง ไว้ หรือไม่ พนักงานสอบสวน จะ ต้องสอบสวน พยานหลักฐาน เพื่อ ยืนยัน ให้ แน่ชัด และ ผู้ที่ จะ ยืนยัน เกี่ยวกับลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย เช็ค ได้ นั้น ก็ คือ สมุห์บัญชี ธนาคาร ตามเช็ค ซึ่งเป็น ผู้ มี หน้าที่ ตรวจสอบ ลายมือชื่อ ของ ผู้สั่งจ่าย เช็ค โดยตรง และ แม้ตาม คำให้การ ของ จำเลย ที่ 2 ตาม สำเนา เอกสาร หมาย จ. 43 และ จ. 44จะ ระบุ แต่เพียง ว่า ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย ใน เช็ค ทั้ง สอง ฉบับ คล้าย กับตัวอย่าง ลายมือชื่อ ของ โจทก์ ที่ ให้ ไว้ แก่ จำเลย ที่ 1 ก็ ตาม แต่ โดยตำแหน่ง หน้าที่ ของ จำเลย ที่ 2 ดังกล่าว ย่อม ถือ เป็น การ ยืนยัน ว่าลายมือชื่อ ของ ผู้สั่งจ่าย เป็น ลายมือชื่อ ของ โจทก์ นั่นเอง คำให้การของ จำเลย ที่ 2 จึง เป็นเหตุ โดยตรง ที่ ทำให้ พนักงานสอบสวน ดำเนินคดีแก่ โจทก์ หาใช่ เกิดจาก ดุลพินิจ ใน การ พิจารณา พยานหลักฐาน ของพนักงานสอบสวน ตาม ลำพัง ไม่ ความ ข้อ นี้ พัน ตำรวจ ตรี วรกิจ เบิกความ ยืนยัน ว่า หาก จำเลย ที่ 2 ไม่ ยืนยัน ว่า ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่ายคล้าย กับ ลายมือชื่อ ของ โจทก์ แล้ว ก็ จะ ไม่ดำเนินคดี แก่ โจทก์ เมื่อจำเลย ที่ 2 ซึ่ง มี ตำแหน่ง เป็น สมุห์บัญชี ของ จำเลย ที่ 1 ย่อม มีความ ชำนาญ ใน การ ตรวจ พิสูจน์ ลายมือชื่อ ของ ลูกค้า มาก กว่า บุคคลธรรมดาหาก ใช้ ความระมัดระวัง ใน การปฏิบัติหน้าที่ ของ ตน โดย ละเอียด รอบคอบตรวจสอบ ลายมือชื่อ ตาม ควร ก็ จะ ต้อง ทราบ ว่า ลายมือชื่อ ที่ ลง ใน เช็คใน ฐานะ ผู้สั่งจ่าย ตาม เอกสาร หมาย จ. 41 และ จ. 42 มิใช่ เป็น ลายมือชื่อของ โจทก์ เพราะ ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย ใน เช็ค แตกต่าง จาก ตัวอย่างลายมือชื่อ ของ โจทก์ ที่ ให้ ไว้ แก่ จำเลย ที่ 1 อย่าง ชัดแจ้ง การ ที่จำเลย ที่ 2 ไม่ ใช้ ความระมัดระวัง ให้ เพียงพอ แล้ว ให้การ ต่อพนักงานสอบสวน ว่า ลายมือชื่อ ของ ผู้สั่งจ่าย เช็ค เอกสาร หมาย จ. 41และ จ. 42 คล้าย ลายมือชื่อ โจทก์ นั้น เป็น การกระทำ โดยประมาท เลินเล่อทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย แล้ว การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 จึง เป็นการ ละเมิด ต่อ โจทก์
ปัญหา ต่อไป มี ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ กระทำ ไป ใน ทางการที่จ้าง ของจำเลย ที่ 1 อัน จะ ทำให้ จำเลย ที่ 1 ต้อง ร่วม กับ จำเลย ที่ 2 รับผิดต่อ โจทก์ หรือไม่ โจทก์ มี พันตำรวจโท ปิยรัตน์ เป็น พยาน เบิกความ ว่า บันทึก คำให้การ ของ จำเลย ที่ 2 ตาม สำเนา เอกสาร หมาย จ. 43 และ จ. 44นั้น จำเลย ที่ 2 ได้ ลงลายมือชื่อ เป็น พยาน พร้อม ประทับตรา ของ จำเลย ที่ 1กำกับ ด้วย และ จำเลย ที่ 2 ก็ เบิกความ ตอบ โจทก์ ถาม ค้าน รับ ว่าการ ที่ จำเลย ที่ 2 ให้การ ต่อ พนักงานสอบสวน ตาม เอกสาร หมาย จ. 43และ จ. 44 โดย มี ตรา ของ ธนาคาร ประทับ นั้น เป็น การ ให้การ ใน ฐานะ ที่ เป็นพนักงาน ของ ธนาคาร ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ก็ มิได้ นำสืบ โต้แย้ง ให้ เห็นเป็น อย่างอื่น โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง จำเลย ที่ 2 เป็น พนักงานสอบสวนของ จำเลย ที่ 1 มี ตำแหน่ง เป็น สมุห์บัญชี ผู้ มี หน้าที่ ตรวจสอบลายมือชื่อ ของ ลูกค้า ที่ ลง ใน เช็ค ของ จำเลย ที่ 1 โดยตรง ฉะนั้นคำให้การ ของ จำเลย ที่ 2 ดังกล่าว จึง เป็น การกระทำ ใน ตำแหน่ง หน้าที่ที่ ได้รับ แต่งตั้ง และ มอบหมาย จาก จำเลย ที่ 1 นั่นเอง การ ที่ จำเลย ที่ 2ให้การ ต่อ พนักงานสอบสวน ตาม เอกสาร หมาย จ. 43 และ จ. 44 จึง เป็นการกระทำ ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 จึง ต้อง ร่วม กับจำเลย ที่ 2 รับผิด ใน ความเสียหาย ต่อ โจทก์ ด้วย
มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย เป็น ประการ สุดท้าย ว่า โจทก์ ควร ได้รับค่าเสียหาย เพียงใด ส่วน ความเสียหาย ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ เสรีภาพและ ชื่อเสียง ที่ ถูกจับ กุม ดำเนินคดี นั้น เห็นว่า การ ที่ จำเลย ที่ 2ได้ ให้การ เป็น พยาน ต่อ พนักงานสอบสวน เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ถูก ดำเนินคดีอาญา ต้อง ถูก ออกหมายจับ และ ถูก ควบคุม ตัว ย่อม ก่อ ให้ เกิด ความเสียหายแก่ เสรีภาพ และ ชื่อเสียง ของ โจทก์ โดยตรง โจทก์ ย่อม มีสิทธิ ได้รับ การชดใช้ ค่าเสียหาย ใน ส่วน นี้ แต่เมื่อ พิเคราะห์ ถึง ระยะเวลา ที่ โจทก์ถูกจับ และ ถูก ควบคุม ตัว ตั้งแต่ เวลา 18.30 นาฬิกา อยู่ ถึง เวลา24 นาฬิกา จึง ได้รับ การ ประกันตัว เป็น เวลา เพียง ประมาณ 5 ถึง6 ชั่วโมง และ การ ที่ โจทก์ เป็น นัก ธุรกิจ ดำเนิน กิจการ ค้า ใน นาม ของ ยาจินิกุไดโดมอน แม้ เกิดเหตุ ถูกจับ แล้ว โจทก์ ก็ ยัง ได้รับ การ ประกาศ เกียรติคุณ รางวัล เกียรติยศ นัก ธุรกิจ ดี เด่นใน ปี 2532 และ 2533ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย จ. 22 อัน แสดง ว่าการ ที่ จำเลย ที่ 2 กระทำ ละเมิดต่อ โจทก์ ดังกล่าว มิได้ ก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย ร้ายแรง นัก ที่ โจทก์ขอ ค่าเสียหาย เกี่ยวกับ การ เสื่อมเสีย เสรีภาพ 1,000,000 บาท และเกี่ยวกับ ชื่อเสียง อีก 1,000,000 บาท นั้น สูง เกิน ไป ศาลฎีกาเห็นสมควร กำหนด ค่าเสียหาย ทั้ง สอง ส่วน นี้ ให้ รวม 300,000 บาทที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์และ พิพากษายก ฟ้อง นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของโจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย 300,000บาท แก่ โจทก์ คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก