คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189/2532

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใด เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอื่นจนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่นั้นจะต้อง พิจารณาส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าทั้งหมดรวมกันโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสินค้าจำพวกน้ำยาฆ่ายางตรา วัวแดงส่วนของจำเลยใช้ เครื่องหมายการค้าตรา แพะแดง แม้สลากของจำเลยจะระบุชื่อ ร้านค้าและจังหวัดที่ผลิตสินค้าของจำเลยต่างกับของโจทก์แต่ การประดิษฐ์รูปแพะแดง ของจำเลยให้มีโหนกมีเขายาว หางยาวคล้ายวัวแดง ซึ่ง ทำให้ประชาชนเกิดการสับสนยากที่จะแยกแยะได้ว่าเครื่องหมายใด เป็นที่หมายแห่งสินค้าของโจทก์หรือจำเลย ทั้งข้อความที่แตกต่าง เป็นข้อความเพียงสั้น ๆ ปนอยู่กับข้อความอื่นทั้งหมดในสลากซึ่ง เหมือนกับข้อความในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกตัวอักษรทั้งลักษณะและขนาด กรณีถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว ในคดีเครื่องหมายการค้า ศาลจะพิพากษาให้นายทะเบียนจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม คำขอของโจทก์ไม่ได้ เพราะเป็นการบังคับบุคคลที่มิได้เป็นคู่ความในคดีและโจทก์ก็สามารถไปขอจดทะเบียนได้เองอยู่แล้ว.

Share