คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การที่หญิงหมั้นกับชายโดยชอบด้วยกฎหมายและเมื่อแต่งงานตามประเพณีแล้วหญิงชวนชายไปจดทะเบียนสมรสหลายครั้งหญิงย่อมต้องการอยู่กินกับชายโดยชอบด้วยกฎหมายการที่บิดามารดาและพี่ของชายนั้นไล่หญิงออกจากบ้านหลังจากนั้นชายก็มิได้กระทำการใดเพื่อให้หญิงกลับมาอยู่กินฉันสามีภริยาชายนั้นจึงผิดสัญญาหมั้น หญิงและชายต่างมีฐานะดีในการจัดงานเลี้ยงแต่งงานมีการเชิญแขกประมาณ600คนและเลี้ยงโต๊ะจีนการที่หญิงซื้อ ชุดแต่งงานเพื่อเข้าพิธีจำนวน4ชุดเป็นเงิน28,000บาทเป็นการใช้จ่ายอันสมควรในการเตรียมการสมรสเรียกค่าทดแทนได้ หญิงซื้อ ผ้ารับไหว้เพื่อให้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายชายตามประเพณีมิใช่ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสอันจะเรียกค่าทดแทนได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น น้อง ร่วม บิดา มารดาเดียว กัน กับ จำเลย ที่ 2 โดย เป็น บุตร ของ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 จำเลย ทั้ง สี่ร่วมกัน มา ขอ หมั้น โจทก์ ต่อ บิดา มารดา และ นาย เทอดศักดิ์ ปฏิภาณวัฒน์ พี่ชาย โจทก์ เพื่อ ให้ ทำการ สมรส กับ จำเลย ที่ 1 โดย มอบ เงิน ให้ แก่บิดา มารดา โจทก์ เป็น สินสอด ให้ ทรัพย์สิน รวมเป็น เงิน 107,960 บาทแก่ โจทก์ เป็น ของหมั้น เพื่อ เป็น ประกัน ว่า จะ สมรส และ จดทะเบียนส่วน โจทก์ ได้ มอบ แหวน เพชร 1 วง ราคา 25,000 บาท แก่ จำเลย ที่ 1ตาม ประเพณี การ รับ หมั้น และ ใช้ จ่าย เนื่อง ใน การ เตรียม การ สมรส โดย ซื้อชุด แต่งงาน จำนวน 4 ชุด เป็น เงิน 28,200 บาท ผ้า รับไหว้ จำนวน 30 ชุดเป็น เงิน 5,307.25 บาท นอกจาก นี้ โจทก์ ได้ ลาออก จาก การ ประกอบ อาชีพที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ปฏิภาณ เป็นเหตุ ให้ ขาด รายได้ เกี่ยว แก่ อาชีพ หรือ ทาง ทำ มา หา ได้ แต่เมื่อ หลังจาก ทำ พิธี แต่งงาน ตาม ประเพณี ใน วันนั้นแล้ว จำเลย ทั้ง สี่ ผิดสัญญา หมั้น โดย จำเลย ที่ 1 ไม่ จดทะเบียนสมรสกับ โจทก์ ทั้ง ได้ ร่วมกัน ขับไล่ โจทก์ ออกจาก บ้าน ที่พักอาศัย เป็นเหตุให้ โจทก์ เสียหาย ต่อ กาย หรือ ชื่อเสียง และ ใน การ ไป อยู่กิน เป็น สามี ภริยากับ จำเลย ที่ 1 โจทก์ ได้ นำ ของหมั้น ตลอดจน สินส่วนตัว ติดตัว ไป ที่ บ้านของ จำเลย ทั้ง สี่ ด้วย แต่ ระหว่าง อยู่กิน กับ จำเลย ที่ 1 จำเลย ทั้ง สี่ได้ ร่วมกัน หลอกลวง โจทก์ ให้ ถอนเงิน จาก ธนาคาร และ ยึดทรัพย์สินกับ เงิน ดังกล่าว ไว้ การ ที่ จำเลย ทั้ง สี่ ผิดสัญญา หมั้น จึง ต้อง ร่วมกันใช้ ค่าทดแทน และ ค่าใช้จ่าย ใน การ เตรียม การ สมรส กับ ต้อง คืน ของหมั้นตลอดจน ทรัพย์สิน ที่ ยึด ไว้ และ แหวน เพชร ที่ มอบ ให้ ใน วัน รับ หมั้นขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ชำระ เงิน 2,267,887 บาท กับ ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สี่ ให้การ และ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย ที่ 3ที่ 4 มอบอำนาจ ให้ จำเลย ที่ 2 ดำเนินคดี แทน ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุมเพราะ อ่าน ไม่ เข้าใจ จำเลย ที่ 1 หมั้น โจทก์ โดย เกิดจาก ความ ยินยอมของ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 เท่านั้น จำเลย ที่ 2 มิได้ เกี่ยวข้อง ด้วยโจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เรียก ค่าทดแทน จาก จำเลย ที่ 2 ภายหลัง ที่ ทำพิธี แต่งงาน ตาม ประเพณี แล้ว โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 อยู่กิน ฉัน สามี ภริยาโดย มิได้ มี ความจำนง ที่ จะ จดทะเบียนสมรส ทั้ง จำเลย ที่ 3 ที่ 4ไม่เคย ขัดขวาง อย่างใด จึง ไม่ผิด สัญญา หมั้น เหตุ เกิด เนื่องจากจำเลย ที่ 1 ประกอบ อาชีพ ค้าขาย โดย มอบหมาย ให้ โจทก์ เข้า บริหาร กิจการแต่ โจทก์ ไม่มี ความรู้ ความ สามารถ ดำเนิน กิจการ ผิดพลาด ก่อ ให้ เกิดความเสียหาย ขึ้น หลาย ครั้ง เมื่อ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 แนะนำ ตักเตือนโจทก์ ไม่พอ ใจ และ โกรธ โจทก์ จึง ได้ ออกจาก บ้าน ไป โดย ความสมัครใจจะ เรียก ให้ รับผิด ชดใช้ ค่าทดแทน หาได้ไม่ ใน การ ที่ แยก ไป ดังกล่าวโจทก์ ได้ นำ ทรัพย์สิน ที่ จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าของรวม ติดตัว ไป ด้วยจำเลย ที่ 3 ที่ 4 ไม่เคย ยึดถือ ครอบครอง ทรัพย์สิน ที่ เป็น ของหมั้นตลอดจน สินส่วนตัว และ เงิน ของ โจทก์ ตาม ฟ้อง ไว้ แต่อย่างใด ทั้ง โจทก์ได้ ขนย้าย ไป หมดสิ้น แล้ว สำหรับ ค่าใช้จ่าย ใน การ เตรียม การ สมรสที่ โจทก์ เรียกร้อง เป็น จำนวน สูง เกิน ส่วน เกิน ความจำเป็น ส่วน ความเสียหาย ต่อ กาย หรือ ชื่อเสียง โจทก์ มิได้ เกิดจาก การ ผิดสัญญา หมั้นและ ก่อน สมรส โจทก์ มิได้ ประกอบ อาชีพ ใด ๆ จำเลย ทั้ง สี่ จึง ไม่ต้องรับผิด ใช้ ค่าทดแทน ตาม ฟ้อง ต่อ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง และ พิพากษา ให้โจทก์ ชำระ เงิน 106,500 บาท กับ ดอกเบี้ย แก่ จำเลย ที่ 1
ศาลชั้นต้น สั่ง ไม่รับฟ้อง แย้ง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน คืนของหมั้น เงินสด 700,000 บาท ทองรูปพรรณ หนัก 20 บาท และ เครื่องเพชร1 ชุด มี สร้อย ข้อมือ แหวน และ ตุ้มหู แก่ โจทก์ หาก คืน ไม่ได้ ให้ ใช้ราคา แทน เป็น เงิน 967,960 บาท กับ ดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีนับแต่ วันฟ้อง จน ถึง วัน ชำระ เสร็จ
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สี่ อุทธรณ์
ระหว่าง พิจารณา จำเลย ที่ 4 ถึงแก่กรรม โจทก์ ขอให้เรียกนาย ชัยยศ แซ่เจี่ย นางสาว นี แซ่เจี่ย และ นาย ลิ้มเกียก แซ่เจี่ย ทายาทโดยธรรม ของ จำเลย ที่ 4 เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 อนุญาต
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 หมั้น กัน โดยชอบด้วย กฎหมาย เมื่อ แต่งงาน กัน ตาม ประเพณี แล้ว ปรากฏว่า ยัง ไม่มี การจดทะเบียนสมรส กัน ตาม กฎหมาย จน กระทั่ง โจทก์ กลับ ไป อยู่ บ้าน บิดา มารดาของ โจทก์ ตาม เดิม โจทก์ เป็น หญิง สาว สำเร็จ การศึกษา ระดับ ปริญญาตรีการ ที่ โจทก์ หมั้น และ แต่งงาน ตาม ประเพณี กับ จำเลย ที่ 1 โจทก์ ย่อมต้องการ อยู่กิน ฉัน สามี ภริยา กับ จำเลย ที่ 1 โดยชอบ ด้วย กฎหมาย เพื่อจะ ได้ มีสิทธิ และ หน้าที่ ตาม ที่ กฎหมาย บัญญัติ ไว้ แม้ จะ ไม่ปรากฏ ว่าได้ พูด กัน ถึง เรื่อง การ จดทะเบียนสมรส ก็ ตาม ดัง จะ เห็น ได้ จาก การ ที่โจทก์ ชวน จำเลย ที่ 1 ไป จดทะเบียนสมรส กัน หลาย ครั้งหลัง จาก วัน แต่งงานการ ที่ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ไล่ โจทก์ ออกจาก บ้าน หลังจาก นั้นจำเลย ที่ 1 ก็ มิได้ กระทำการ ใด เพื่อ ให้ โจทก์ กลับมา อยู่กินฉัน สามี ภริยา จำเลย ที่ 1 จึง ผิดสัญญา หมั้น
จำเลย ทั้ง สี่ ต้อง รับผิด ตาม สัญญา หมั้น หรือไม่ เพียงใดได้ วินิจฉัย ไว้ ข้างต้น แล้ว ว่า จำเลย ที่ 1 ผิดสัญญา หมั้น จำเลย ที่ 2ที่ 3 และ ที่ 4 ไล่ โจทก์ ออกจาก บ้าน ถือได้ว่า ร่วม กับ จำเลย ที่ 1ทำ ผิดสัญญา หมั้น โจทก์ เรียก ค่าทดแทน หลาย ประการ ศาลฎีกา จะ วินิจฉัยตามลำดับ ดังนี้
ค่าทดแทน ความเสียหาย เนื่อง ใน การ เตรียม การ สมรส โจทก์ อ้างว่าได้ จ่าย ดังนี้
1.1 ซื้อ ชุด แต่งงาน เพื่อ เข้า พิธี จำนวน 4 ชุด เป็น เงิน28,000 บาท เห็นว่า โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ต่าง มี ฐานะ ดี ใน การ จัดงานเลี้ยง มี การ เชิญ แขก ประมาณ 600 คน และ เลี้ยง โต๊ะ จีน จึง เป็น การใช้ จ่าย อัน สมควร แล้ว
1.2 ซื้อ ผ้า รับไหว้ เพื่อ ให้ ญาติ ผู้ใหญ่ ฝ่าย จำเลย ตาม ประเพณีจำนวน 30 ชุด เป็น เงิน 5,307.25 บาท เห็นว่า ค่าใช้จ่าย ดังกล่าวมิใช่ ค่าใช้จ่าย ใน การ เตรียม การ สมรส อัน จะ เรียก ค่าทดแทน ได้
พิพากษากลับ

Share