คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่ายังไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินขณะทำ สัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์โดยโจทก์ทั้งสี่มิได้ร่วมรู้ด้วยวัตถุประสงค์ของสัญญาหาได้ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่จึงไม่เป็นโมฆะแต่เมื่อโจทก์ทั้งสี่รู้ว่าจำเลยจัดสรรที่ดินโดยมิได้รับใบอนุญาตซึ่งขณะนั้นจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อจะขายให้ได้ถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่โจทก์ทั้งสี่ไม่ต้องรับผิดชอบการที่โจทก์ทั้งสี่ไม่ยอมชำระเงินงวดต่อๆมาอีกจึงหาเป็นผู้ผิดนัดไม่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาโดยเหตุดังกล่าวไม่ได้แต่เมื่อต่อมาโจทก์ทั้งสี่ได้ บอกเลิกสัญญาและทวงเงินที่ได้ชำระไว้แล้วคืนจำเลยก็มิได้โต้แย้งกลับบอกปัดว่าได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ทั้งสี่แล้วถือว่าคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายและต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้วพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ พิพากษา ว่า สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดิน ตาม สำเนาท้ายฟ้อง เป็น โมฆะ ให้ จำเลย คืนเงิน 1,722,800 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่โจทก์ ทั้ง สี่
จำเลย ให้การ ว่า สัญญาจะซื้อจะขาย ระหว่าง โจทก์ ทั้ง สี่ กับ จำเลยไม่เป็น โมฆะ โจทก์ ทั้ง สี่ ไม่มี อำนาจ เรียกเงิน ที่ ได้ ชำระ แล้ว คืนเพราะ โจทก์ ทั้ง สี่ เป็น ฝ่าย ผิดนัด ไม่ชำระ ราคา ค่าที่ดิน ตาม สัญญาขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สี่ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ จำเลย คืนเงิน 1,722,800 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระเสร็จ แก่ โจทก์ ทั้ง สี่
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ที่ โจทก์ ทั้ง สี่ และ จำเลย มิได้โต้เถียง กัน รับฟัง เป็น ยุติ ได้ว่า เมื่อ วันที่ 10 สิงหาคม 2533โจทก์ ทั้ง สี่ ได้ ทำ สัญญา จะซื้อ ที่ดิน จาก จำเลย คน ละ 1 แปลง รวม 4 แปลงคือ ที่ดินพิพาท รวมเป็น เงิน 10,767,500 บาท โดย ชำระ เงิน เป็น งวด ๆและ จะ ชำระ เงิน ส่วน ที่ เหลือ ภายใน วันที่ 17 พฤษภาคม 2534 แล้ว จำเลยจะ นัด โจทก์ ทั้ง สี่ ไป ทำการ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน เป็นหนังสือ ล่วงหน้า อย่างน้อย 15 วัน ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย เอกสาร หมาย จ. 1ถึง จ. 4 โจทก์ ทั้ง สี่ ได้ ชำระ เงิน ค่าที่ดิน 4 งวด เป็น เงิน 1,722,800บาท แล้ว ไม่ชำระ เงิน อีก เพราะ เพิ่ง ทราบ ว่า จำเลย ยัง ไม่ได้ รับ ใบอนุญาตให้ ทำการ จัดสรร ที่ดินพิพาท ส่วน จำเลย ได้ ยื่น คำขอ อนุญาต ทำการ จัดสรรที่ดิน ที่พิพาท เมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2533 ตาม คำขอ อนุญาต เอกสาร หมายล. 1 ซึ่ง คณะกรรมการ ควบคุม การ จัดสรร ที่ดิน ได้ อนุญาต ให้ ทำการ จัดสรรโดย มี เงื่อนไข เมื่อ วันที่ 10 ตุลาคม 2533 ตาม หนังสือ แจ้ง การ อนุญาตเอกสาร หมาย ล. 2 และ ต่อมา วันที่ 9 ตุลาคม 2534 ก็ ได้รับ ใบอนุญาตให้ ทำการ จัดสรร ที่ดินพิพาท แล้ว ตาม ใบอนุญาต เอกสาร หมาย ล. 3เมื่อ โจทก์ ทั้ง สี่ ไม่ชำระ ราคา ที่ดินพิพาท ตาม เวลา ที่ กำหนด ในสัญญาจะซื้อจะขาย 3 งวด ติด กัน จำเลย จึง แจ้ง ให้ ชำระ เงิน และ บอกเลิกสัญญา ตาม เอกสาร หมาย ล. 6 ถึง ล. 8 หลังจาก นั้น โจทก์ ทั้ง สี่ ก็ ได้บอกเลิก สัญญา ต่อ จำเลย และ ทวง เงิน ที่ ได้ ชำระ ไป แล้ว คืน ตามเอกสาร หมาย จ. 5
มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ว่า สัญญาจะซื้อจะขาย ตาม เอกสาร หมาย จ. 1ถึง จ. 4 เป็น โมฆะ หรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า ขณะ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ดังกล่าว จำเลย แต่ ฝ่ายเดียว รู้ ถึง การกระทำ ของ ตน ว่ายัง ไม่ได้ รับ ใบอนุญาต ให้ ทำการ จัดสรร ที่ดิน อันเป็น การ ฝ่าฝืน หรือต้องห้าม ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 เรื่อง ควบคุม การ จัดสรรที่ดิน ข้อ 10 ที่ ห้าม มิให้ ผู้ใด ทำการ จัดสรร ที่ดิน เว้นแต่ จะ ได้รับใบอนุญาต จาก คณะกรรมการ โดย อีกฝ่าย หนึ่ง คือ โจทก์ ทั้ง สี่ มิได้ร่วม รู้ ใน วัตถุประสงค์ ซึ่ง เป็น ประโยชน์ อันเป็น ผล สุดท้าย ที่ ทั้ง สองฝ่าย ต้องการ วัตถุประสงค์ ของ สัญญาจะซื้อจะขาย ตาม ฟ้อง จึง หา ได้ต้องห้าม ชัดแจ้ง โดย กฎหมาย ไม่ สัญญาจะซื้อจะขาย ตาม เอกสาร หมาย จ. 1ถึง จ. 4 ย่อม ไม่เป็น โมฆะ ฎีกา ของ จำเลย ใน ข้อ นี้ ฟังขึ้น
มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ต่อไป ว่า โจทก์ ทั้ง สี่ มีสิทธิ เรียก ให้ จำเลยคืนเงิน ที่ ได้ ชำระ ไป แล้ว หรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า เมื่อ โจทก์ทั้ง สี่ รู้ ถึง ข้อเท็จจริง ที่ ว่า จำเลย จัดสรร ที่ดิน โดย มิได้ รับใบอนุญาต ให้ ทำการ จัดสรร ที่ดิน อันเป็น การ ต้องห้าม ตาม กฎหมาย ซึ่งใน ขณะ นั้น จำเลย อยู่ ใน ฐานะ ที่ ไม่สามารถ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทตาม สัญญาจะซื้อจะขาย ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สี่ ได้ ย่อม ถือได้ว่า เป็นพฤติการณ์ ที่ เกิดขึ้น โดย โจทก์ ทั้ง สี่ ไม่ต้อง รับผิดชอบ ดังนั้นการ ที่ โจทก์ ทั้ง สี่ ไม่ยอม ชำระ เงิน งวด ต่อ ๆ มา อีก โจทก์ ทั้ง สี่หา ได้ ชื่อ ว่า เป็น ผู้ผิดนัด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 205ไม่ จำเลย จึง บอกเลิก สัญญา โดย อาศัย เหตุ ดังกล่าว หาได้ไม่แต่ อย่างไร ก็ ดี ต่อมา โจทก์ ทั้ง สี่ ได้ บอกเลิก สัญญา และ ทวง เงิน ที่ ได้ชำระ ไว้ แล้ว คืน จำเลย ก็ มิได้ โต้แย้ง แสดง ความ ประสงค์ ให้ โจทก์ ทั้ง สี่ปฏิบัติ ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย ต่อไป กลับ บอกปัด ชัดแจ้ง ว่า ได้ บอกเลิกสัญญา ต่อ โจทก์ ทั้ง สี่ แล้ว พฤติการณ์ ดังกล่าว ถือได้ว่า โจทก์ ทั้ง สี่และ จำเลย ได้ ตกลง เลิกสัญญา กัน โดย ปริยาย โจทก์ ทั้ง สี่ และ จำเลยต้อง กลับคืน สู่ ฐานะ ดัง ที่ เป็น อยู่ เดิม ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์ ทั้ง สี่ จึง มีสิทธิ เรียกให้ จำเลย คืนเงิน 1,722,800 บาท ที่ ได้ ชำระ ไป แล้ว ศาลฎีกา เห็นพ้องด้วย กับ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ใน ส่วน นี้ ฎีกา ของ จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้นส่วน ปัญหา เรื่อง อัตรา ดอกเบี้ย นั้น เมื่อ เป็น เงิน ที่ จำเลย จะ ต้อง ใช้ คืนให้ บวก ดอกเบี้ย เข้า ด้วย และ เป็น กรณี ที่ มิได้ กำหนด อัตรา ดอกเบี้ย ไว้โดย นิติกรรม หรือ โดย บท กฎหมาย อัน ชัดแจ้ง ให้ ใช้ อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสอง และ มาตรา 7โจทก์ ทั้ง สี่ จึง เรียก ได้ เพียง อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จะ เรียกอัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี หาได้ไม่ เพราะ โจทก์ ทั้ง สี่ มิได้ นำสืบ ถึง สิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหาย ว่า เสียหาย อย่างไร เท่าใด ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้องด้วย กับ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ใน ส่วน นี้ ฎีกา ของ จำเลย ใน ส่วน นี้ ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สี่ ด้วยนอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share