คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2160/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับโจทก์ที่2ที่3ขณะที่โจทก์ที่2ที่3ไปจับกุมจำเลยจำเลยยิงโจทก์ที่3ถูกที่ต้นคอในขณะที่มีการยื้อแย่งปืนกันโดยจำเลยมิได้มีโอกาสเลือกยิงเมื่อจำเลยยิงโจทก์ที่3ล้มลงแล้วโจทก์ที่3ไม่อยู่ในฐานะที่จะต่อสู้กับจำเลยจำเลยมีโอกาสจะยิงโจทก์ที่3อีกเป็นเวลานานแต่จำเลยก็หาได้ยิงโจทก์ที่3ไม่จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าโจทก์ที่3ส่วนที่จำเลยยิงโจทก์ที่2ปรากฏว่าขณะยิงจำเลยอยู่ใกล้กับโจทก์ที่2และมีโอกาสจะเลือกยิงโจทก์ที่2ตรงไหนก็ได้แต่จำเลยกลับยิงที่ขาของโจทก์ที่2แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่าโจทก์ที่2เพราะหากจำเลยมีเจตนาฆ่าโจทก์ที่2จำเลยคงยิงที่อวัยวะสำคัญกว่านี้. ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288,289,80เมื่อทางพิจารณาปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายโจทก์ที่2ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา296และโจทก์ที่3ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา298ศาลลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา296และ298ได้. ฟ้องว่าโจทก์ที่2ได้รับอันตรายสาหัสต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า20วันหรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า20วันแต่โจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฎว่าโจทก์ที่2ได้รับอันตรายแก่กายสาหัสดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องลงโทษจำเลยฐานทำให้ได้รับอันตรายสาหัสไม่ได้. โจทก์ที่3ถูกยิงต้องรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล12วันแล้วไปรักษาตัวต่อที่บ้านอีกโจทก์ที่3ต้องหยุดทำงานเกือบ1เดือนแพทย์ผู้ทำการตรวจบาดแผลโจทก์ที่3ได้ให้ความเห็นว่าบาดแผลหายได้ภายใน30วันฟังได้ว่าโจทก์ที่3ได้รับบาดเจ็บจากการยิงของจำเลยจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า20วัน.

ย่อยาว

คดี ทั้ง สาม สำนวน ศาลชั้นต้น สั่ง รวม การ พิจารณา พิพากษา เข้าด้วยกัน โดย เรียก พนักงาน อัยการ ใน สำนวน แรก ว่า โจทก์ ที่ 1 เรียกพันตำรวจเอก พร้อม นิคมภักดี โจทก์ สำนวน ที่ สอง ว่า โจทก์ ที่ 2 และเรียก พันตำรวจเอก พยุธ เอกรัตน์ โจทก์ สำนวน ที่ สาม ว่า โจทก์ ที่ 3
โจทก์ ทั้ง สาม สำนวน ฟ้อง ใจความ ว่า เมื่อ วันที่ 14 ตุลาคม 2525โจทก์ ที่ 2 ที่ 3 ซึ่ง เป็น เจ้าพนักงาน ไป ทำ การ จับกุม จำเลย ในข้อหา เป็น เจ้าพนักงาน ใช้ อำนาจ ใน ตำแหน่ง โดย มิชอบ จำเลย ได้ ใช้อาวุธปืน ยิง โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 โดย เจตนาฆ่า จำเลย ได้ กระทำ โดยตลอด แล้ว แต่ ไม่ บรรลุ ผล เพราะ กระสุนปืน ถูก อวัยวะ ที่ ไม่ สำคัญโจทก์ ที่ 2 ที่ 3 จึง ไม่ ถึงแก่ความตาย เพียงแต่ ได้ รับ อันตราย แก่กาย สาหัส ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138, 140,190, 288, 289 (2),(7), 80, 309, 91
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง สำหรับ คดี สำนวน ที่ สอง และ ที่ สาม แล้วมี คำสั่ง ว่า คดี มี มูล ทุก ข้อหา ทั้ง สอง สำนวน
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ ทั้ง สาม สำนวน
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา288 ประกอบ มาตรา 80 กระทง หนึ่ง จำคุก 12 ปี ผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 140 วรรคสาม และ มาตรา 289 (2) ประกอบ มาตรา 80 เป็น กรรมเดียวผิด กฎหมาย หลาย บท ลงโทษ ตาม มาตรา 289 (2) ประกอบ มาตรา 80 ซึ่งเป็น บทหนัก ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ประกอบ มาตรา 52 (1) จำคุกตลอด ชีวิต และ ผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง จำคุก 1 ปีเนื่องจาก ศาล พิพากษา ลงโทษ ใน ความผิด ตาม มาตรา 289 (2) ประกอบ มาตรา 80 จำคุก ตลอดชีวิต แล้ว จึง ไม่ อาจ นำ โทษ ใน ความผิด กระทง อื่นมา รวมกับ โทษ จำคุก ตลอดชีวิต และ ไม่ อาจ นับ โทษ จำเลย ใน สำนวนทั้ง สาม ติดต่อ กัน ตาม ที่ โจทก์ ที่ 2 ที่ 3 ขอ มา คง จำคุก ตลอดชีวิต สถานเดียว ปืน กระสุนปืน และ ปลอก กระสุนปืน ของกลาง เป็น ทรัพย์ที่ จำเลย ใช้ ใน การ กระทำ ผิด ให้ ริบ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33คำขอ นอกจากนี้ ให้ ยก
จำเลย อุทธรณ์ ทั้ง สาม สำนวน
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย กระทำ ผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบ ด้วย มาตรา 80 เป็น 2 กระทง แต่ ศาลชั้นต้น ลงโทษจำคุก กระทงหนึ่ง 12 ปี และ อีก กระทง หนึ่ง ตลอด ชีวิต โจทก์ ทุก สำนวนไม่ อุทธณ์ จึง ลงโทษ ตาม ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ทั้ง จำเลย ยัง มีความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 วรรคสาม และ มาตรา 309 อีก ด้วย แต่ เป็น การ กระทำ กรรม เดียว ผิด กฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษ ตาม มาตรา289 ประกอบ ด้วย มาตรา 80 ซึ่ง เป็น บทหนัก ที่สุด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก ตลอด ชีวิต นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ฎีกา ทั้ง สาม สำนวน
ใน ปัญหา ว่า จำเลย มี เจตนา ฆ่า โจทก์ ที่ 2 ที่ 3 หรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัย ว่า จำเลย ไม่ มี สาเหตุ โกรธเคือง กับ โจทก์ ที่ 2 ที่ 3 มาก่อน โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง โจทก์ ที่ 2 เคย เป็น ผู้บังคับ บัญชา ของจำเลย และ มี ความสนิทสนม คุ้นเคย กัน แม้ โจทก์ ที่ 2 ที่ 3 ไป จับกุมจำเลย จำเลย ก็ ทราบ ดี ว่า เป็น เรื่อง ของ เจ้าหน้าที่ ป.ป.ป. โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ต้อง ให้ ความ ร่วมมือ ตาม หน้าที่ เท่านั้น โจทก์ ที่ 2ก็ ยัง ให้ ความ กรุณา แก่ จำเลย โดย แนะนำ ให้ จำเลย ให้การ ปฏิเสธไว้ ก่อน ทั้ง ที่ จำเลย ถูก จับ ได้ พร้อม ธนบัตร ของกลาง และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ป. ได้ อัดเสียง ของ จำเลย ไว้ ด้วย จำเลย จึง ไม่ น่าจะ มี เจตนา ฆ่า โจทก์ ที่ 2 ที่ 3 โดย ยิง ให้ ถึงแก่ความตาย ดัง จะเห็น ได้ ว่า เมื่อ จำเลย ยิง โจทก์ ที่ 3 ล้มลง แล้ว โจทก์ ที่ 3 ไม่อยู่ ใน ฐานะ ต่อสู้ กับ จำเลย จำเลย มี โอกาส จะ ยิง โจทก์ ที่ 3 อีกเป็น เวลานาน แต่ จำเลย ก็ หา ได้ ยิง โจทก์ ที่ 3 อีก ไม่ แม้ การ ที่จำเลย ยิง โจทก์ ที่ 3 ถูก ที่ ต้นคอ ใกล้เคียง กับ อวัยวะ สำคัญ เช่นหัวใจ ก็ ยัง ไม่ อาจ ถือ ว่า จำเลย จงใจ ยิง โจทก์ ที่ 3 ที่ อวัยวะสำคัญ เพราะ เป็น การ ยิง ใน ขณะ ที่ มี การ ยื้อแย่ง กัน จำเลย มิได้มี โอกาส เลือก ยิง จึง ยัง ฟัง ไม่ ได้ ว่า จำเลย ยิง โดย มี เจตนา ฆ่า ส่วน ที่ จำเลย ได้ บอก โจทก์ ที่ 2 ว่า โจทก์ ที่ 3 ถูก ยิง ที่ขั้วหัวใจ นั้น ก็ น่าเชื่อ ดัง ที่ จำเลย เบิกความ ว่า เป็น เรื่อง ที่จำเลย หลอก โจทก์ ที่ 2 ใน การ ต่อรอง ให้ โจทก์ ที่ 2 ยอม ให้ กระสุนปืน และ รถยนต์ แก่ จำเลย เพื่อ จำเลย จะ ได้ หลบหนี เท่านั้น หา ใช่เป็น เรื่อง ที่ จำเลย เชื่อ ว่า โจทก์ ที่ 3 ใกล้ จะ ตาย แล้ว จำเลยจึง ไม่ ยิง อีก แต่ อย่างใด ส่วน ที่ จำเลย ยิง โจทก์ ที่ 2 นั้น ก็ปรากฏ ว่า ขณะ ยิง จำเลย อยู่ ใกล้ กับ โจทก์ ที่ 2 และ มี โอกาส จะเลือก ยิง โจทก์ ที่ 2 ตรงไหน ก็ ได้ แต่ จำเลย กลับ ยิง ที่ ขา ของโจทก์ ที่ 2 หาก จำเลย มี เจตนา จะ ฆ่า โจทก์ ที่ 2 จำเลย คง ยิง ที่อวัยวะ ที่ สำคัญ กว่า นี้ และ หลังจาก นั้น จำเลย ก็ ไม่ ได้ ยิง โจทก์ที่ 2 อีก เช่นกัน พฤติการณ์ แห่ง คดี น่าเชื่อ ว่า จำเลย ยิง โจทก์ ที่ 2 ที่ 3 เพื่อ ให้ พ้น จาก การ ถูก จับกุม หรือ เพื่อ สะดวก แก่ การหลบหนี เท่านั้น เอง จำเลย มิได้ มี เจตนา ฆ่า โจทก์ ที่ 2 โจทก์ ที่ 3
ใน ปัญหา ที่ ว่า การ กระทำ ของ จำเลย เป็น ความผิด ฐาน ใด ศาลฎีกาวินิจฉัย ว่า การ กระทำ ของ จำเลย นอกจาก จะ เป็น ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 วรรคสาม และ มาตรา 309 ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย มา แล้ว จำเลย ยัง มี ความผิด ฐาน ทำร้าย ร่างกาย โจทก์ ที่ 2และ โจทก์ ที่ 3 เป็น 2 กระทง อีก ด้วย ตาม ที่ โจทก์ นำสืบ ไม่ ปรากฏว่า โจทก์ ที่ 2 ได้ รับ อันตราย แก่ กาย สาหัส ต้อง ป่วยเจ็บ ด้วยอาการ ทุกขเวทนา เกินกว่า 20 วัน หรือ ประกอบ กรณียกิจ ตาม ปกติ ไม่ ได้เกินกว่า 20 วัน ดัง ที่ โจทก์ กล่าว ใน ฟ้อง จำเลย จึง มี ความผิดสำหรับ การ ยิง โจทก์ ที่ 2 ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 296 กระทง หนึ่ง ส่วน ความผิด สำหรับ การ ยิง โจทก์ ที่ 3 นั้น โจทก์ นำสืบ ว่า โจทก์ที่ 3 ต้อง รักษา ตัว อยู่ ที่ โรงพยาบาล 12 วัน แล้ว ไป รักษา ตัว ต่อที่ บ้าน อีก โจทก์ ที่ 3 ต้อง หยุด ทำ งาน เกือบ 1 เดือน แพทย์ ผู้ทำการ ตรวจ บาดแผล ของ โจทก์ ที่ 3 ได้ ให้ ความเห็น ว่า บาดแผล หาย ได้ภายใน 30 วัน จึง ฟัง ได้ ว่า โจทก์ ที่ 3 ได้ รับ บาดเจ็บ จาก การ ยิงของ จำเลย จน ประกอบ กรณียกิจ ตาม ปกติ ไม่ ได้ เกินกว่า 20 วัน จำเลยจึง มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 298 อีก กระทง หนึ่ง
พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 296 ให้ จำคุก 3 ปี กระทง หนึ่ง และ มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 298 ให้ จำคุก 10 ปี อีก กระทงหนึ่ง รวม ให้ จำคุก มี กำหนด 13 ปี ส่วนความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 วรรคสาม และ มาตรา 309 นั้น เมื่อ ลงโทษ จำเลย ตาม มาตรา 298 ซึ่ง เป็น บท หนักที่สุด แล้ว จึงไม่ ต้อง ลงโทษ จำเลย ตาม บทกฎหมาย ดังกล่าว อีก นอกจาก ที่ แก้ ให้ คงเป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share