คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2166/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่ผู้เสียหายยอมรับเช็คจำนวน25ฉบับจากจำเลยที่1แทนเช็คพิพาทแม้ในขณะรับเช็คดังกล่าวผู้เสียหายยังไม่คืนเช็คพิพาทแก่จำเลยแต่มีการทำบันทึกไว้ว่า”เช็คชุดเก่ายังไม่ได้คืน”ทั้งปรากฏว่าผู้เสียหายได้นำเช็คที่จำเลยออกให้ใหม่บางฉบับที่ถึงกำหนดไปเรียกเก็บเงินแสดงว่าผู้เสียหายเจตนาเข้าถือสิทธิตามเช็คดังกล่าวแล้วย่อมเป็นการสละสิทธิในเช็คพิพาทรวมทั้งสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยถือได้ว่าเป็นการ ยอมความ สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมเป็นอันระงับสิ้นไป

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ออก เช็ค โดย เจตนา ไม่ให้มี การ ใช้ เงิน ตามเช็ค ขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิดอัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 5 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 และ 91
จำเลย ที่ 2 ให้การ ปฏิเสธ
ระหว่าง พิจารณา ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง เพิกถอน คำสั่ง รับฟ้องจำเลย ที่ 1 เป็น ไม่รับฟ้อง จำเลย ที่ 1
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 2 มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 5 เรียงกระทง ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ลงโทษ จำคุก กระทง ละ2 เดือน จำเลย ที่ 2 กระทำ ความผิด 2 กระทง รวม ลงโทษ จำเลย ที่ 2มี กำหนด 14 เดือน
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ เป็น ยุติ ว่า จำเลยที่ 2 ออก เช็ค ตาม ฟ้อง จำนวน 7 ฉบับ ใน นาม ของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. อุดมพาร์ทเซ็นเตอร์ จำเลย ที่ 1 มอบ ให้ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ผู้เสียหาย เพื่อ เป็น การ ชำระหนี้ ค่าสินค้า ประเภท น้ำมันหล่อลื่น ต่อมา เมื่อ เช็ค แต่ละ ฉบับ ถึง กำหนดใช้ เงิน แล้ว ผู้เสียหาย ได้ นำเข้า บัญชี ธนาคาร เพื่อ เรียกเก็บเงินแต่ ธนาคาร ตามเช็ค ได้ ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน โดย ให้ เหตุผล ว่า ยัง รอ เรียกเก็บ เงิน อยู่ โปรด นำ มา ยื่น ใหม่ ปรากฏ ตามเช็ค เอกสาร หมาย จ. 1, จ. 3,จ. 6, จ. 10, จ. 14, จ. 17 และ จ. 20 และ ใบ คืน เช็ค เอกสาร หมาย จ. 2,จ. 4, จ. 7, จ. 11, จ. 15, จ. 18 และ จ. 21 ตามลำดับ ผู้เสียหาย นำ เช็คและ ใบ คืน เช็ค ไป ร้องทุกข์ เมื่อ วันที่ 6 กันยายน 2534 ปรากฏ ตามเอกสาร หมาย จ. 24 ต่อมา วันที่ 11 ตุลาคม 2534 จำเลย ที่ 1 ได้ มอบเช็ค ธนาคาร กสิกรไทย สาขา บางยี่ขัน ให้ แก่ ผู้เสียหาย จำนวน 10 ฉบับ และ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2534 มอบ เช็ค ธนาคาร ศรีนคร จำกัด สาขา สามแยกไฟฉาย ให้ แก่ ผู้เสียหาย อีก 15 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 25 ฉบับ เช็ค ทุก ฉบับ มี นาง จงจิตต์ เจริญศุภผลทวี เป็น ผู้สั่งจ่าย รายละเอียด ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย ล. 1, ล. 2 ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา ของ โจทก์ มี ว่า ได้ มี การ ยอมความ กัน ทำให้ สิทธิ นำ คดีอาญามา ฟ้อง ระงับ ไป แล้ว หรือไม่ โจทก์ อ้างว่า กรณี นี้ ยัง ไม่มี การประนีประนอม ยอมความ กัน ทางอาญา ผู้เสียหาย เพียงแต่ รับ เช็ค ใหม่ทั้ง 25 ฉบับ ที่ จำเลย ที่ 1 มอบ ให้ เพื่อ รอ เรียกเก็บเงิน เท่านั้นหาก เรียกเก็บเงิน ไม่ได้ ทั้งหมด เช็คพิพาท ทั้ง 7 ฉบับ ผู้เสียหายก็ จะ ไม่คืน ให้ จึง ถือไม่ได้ว่า มี การ ยอมความ แล้ว เห็นว่า นาย ชาญ สรรพศรี พยานโจทก์ ผู้ที่ รับมอบ เช็ค จำนวน 25 ฉบับ เบิกความ ว่า ห้าง จำเลย ที่ 1 เคย ผ่อนผัน การ ชำระหนี้ ตามเช็ค พิพาท ทั้ง 7 ฉบับให้ แก่ บริษัท ผู้เสียหาย ใหม่ โดย จ่าย เช็ค ให้ รวม 25 ฉบับ รวม ยอดเงินตามเช็ค 871,069 บาท (ที่ ถูก คือ 871,249 บาท ) ส่วน ที่ เกิน ต้นเงินตามเช็ค พิพาท 7 ฉบับ เป็น ค่า ดอกเบี้ย เห็น ได้ว่า ยอดเงิน รวมตามเช็ค พิพาท ทั้ง 7 ฉบับ น้อยกว่า ยอดเงิน รวม ตามเช็ค ที่ ออก ให้ ใหม่25 ฉบับ เป็น เงิน ถึง หนึ่ง แสน บาท เศษ เชื่อ ว่า ห้าง จำเลย ที่ 1 คงไม่ยอม แลกเปลี่ยน เช็ค และ ชำระ เงิน ตามเช็ค 25 ฉบับ ให้ แก่ ผู้เสียหายโดย ไม่ได้ อะไร ตอบแทน ที่นาย ชาญ เบิกความ ว่า หาก สามารถ นำ เช็ค ทั้ง 25 ฉบับ เรียกเก็บเงิน ได้ ก็ จะ คืน เช็คพิพาท ให้ จำเลย ทำนอง ว่าผู้เสียหาย จะ ไม่คืน เช็คพิพาท ให้ ฝ่าย จำเลย จนกว่า เช็ค 25 ฉบับจะ เบิกเงิน ได้ จึง ไม่ใช่ การ ยอมความ นั้น เห็นว่า เช็คพิพาท มิได้อยู่ ที่นาย ชาญ ขณะที่ รับ เช็ค 25 ฉบับ แต่ อยู่ ที่ พนักงานสอบสวน ดังนั้น จึง มี การ บันทึก ใน เอกสาร หมาย ล. 1 ว่า “หมายเหตุ เช็ค ชุด เก่ายัง ไม่ได้ คืน ” หาก จะ ฟัง ว่า ผู้เสียหาย ยัง ติดใจ เอาความ ตามเช็ค พิพาทและ ไม่ยอม คืน เช็คพิพาท ให้ ก็ จะ ทำให้ ผู้เสียหาย เป็น ผู้ทรงเช็คใน มูลหนี้ อัน เดียว กัน ถึง 32 ฉบับ ซึ่ง เกิน จำนวน หนี้ และ หาก เช็คเปลี่ยน มือ จำเลย ที่ 1 อาจ ต้อง รับผิด ตามเช็ค ทั้งหมด ซึ่ง เป็นจำนวนเงิน ถึง 1,600,000 บาท เศษ จึง ไม่มี เหตุผล ที่ จำเลย ที่ 1จะ ยินยอม เช่นนั้น ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า ผู้เสียหาย ยอมรับ เช็ค จำนวน25 ฉบับ เป็น การ แลกเปลี่ยน กับ เช็คพิพาท โดย ยินยอม คืน เช็คพิพาทให้ แก่ จำเลย ที่ 1 แต่ ยัง ไม่อาจ คืน ให้ ใน ขณะที่ รับ เช็ค 25 ฉบับจึง ได้ บันทึก ไว้ ใน เอกสาร หมาย ล. 1 ว่า เช็ค ชุด เก่า ยัง ไม่ได้ คืนอนึ่ง ปรากฏว่า ผู้เสียหาย ได้ นำ เช็ค บาง ฉบับ ของ จำนวน 25 ฉบับ ที่ถึง กำหนด จ่ายเงิน ไป เรียกเก็บเงิน แล้ว แสดง ให้ เห็นว่า ผู้เสียหายตกลง เข้า ถือ สิทธิ ตามเช็ค ดังกล่าว และ สละ สิทธิ หรือไม่ ยึดถือ สิทธิ ใด ๆที่ มี อยู่ ใน เช็คพิพาท อีก ต่อไป ทั้งนี้ รวมทั้ง สิทธิ ที่ จะ ดำเนินคดีอาญา เอา กับ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น ผู้ออกเช็ค ด้วย ข้อตกลง แลกเปลี่ยนเช็ค ดังกล่าว ระหว่าง ผู้เสียหาย กับ จำเลย ที่ 1 ถือได้ว่า เป็น การยอมความ กัน ทำให้ สิทธิ นำ คดีอาญา มา ฟ้อง สำหรับ เช็คพิพาท ระงับ ไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) การ ที่ ผู้เสียหายไม่ได้ รับ เงิน ตามเช็ค จำนวน 25 ฉบับ ตาม ข้อตกลง แลกเปลี่ยน เช็คก็ ไม่เป็น เงื่อนไข ใน การ ตกลง ยอมความ กัน เพราะ ผู้เสียหาย ชอบ ที่จะ ดำเนินคดี แก่ ผู้ออกเช็ค จำนวน 25 ฉบับ เป็น คดี ใหม่ ต่อไป ได้และ ไม่ทำ ให้สิทธิ ดำเนินคดี อาญา ใน เช็คพิพาท ซึ่ง ระงับ ไป แล้วเปลี่ยนแปลง ไป ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share