คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยที่2ถึงที่4ตกลงกันเป็นหุ้นส่วนซื้อ เรือเอี้ยมจุ๊นมาต่อเติมดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันในกิจการท่องเที่ยวโดยจำเลยที่2มีหน้าที่ไปติดต่อขอซื้อเรือจำเลยที่3มีหน้าที่ติดต่อจดทะเบียนและขออนุญาตใช้เรือจำเลยที่4มีหน้าที่ออกแบบและต่อเติมเรือและได้จ้างจำเลยที่1ขับเรือของกลางซึ่งมีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือไปในการรับจ้างขนส่งคนโดยสารด้วยการบรรทุกจนน่าเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้นจึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกระทำความผิดด้วยกันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา83 คำว่า”น่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในยานพาหนะ”ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา233ไม่ใช่ผลของการกระทำเพราะความผิดสำเร็จโดยที่ยัง ไม่มี ความเสียหาย เป็นแต่การกระทำหรือเจตนากระทำมีสภาพน่าจะเป็นอันตรายเท่านั้นเมื่อเรือนั้นมีลักษณะหรือมีการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้นแม้ยัง ไม่มี ความเสียหายก็เป็น ความผิดสำเร็จแล้ว ความผิดฐานทำการเดินเรือในขณะที่ ประกาศนียบัตร สิ้นอายุแล้วตาม พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทยฯ ที่ใช้ในขณะที่จำเลยที่1กระทำความผิดกำหนดโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับแต่ภายหลังการกระทำความผิดได้มีการแก้ไขโดยกำหนดโทษเป็นปรับไม่เกินสองพันบาทจึงต้องใช้กฎหมายตามที่แก้ไขเพิ่มเติมซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ที่ 1 ตาม พระราชบัญญัติ การ เดิน เรือ ในน่านน้ำ ไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 282 และ ลงโทษ จำเลย ทั้ง สี่ ตามพระราชบัญญัติ การ เดิน เรือ ใน น่านน้ำ ไทย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2481มาตรา 4, 5, 9 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233, 91, 83 คืน ของกลางแก่ เจ้าของ และ นับ โทษ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ต่อ จาก โทษ ใน คดีอาญาหมายเลขดำ ที่ 1509/2533 ของ ศาลจังหวัด ขอนแก่น
จำเลย ทั้ง สี่ ให้การ ปฏิเสธ แต่ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 รับ ว่าเป็น บุคคล เดียว กับ จำเลย ใน คดี ที่ โจทก์ ขอให้ นับ โทษ ต่อ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติการ เดิน เรือ ใน น่านน้ำ ไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 282 ให้ จำคุก 3 เดือนจำเลย ที่ 1 ให้การรับสารภาพ ใน ชั้นสอบสวน และ นำสืบ พยาน เป็นประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก 2 เดือน และ จำเลย ทั้ง สี่ มี ความผิดตาม พระราชบัญญัติ การ เดิน เรือ ใน น่านน้ำ ไทย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2481มาตรา 9 วรรคแรก ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233, 83 เรียง กระทงลงโทษ ฐาน ใช้ เรือ ที่ มิได้ รับ อนุญาต ใช้ เรือ ให้ ปรับ คน ละ 2,000 บาท ฐานใช้ ยานพาหนะ รับจ้าง ขนส่ง คนโดยสาร เมื่อ ยานพาหนะ นั้น มี ลักษณะ หรือมี การ บรรทุก จน น่า จะ เป็น อันตราย แก่ บุคคล ใน ยานพาหนะ นั้น ให้ จำคุกคน ละ 1 ปี รวม จำคุก จำเลย ที่ 1 มี กำหนด 1 ปี 2 เดือน และ ปรับ2,000 บาท จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4 จำคุก คน ละ 1 ปี และ ปรับ คน ละ2,000 บาท ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30ของกลาง คืน เจ้าของ ส่วน ที่ โจทก์ ขอให้ นับ โทษ จำคุก จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4ต่อ จาก โทษ ของ จำเลย ใน คดีอาญา หมายเลขดำ ที่ 1509/2533 ของศาลจังหวัด ขอนแก่น ให้ยก เสีย เนื่องจาก คดี ดังกล่าว ศาล ยัง ไม่มีคำพิพากษา
จำเลย ทั้ง สี่ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สี่ ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง ลงชื่อ ใน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 1 อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว คดี มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สี่ ว่า จำเลย ทั้ง สี่ กระทำ ความผิด ฐาน นำ เรือ ที่ ไม่ได้ รับ ใบอนุญาต ใช้ เรือ มา ใช้ ใช้ ยานพาหนะ รับจ้าง ขนส่ง คนโดยสารเมื่อ ยานพาหนะ นั้น มี ลักษณะ หรือ มี การ บรรทุก จน น่า จะ เป็น อันตรายแก่ บุคคล ใน ยานพาหนะ นั้น หรือไม่ และ สมควร รอการลงโทษ จำคุก แก่ จำเลยทั้ง สี่ หรือไม่
จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4 ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4 ไม่ได้ เป็นเจ้าของ และ ผู้ใช้ เรือ ของกลาง นั้น ข้อ นี้ โจทก์ มี นาย บุญทัน พิศพล ซึ่ง ขาย อาหาร อยู่ ที่ แผงลอย ขาย ของ เขื่อนอุบลรัตน์ และ นาย สมพร กาสาวัง เป็น พยาน เบิกความ สรุป ได้ว่า เรือ ของกลาง เป็น เรือ ของ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4 เห็นว่า นาย สมพร เป็น ลูกจ้าง ขับ เรือ อีก ลำ หนึ่ง ของ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4 ที่ เกิด พลิกคว่ำ ใน วันเกิดเหตุเบิกความ ยืนยัน ว่า พยาน รับจ้าง ขับ เรือ ที่ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4 ซื้อ มาและ ต่อเติม เพื่อ ประกอบ กิจการ ท่องเที่ยว ก่อน เกิดเหตุ มา แล้ว ประมาณ7 เดือน ก่อน เกิดเหตุ จำเลย ที่ 2 ได้ ไป หา พยาน ที่ บ้าน บอก ว่า ใน วันที่23 กันยายน 2533 จะ มี นักศึกษา มา นั่ง เรือ เที่ยว ที่ อ่างเก็บน้ำ เขื่อนอุบลรัตน์ ต่อมา ใน วันเกิดเหตุ นาง กมลวรรณ ไม่ทราบ นามสกุล ซึ่ง จำเลย ที่ 2 เคย แนะนำ ว่า จะ เป็น ผู้ จัด คนโดยสาร ขึ้น เรือ ได้ พาคนโดยสาร กลุ่ม หนึ่ง ขึ้น เรือ แล้ว นาง กมลวรรณ ได้ ให้ สัญญาณ ออก เรือ เมื่อ พยาน ขับ เรือ ออกจาก ท่า ได้ ประมาณ 100 เมตร เรือ ก็ เกิด พลิกคว่ำจำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4 ก็ เบิกความ รับ ว่า เป็น หุ้นส่วน ซื้อ เรือ ของกลางและ เรือ ลำ ที่ พลิกคว่ำ มา ประกอบ กิจการ ท่องเที่ยว พยานหลักฐาน ของโจทก์ ที่ นำสืบ มา มีเหตุ ผล รับฟัง ได้ ที่ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4 อ้างว่าได้ ขาย ให้ แก่ นาย อุดมศักดิ์ แซ่ตั้ง ไป แล้ว ก่อน เกิดเหตุ นั้น เห็นว่า การ ซื้อ ขาย เรือ ทั้ง สอง ลำ จำเลย ที่ 3 เบิกความ ว่า ที่ ยังไม่ได้ จดทะเบียน ซื้อ ขาย ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ เพราะ สัญญาซื้อขายมี เงื่อนไข ว่า กรรมสิทธิ์ ยัง ไม่ โอน ไป ยัง ผู้ซื้อ จนกว่า จะ ชำระ ราคาครบถ้วน ตาม หนังสือ สัญญาซื้อขาย มี เงื่อนไข เอกสาร หมาย ล. 3สัญญา ดังกล่าว ปรากฏว่า ทำ กัน ก่อน เกิดเหตุ เพียง 7 วัน ไม่มี บุคคลอื่นรู้เห็น เป็น พยาน ทำ สัญญาซื้อขาย กัน ทั้ง ๆ ที่ เรือ ทั้ง สอง ลำ ยัง ไม่ได้รับ ใบอนุญาต ใช้ เรือ และ ยัง ไม่ได้ รับ อนุญาต ให้ นำ เรือ มา แล่น ในอ่างเก็บน้ำ เขื่อนอุบลรัตน์ จาก ผู้อำนวยการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต เขต 2 เขื่อนอุบลรัตน์ แต่อย่างใด นอกจาก นี้ ตาม ภาพถ่าย สภาพ เรือ หมาย ป.จ. 3ของ ศาลจังหวัด หนองคาย ซึ่ง ถ่าย ภายหลัง เกิดเหตุ ก็ ยัง มี ชื่อ รชตทัวร์ ซึ่ง จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4 ใช้ ใน การ ประกอบ กิจการ ท่องเที่ยว อยู่พยานหลักฐาน ของ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4 ไม่สามารถ หักล้าง พยานหลักฐาน ของโจทก์ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4 เป็น เจ้าของ เรือของกลาง จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4 เป็น หุ้นส่วน กัน ประกอบ กิจการ ท่องเที่ยวโดย จ้าง ให้ จำเลย ที่ 1 ขับ เรือ ของกลาง ที่ ไม่ได้ รับ ใบอนุญาต ให้ ใช้เรือ บรรทุก คนโดยสาร แล่น ไป ใน ลำน้ำ ของ อ่างเก็บน้ำ เขื่อนอุบลรัตน์ เพื่อ ชม ทิวทัศน์จำเลย ทั้ง สี่ จึง มี ความผิด ฐาน ร่วมกัน นำ เรือ ที่ไม่ได้ รับ อนุญาต มา ใช้ ตาม ฟ้องฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4 ข้อ นี้ฟังไม่ขึ้น
ที่ จำเลย ทั้ง สี่ ฎีกา ว่า จำเลย ทั้ง สี่ ไม่ได้ กระทำ ความผิด ฐานใช้ ยานพาหนะ รับจ้าง ขนส่ง คนโดยสาร เมื่อ ยานพาหนะ นั้น มี ลักษณะ หรือ การบรรทุก จน น่า จะ เป็น อันตราย แก่ บุคคล ใน ยานพาหนะ นั้น โจทก์ มีเรือโท สีหนาท มีจิตร เจ้าพนักงาน ตรวจ เรือ และ เรือเอก ชัยรัตน์ ศรีตุลานนท์ เจ้า ท่า ภูมิภาค ที่ 7 เป็น พยาน เบิกความ ประกอบ บันทึก การ ตรวจ สภาพ เรือ เอกสาร หมาย ป.จ. 2 ของ ศาลจังหวัด หนองคาย ว่า เรือของกลาง เป็น เรือ บรรทุก ข้าว หรือ ทราย ทำ ด้วย ไม้ ยัง มี สภาพ ดี ส่วน ที่ดัดแปลง คือ เสา รองรับ ชั้น ที่ สอง มี ข้าง ละ 5 ต้น ขนาด เสา เหล็ก โต 2 นิ้วกลวง พื้น ดาดฟ้า ชั้นล่าง ทำ ด้วย เหล็ก ดัด ธรรมดา ตัว พื้น ใช้ เหล็กแผ่นเรียบ หนา ประมาณ ครึ่ง หุน พื้น ดาดฟ้า ยึด ติดกับ เสา ไม่ แข็งแรง เท่าที่ควรพื้น ชั้น ที่ สอง ยาว 9.30 เมตร กว้าง 2.42 เมตร สูง จาก กราบ เรือ1.98 เมตร โครงสร้าง เรือ เช่นนี้ หาก บรรทุก คนโดยสาร บน ดาดฟ้า มากจะ ทำให้ จุด ศูนย์ ถ่วง ของ เรือ เลื่อน ขึ้น ไป ด้าน บน เรือ พลิกคว่ำ ได้ ง่ายเรือ ของกลาง ใช้ วัสดุ และ ฝีมือ ทาง ช่าง ไม่ แข็งแรง หาก นำ ไป ขอ จดทะเบียนใช้ เป็น เรือโดยสาร ก็ จะ ไม่ได้ รับ อนุญาต นาย ชาตรี มะณีย์ และ นาย ธวัชชัย โสมาบุตร ผู้โดยสาร เรือ ของกลาง เป็น พยาน เบิกความ ว่า วันเกิดเหตุ เรือ ของกลาง บรรทุก คนโดยสาร ชั้นบน ประมาณ 30 คนชั้นล่าง ประมาณ 20 คน เห็นว่า ตาม บันทึก การ ตรวจ สภาพ เรือเอก สาร หมายป.จ. 2 ของ ศาลจังหวัด หนองคาย และ ภาพถ่าย สภาพ เรือ หมาย ป.จ. 3ของ ศาลจังหวัด หนองคาย เรือ ของกลาง เป็น เรือ ที่ มิได้ สร้าง มา เพื่อ รับน้ำหนัก ทาง ส่วน สูง การ ที่ บรรทุก คนโดยสาร บน ชั้น ที่ สอง จำนวน มากประมาณ 50 คน ทั้ง ๆ ที่ จำเลย ที่ 3 ทำ หนังสือ ถึง ผู้อำนวยการ การไฟฟ้าฝ่าย ผลิต เขต 2 เขื่อนอุบลรัตน์ ตาม หนังสือ เอกสาร หมาย ล. 18 ว่า จะ นำ เรือ ที่ ได้ จดทะเบียน การ อนุญาต ให้ ใช้ เดิน เรือ ได้ ตาม กฎหมาย ส่วนโครงสร้าง ของ เรือ แต่ละ ลำ บรรทุก นักท่องเที่ยว ได้ ครั้ง ละ 30ถึง 40 คน การ ที่ จำเลย ทั้ง สี่ นำ เรือ ที่ ไม่ได้ รับ ใบอนุญาต ให้ ใช้ เรือมา ใช้ เจือสม กับ คำเบิกความ ของ เรือโท สีหนาท ว่า โครงสร้าง เรือ ของกลาง หาก บรรทุก คนโดยสาร บน ดาดฟ้า มาก จะ ทำให้ จุด ศูนย์ ถ่วง ของ เรือ เลื่อนขึ้น ไป ด้าน บน เรือ พลิกคว่ำ ได้ ง่าย เรือ ของกลาง ใช้ วัสดุ และ ฝีมือ ช่างไม่ แข็งแรง หาก นำ ไป ขอ จดทะเบียน ใช้ เป็น เรือโดยสาร จะ ไม่ได้รับ อนุญาต แสดง ว่า ลักษณะ เรือ ของกลาง และ การ บรรทุก คนโดยสารดังกล่าว มา เห็น ได้ ตาม ความรู้ ของ คน ธรรมดา ทั่วไป ว่า น่า จะ เป็นอันตราย แก่ บุคคล ใน เรือ นั้น แล้ว ที่ จำเลย ทั้ง สี่ อ้างว่า เรือ ของกลางไม่มี ลักษณะ หรือ มี การ บรรทุก จน น่า จะ เป็น อันตราย แก่ บุคคล ใน เรือโดย มี จำเลย ที่ 4 และ นาย อนุศักดิ์ จิตรประสบ นาย ช่าง ออก แบบ เรือ กอง ประมง ทะเล กรมประมง เป็น พยาน เบิกความ ว่า เมื่อ ทำการ ต่อเติมเสร็จ แล้ว ส่วน ล่าง ของ เรือ ของกลาง มี น้ำหนัก มาก กว่า ส่วน บน5.83 เท่า เสา ซึ่ง ค้ำ ยัน ระหว่าง ชั้นล่าง กับ ชั้น ที่ สอง มี 10 ต้นสามารถ รับ น้ำหนัก ได้ ประมาณ 26.14 ตัน คาน ของ พื้น ชั้น ที่ สอง มี5 อัน สามารถ รับ น้ำหนัก ได้ มาก กว่า 30 ตัน นั้น เห็นว่า พยาน ของ จำเลยทั้ง สี่ ไม่มี น้ำหนัก หักล้าง พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ข้อเท็จจริง ฟังได้ว่า เรือ ของกลาง นั้น มี ลักษณะ หรือ มี การ บรรทุก จน น่า จะ เป็น อันตราย แก่บุคคล ใน เรือ ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 4 เป็น ผู้ทำการออก แบบ และ คำนวณ โครงสร้าง แต่ ผู้เดียว จำเลย อื่น ไม่มี ส่วน รู้เห็นด้วย นั้น เห็นว่า จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4 ตกลง กัน เป็น หุ้นส่วน ซื้อเรือ เอี้ยมจุ๊นมา ต่อเติม ดัดแปลง เพื่อ ใช้ ประโยชน์ ร่วมกัน ใน กิจการท่องเที่ยว โดย มี จำเลย ที่ 2 มี หน้าที่ ไป ติดต่อ ขอ ซื้อ เรือ ของกลางและ เรือ ลำ ที่ เกิด พลิกคว่ำ จำเลย ที่ 3 มี หน้าที่ เกี่ยวกับ การ ติดต่อจดทะเบียน และ ขออนุญาต ใช้ เรือ จำเลย ที่ 4 มี หน้าที่ ใน การ ออก แบบและ ต่อเติม เรือ ทั้ง สอง ลำ ให้ เป็น สอง ชั้น และ ได้ จ้าง จำเลย ที่ 1 ขับ เรือของกลาง ซึ่ง มี ลักษณะ น่า จะ เป็น อันตราย แก่ บุคคล ใน เรือ ไป ใน การ รับจ้างขนส่ง คนโดยสาร ด้วย การ บรรทุก จน น่า เป็น อันตราย แก่ บุคคล ใน เรือ นั้นจึง เป็น กรณี ที่ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วม กระทำ ความผิด ด้วยกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ที่ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 4 ฎีกา ว่า ยังไม่มี ผล ใด ๆ เกิดขึ้น อัน จะ ถือว่า ได้รับ ความเสียหาย ไม่มี ใคร เป็นผู้เสียหาย การกระทำ จึง ไม่มี ผล เป็น ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 233 นั้น เห็นว่า คำ ว่า “น่า จะ เป็น อันตราย แก่ บุคคล ใน ยานพาหนะ “ตาม มาตรา 233 ไม่ใช่ ผล ของ การกระทำ เพราะ ความผิด สำเร็จโดย ที่ ยัง ไม่มี ความเสียหาย เป็น แต่ การกระทำ หรือ เจตนา กระทำ มี สภาพน่า จะ เป็น อันตราย เท่านั้น การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกันใช้ เรือ ของกลาง รับจ้าง ขนส่ง คนโดยสาร เมื่อ เรือ นั้น มี ลักษณะ หรือมี การ บรรทุก จน น่า จะ เป็น อันตราย แก่ บุคคล ใน เรือ นั้น แม้ ยัง ไม่มีความเสียหาย ก็ ความผิด สำเร็จ แล้ว จำเลย ทั้ง สี่ มี ความผิด ฐาน ร่วมกัน ใช้ ยานพาหนะ รับจ้าง ขนส่ง คนโดยสาร เมื่อ ยานพาหนะ นั้น มี ลักษณะหรือ การ บรรทุก จน น่า จะ เป็น อันตราย แก่ บุคคล ใน ยานพาหนะ นั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สี่ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ที่ จำเลย ที่ 3 ขอให้ ลงโทษ ปรับ สถาน เดียว และ จำเลย ทั้ง สี่ ขอให้รอการลงโทษ จำคุก นั้น เห็นว่า ไม่ปรากฏ ว่า จำเลย ทั้ง สี่ ได้รับ โทษจำคุก มา ก่อน จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 รับ ราชการ จำเลย ที่ 3 เป็น ทนายความจำเลย ที่ 4 ขณะ เกิดเหตุ รับ ราชการ จำเลย ทั้ง สี่ ประกอบ สัมมา อาชีวะมา ก่อน เป็น ปกติ พิเคราะห์ พฤติการณ์ แห่ง คดี แล้ว ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1ใช้ ดุลพินิจ ไม่รอการลงโทษ จำคุก ให้ จำเลย ทั้ง สี่ หนัก เกิน ไป แต่ เพื่อให้ จำเลย ทั้ง สี่ หลา บจำ เห็นควร ลงโทษ ปรับ จำเลย ทั้ง สี่ ใน ความผิด ฐานใช้ ยานพาหนะ รับจ้าง ขนส่ง คนโดยสาร เมื่อ ยานพาหนะ นั้น มี ลักษณะ หรือมี การ บรรทุก จน น่า จะ เป็น อันตราย แก่ บุคคล ใน ยานพาหนะ นั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 ด้วย ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สี่ ข้อ นี้ ฟังขึ้น
อนึ่ง สำหรับ ความผิด ฐาน ทำการ เดิน เรือ ใน ขณะที่ ประกาศนียบัตรสิ้น อายุ แล้ว กฎหมาย ที่ ใช้ ใน ขณะที่ จำเลย ที่ 1 กระทำ ความผิด คือพระราชบัญญัติ การ เดิน เรือ ใน น่านน้ำ ไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 282 ตาม ที่แก้ไข เพิ่มเติม โดย มาตรา 3 แห่ง พระราชบัญญัติ การ เดิน เรือ ใน น่านน้ำ ไทย(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2525 กำหนด โทษ จำคุก ไม่เกิน สาม เดือน หรือ ปรับไม่เกิน สอง พัน บาท หรือ ทั้ง จำ ทั้ง ปรับ แต่ ภายหลัง การกระทำ ความผิดได้ มี การ ประกาศ ใช้ พระราชบัญญัติ การ เดิน เรือ ใน น่านน้ำ ไทย(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2535 และ ตาม มาตรา 21 แห่ง พระราชบัญญัติ ดังกล่าวได้ แก้ไข ข้อความ ใน มาตรา 282 โดย กำหนด โทษ เป็น ปรับ ไม่เกิน สอง พัน บาทจึง เป็น กรณี กฎหมาย ที่ ใช้ ใน ขณะ กระทำ ความผิด ต่าง กับ กฎหมาย ที่ ใช้ภายหลัง กระทำ ความผิด ต้อง ใช้ พระราชบัญญัติ การ เดิน เรือ ใน น่านน้ำ ไทยพ.ศ. 2456 มาตรา 282 ตาม ที่ แก้ไข เพิ่มเติม โดย มาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติ การ เดิน เรือ ใน น่านน้ำ ไทย (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2535ซึ่ง เป็น คุณ แก่ จำเลย ที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ศาลฎีกาเห็นสมควร แก้ไข ให้ ถูกต้อง ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า สำหรับ ความผิด ฐาน ทำการ เดิน เรือ ใน ขณะที่ประกาศนียบัตร สิ้น อายุ แล้ว จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติการ เดิน เรือ ใน น่านน้ำ ไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 282 ตาม ที่ แก้ไขเพิ่มเติม โดย มาตรา 21 แห่ง พระราชบัญญัติ การ เดิน เรือ ใน น่านน้ำ ไทย(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2535 ให้ ปรับ 1,800 บาท เมื่อ ลดโทษ ให้ จำเลยที่ 1 หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คง ปรับ1,200 บาท ความผิด ฐาน ใช้ ยานพาหนะ รับจ้าง ขนส่ง คนโดยสารเมื่อ ยานพาหนะ นั้น มี ลักษณะ หรือ มี การ บรรทุก จน น่า จะ เป็น อันตราย แก่บุคคล ใน ยานพาหนะ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 ให้ ปรับ จำเลยทั้ง สี่ คน ละ 2,000 บาท อีก สถาน หนึ่ง รวม โทษ จำคุก จำเลย ที่ 1มี กำหนด 1 ปี ปรับ 5,200 บาท จำคุก จำเลย ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4คน ละ 1 ปี ปรับ คน ละ 4,000 บาท โทษ จำคุก ของ จำเลย ทั้ง สี่ ให้ รอการลงโทษไว้ มี กำหนด 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระ ค่าปรับจัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไปตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 1

Share