คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2491

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ฟ้องหาว่าจำเลยหน่วงเหนี่ยวกักขังคนเพื่อเอาสินไถ+บทก.ม. ขอให้ลงโทษ+เพียง ก.ม.อาญามาตรา 270 เท่านั้น ย่อมต้องเข้าใจว่าหมายถึงมาตรา 270 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย(ฉบับ ที่ 4)477 แล้ว ศาลงโทษตามพ.ร.บ.ที่แก้ไขเพิ่มเติมได้ไม่เป็นการเกินคำขอท้ายฟ้อง.

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยสมคบกันบังอาจหน่วงเหนี่ยวกักขังนางคล้อย เด็กชายบุญส่งโดยมิบังควรเพื่อเอาสินไถและใช้อำนาจดวยกำลังกายหรือข่มขู่ด้วยวาจาขู่เข็ญข่มขืนกระทำชำเรานางคล้อย ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.อาญามาตรา ๒๔๓,๒๗๐.
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามก.ม.อาญา ม.๒๔๓,๒๗๐ ละพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ก.ม.ลักษณะอาญาตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ก.ม.ลักษณะอาญา ๒๔๗๗ (ฉฉบับที่ ๔)มาตรา ๓,๔
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า การที่ศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ก.ม. ลักษณะอาญา (ฉบับที่ ๔)๒๔๗๗ มาตรา ๓,๔ ซึ่งโจทก์มิได้ระบุท้ายฟ้องนั้นมิชอบ จึงแก้เป็นว่าให้ลงโทษตาม ม.๒๔๓,๒๗๐
โจทก์,จำเลยฎีกา
ศาลฎีกา เห็นว่า แต่เดิมเรื่องจับคนเพื่อสินไถ่นี้ไม่มีบัญญัติไว้ใน ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๒๗๐ โดยเฉพาะต่อมา พ.ร.บ.ที่กล่าวนั้นให้เติมความเรื่องนี้ลงในมาตรา ๒๗๐ เมื่อเป็นดังนี้ เพียงแต่ระบุก.ม.ลักษณะอาญา ๒๗๐ เท่านั้นก็ต้องเข้าใจว่า หมายถึงมาตรา ๒๗๐ ที่ได้แก้ไขเพิ่มแล้ว จึงพิพากษาแก้ว่าจำเลยผิดตามมาตรา ๒๔๓ และมาตรา ๒๗๐ ที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว

Share