คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2496

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การที่จำเลยเคยต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษามาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ครั้งนั้น ตาม พ.ร.บ.กักกันฯ พ.ศ.2479 หาได้
บัญญัติไว้ว่ากระทำแต่เมื่อใด และพ้นโทษมาแล้วนานเท่าใด แต่ได้ถือเอาความผิดที่จำเลยกระทำครั้งที่ฟ้องเป็น
หลักสำคัญ ส่วนความผิดในครั้งก่อน ๆ เพียงแต่เป็นเหตุเพื่อเพิ่มโทษกักกันอีกโสดหนึ่งเท่านั้น ฉะนั้นแม้จำเลยจะ
พ้นโทษครั้งสุดท้ายมาถึง 20 ปีแล้ว ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ศาลอาจจะเพิ่มโทษกักกันได้.
โทษกักกัน แม้จะมีถึง 10 ปี ก็ไม่ใช่เป็นคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป, จึงไม่เข้าอยู่ตาม ป.ม.วิ.อาญา
มาตาา 176.

ย่อยาว

คดีนี้ ศษลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๒๕๖ จำคุก ๓ ปี ลดตามมาตรา ๕๙ กึ่งหนึ่ง คงจำคุก
๑ ปี ๖ เดือน เมื่อพ้นโทษแล้วให้ส่งตัวไปกักกันมีกำหนดสามปีตามมาตรา ๘ — ๙ พ.ร.บ.กักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ.
๒๔๗๙
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน.
จำเลยฎีกาเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ศาลฎีกาปรึกษาคดีแล้ว จำเลยต้องโทษมาแล้ว ๒ ครั้ง ๆ แรกฐานลักทรัพย์จำคุก ๔ เดือน พ้นโทษ ๖ สิงหาคม ๒๔๖๐ ครั้ง
ที่สองฐานปล้นทรัพย์จำคุก ๖ ปี ๑๔ วัน พ้นโทษ ๔ พฤศจิกายน ๒๔๗๒ เห็นว่าแม้โทษ ๒ ครั้งก่อน จำเลยกระทำมาก่อนวัน
ใช้ พ.ร.บ.กักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ. ๒๔๗๙ และพ้นโทษครั้งสุดท้ายมาจนถึงวันกระทำผิดคดีนี้ ๒๐ ปีเศษแล้วก็ดี
ก็หาเป็นการขาดอายุความหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญดังตจำเลยฎีกาไม่ เพราะตาม พ.ร.บ.กักกันฯ การที่จำเลยต้องโทษจำคุก
ตามคำพิพากษามาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ครั้งนั้น หาได้บัญญัติไม่ว่ากระทำผิดแต่เมื่อใด และพ้นโทษมาแล้วนานเท่าใด
แม้จะพ้นโทษครั้งสุดท้ายมาถึง ๒๐ ปี ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ศาลอาจจะเพิ่มโทษกักกันได้ อนึ่งตาม พ.ร.บ.กักกันฯ ถือเอา
ความผิดที่จำเลยกระทำในคดีที่ฟ้องเป็นหลักสำคัญ ส่วนความผิดในครั้งก่อน ๆ เพียงแต่เป็นเหตุเพื่อเพิ่มโทษกักกันอีก
โสดหนึ่งเท่านั้น และคดีนี้ก็หาเข้าอยู่ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา ๑๗๖ ไม่ เพราะไม่ใช่เป็นคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่
๑๐ ปีขึ้นไป
จึงพิพากษายืน.

Share