คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ทนายจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ตามอำนาจที่จำเลยมอบไว้ให้ในใบแต่งทนายความสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมมีผลผูกมัดจำเลยจำเลยจะอุทธรณ์ว่าทนายจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลยก่อนและมิได้้แจ้งผลของคดีให้จำเลยทราบไม่ได้เพราะเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เข้าเหตุใดเหตุหนึ่งตามข้อยกเว้นของมาตรา138วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งระบุว่าจำเลยยอมชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้องภายในกำหนด1ปีนับแต่วันทำยอมโดยมิได้ระบุจำนวนเงินตามฟ้องว่าเป็นเงินเท่าใดนั้นไม่ใช่ข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายส่วนจำเลยจะต้องชำระเงินให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเท่าใดนั้นเมื่อมีข้อโต้เถียงกันขึ้นก็เป็นเรื่องที่ต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เป็น ลูกจ้าง ประจำ ของ โจทก์ ดำรง ตำแหน่งผู้จัดการ เหมือง ปิล็อก ของ โจทก์ จำเลย ได้ ทำ รายงาน กิจการ เหมืองประจำ เดือน และ บัญชี เงินสด ซึ่ง แสดง ค่าใช้จ่าย ประจำ เดือน ของเหมือง เสนอ ต่อ โจทก์ เป็น เท็จ โดย รายงาน จำนวน แร่ ที่ ขุด ได้มากกว่า ความ เป็นจริง ทั้ง เบิกเงิน ค่าแรง ทำแร่ สำหรับ จ่าย แก่ผู้ รับจ้าง ทำแร่ มากกว่า ที่ จ่าย ไป จริง และ จำเลย ได้ ขอ ยืม เงินทดรองจ่าย หมุ่นเวียน ใน การ ซื้อ ของ สำหรับ ร้านค้า เหมืองปิล็อกแล้ว ไม่ คืน แก่ โจทก์ ภายใน กำหนด โจทก์ ทำการ สอบสวน ความผิด ของจำเลย แล้ว มี คำสั่ง ให้ จำเลย ออกจาก งาน จำเลย ต้อง รับ ผิด ชำระเงิน คืน แก่ โจทก์ รวม 328,707.37 บาท โจทก์ ทวงถาม แล้ว จำเลย ไม่ชำระ ขอ ให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย ทำ รายงาน จำนวน แร่ และ เบิกเงิน ค่าแรง ทำแร่ มากกว่า ที่ เป็นจริง เพราะ ทำ โดย ใช้ วิธี ประมาณจาก ยอดแร่ ที่ ผลิต ได้ ใน ปี ก่อนๆ มา เฉลี่ย ซึ่ง เป็น การ ปฏิบัติตาม ปกติ ที่ เคย ปฏิบัติ กัน มา ก่อน ที่ จำเลย ได้ รับ แต่งตั้งเป็น ผู้จัดการ เหมือง จำเลย ไม่ มี เจตนา รายงานเท็จ จำเลย ยอมรับว่า ได้ ยืมเงิน ทดรอง จาก โจทก์ จริง แต่ ไม่ มี หน้าที่ ต้อง คืนให้ แก่ โจทก์ เพราะ จำเลย ยืม ใน ฐานะ เป็น ผู้จัดการ เหมือง มิใช่ยืม เป็น การ ส่วนตัว ทั้ง เงิน ดังกล่าว ก็ นำ มา ใช้จ่าย ใน การจัดซื้อ เครื่อง อุปโภค บริโภค เพื่อ ทดรองจ่าย ให้ แก่ กรรมกรเหมืองแร่ จำเลย ไม่ ต้อง รับผิด การ ที่ โจทก์ ให้ จำเลย ออกจาก งานโดย ไม่ มี ความผิด เป็น การ เลิกจ้าง ไม่ เป็น ธรรม ขอ ให้ ยกฟ้องโจทก์ และ ให้ โจทก์ จ่ายเงิน ค่าชดเชย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า เงินบำเหน็จ เงินโบนัส แก่ จำเลย
โจทก์ ให้การ แก้ ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย กระทำ ผิด ต่อ ระเบียบ วินัยของ ทางราชการ อย่าง ร้ายแรง โจทก์ ให้ จำเลย ออกจาก งาน ไม่ ใช่เป็น การ เลิกจ้าง ไม่ เป็นธรรม โจทก์ ไม่ ต้อง จ่ายเงิน ตาม ฟ้องแย้งให้ แก่ จำเลย
ใน ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลแรงงานกลาง ทนาย โจทก์ กับ ทนาย จำเลยตกลง กัน ได้ จึง ทำ สัญญา ประนี ประนอม ยอมความ ใน ศาล มี ข้อความ ว่า’ข้อ 1. จำเลย ยอม ชำระ เงิน ให้ โจทก์ ตาม ฟ้อง ภายใน กำหนด 1 ปีนับแต่วัน ทำยอม นี้ ผิดนัด ให้ บังคับคดี พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตราร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ โจทก์ ข้อ 2. โจทก์พอใจ ไม่ ติดใจ ใดๆ อีก’ ศาลแรงงานกลาง มี คำพิพากษา ตามยอม ไป แล้ว
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนกคดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า ใน คดี ที่ คู่ความ ตกลง กัน หรือประนี ประนอม ยอมความ กัน ใน ประเด็น แห่ง คดี โดย มิได้ มี การ ถอนคำฟ้อง เมื่อ ข้อตกลง หรือ การ ประนี ประนอม ยอมความ นั้น ไม่ เป็นการ ฝ่าฝืน ต่อ กฎหมาย และ ศาล พิพากษา ตามยอม ไป แล้ว นั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 บัญญัติ ห้าม มิให้ อุทธรณ์คำพิพากษา เช่นว่า นั้น เว้นแต่ ใน เหตุ ต่อไปนี้ (1) เมื่อ มีข้อ กล่าวอ้าง ว่า คู่ความ ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ฉ้อฉล (2) เมื่อ คำพิพากษานั้น ถูก กล่าวอ้าง ว่า เป็น การ ละเมิด ต่อ บทบัญญัติ แห่ง กฎหมายอัน เกี่ยวด้วย ความ สงบเรียบร้อย ของ ประชาชน (3) เมื่อ คำพิพากษานั้น ถูก กล่าวอ้าง ว่า มิได้ เป็น ไป ตาม ข้อตกลง หรือ การ ประนีประนอม ยอมความ ตาม ข้อเท็จจริง คดี นี้ ได้ความ ว่า ทนายจำเลย ทำสัญญา ประนี ประนอม ยอมความ กับ โจทก์ ตาม อำนาจ ที่ จำเลย มอบ ไว้ให้ ใน ใบแต่ง ทนายความ ไม่ ใช่ ทนาย จำเลย ทำ โดย ปราศจาก อำนาจดังนั้น สัญญา ประนี ประนอม ยอมความ ยึง มี ผล ผูกมัด จำเลย ข้อ ที่จำเลย อุทธรณ์ ว่า ทนาย จำเลย ทำ สัญญา ประนี ประนอม ยอมความ กับ โจทก์โดย มิได้ รับ ความ ยินยอม จาก จำเลย ก่อน และ มิได้ แจ้งผล ของ คดีให้ จำเลย ทราบ นั้น เป็น อุทธรณ์ ที่ ไม่ เข้า เหตุหนึ่ง เหตุใด ตามข้อยกเว้น ดังกล่าว ซึ่ง จำเลย จะ มี สิทธิ อุทธรณ์ คำพิพากษา สำหรับสัญญา ประนี ประนอม ยอมความ ข้อ 1. ซึ่ง ระบุ ว่า จำเลย ยอม ชำระ เงินให้ โจทก์ ตาม ฟ้อง ภายใน กำหนด 1 ปี นับแต่ วัน ทำยอม นี้ โดย มิได้ระบุ จำนวน เงิน ตาม ฟ้อง ว่า เป็น เงิน เท่าใด นั้น ไม่ ใช่ เป็นข้อตกลง หรือ การ ประนี ประนอม ยอมความ ที่ ฝ่าฝืน ต่อ กฎหมาย ส่วนจำเลย จะ ต้อง ชำระ เงิน ให้ แก่ โจทก์ เป็น จำนวน เท่าใด นั้น เมื่อมี ข้อโต้เถียง กัน ขึ้น ก็ เป็น เรื่อง ที่ ต้อง ว่ากล่าว กัน ในชั้น บังคับคดี ไม่ ใช่ เหตุ ซึ่ง จะ มา ขอ ให้ ศาล เพิกถอน สัญญาประนี ประนอม ยอมความ หรือ คำพิพากษา
พิพากษายืน

Share