แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
ใบสำคัญการสมรสใบมรณบัตรสูติบัตรเป็นเอกสารมหาชนให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา127. แม้ส.ซึ่งเป็นคนขับรถโดยสารคันเกิดเหตุของจำเลยที่3จะเป็นเพียงผู้รับจ้างขับรถเป็นรายเที่ยวก็ถือได้ว่าส.เป็นลูกจ้างและขับรถโดยสารคันเกิดเหตุในทางการที่จ้างของจำเลยที่3จำเลยที่3ต้องร่วมรับผิดกับส.ในผลแห่งละเมิดด้วย. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องร่วมรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยไม่จำกัดความรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ห้างหุ้นส่วนฯก่อให้เกิดขึ้น.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น ภริยา โจทก์ ที่ 2 เป็น ผู้เยาว์และ เป็น บุตร โดย ชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย จารุวัฒน์ จารโยภาส จำเลยที่ 1 และ ที่ 3 เป็น ห้างหุ้นส่วน จำกัด มี จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 เป็นหุ้นส่วน ผู้จัดการ คืน เกิดเหตุ นาย จารุวัฒน์ ได้ โดยสาร รถ หมายเลขทะเบียน กท. 7 ม 4681 ซึ่ง จำเลย ที่ 3 เป็น ผู้ ครอบครอง นาย เสมอสายด้วง เป็น ผู้ ขับขี่ ตาม ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4จาก กรุงเทพมหานคร เพื่อ ไป ยัง จังหวัด สกลนคร จำเลย ที่ 1 ประกอบกิจการ นำเที่ยว รวมถึง การ รับ ขน ผู้โดยสาร ระหว่าง กรุงเทพมหานครกับ จังหวัด สกลนคร โดย ใช้ ชื่อ ประกอบ กิจการ ว่า ‘เอราวัณทัวร์’และ ยอม ให้ จำเลย ที่ 3 นำ รถยนต์ โดยสาร คัน ดังกล่าว เข้า แล่น ในนามของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 5 เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 6 กระทำการใน ทางการ ที่ จ้าง ของ จำเลย ที่ 6 ซึ่ง เป็น เจ้าของ รถยนต์ บรรทุกหมายเลข ทะเบียน ขก 17727 คืน เกิดเหตุ ขณะ ที่ รถ ที่ นาย เสมอ และจำเลย ที่ 5 ขับ แล่น สวนทาง กัน บน เส้นทาง สาย อุดรธานี – ขอนแก่นต่าง ขับรถ โดย ความ ประมาท เป็น เหตุ ให้ รถ ทั้ง สอง คัน ชน กันรถ โดยสาร เอราวัณทัวร์ เสียหลัก หัวรถ ปัก ลง ไหล่ถนน ไฟ ลุกไหม้ ทั้งคัน คน โดยสาร ตาย รวม 17 คน รวมทั้ง นาย จารุวัฒน์ ด้วย จำเลย ทั้ง6 จึง ต้อง ร่วมกัน รับผิด ชดใช้ ค่าสินไหม ทดแทน แก่ โจทก์ ทั้ง สองคือ ค่าขาดไร้ อุปการะ เลี้ยงดู ค่า ทำศพ รวม 630,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี นับ แต่ วันนัด จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
ศาลชั้นต้น จำหน่าย คดี จำเลย ที่ 2
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่น คำให้การ และ ขาดนัด พิจารณา
จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ให้การ ว่า โจทก์ ที่ 1 ไม่ ได้ จด ทะเบียน สมรสกับ นาย จารุวัฒน์ โจทก์ ที่ 2 ไม่ ได้ เป็น บุตร โดย ชอบ ด้วย กฎหมายของ นาย จารุวัฒน์ จึง ไม่ มี อำนาจฟ้อง จำเลย ที่ 4 ไม่ ต้อง รับผิดเป็น ส่วนตัว วัน เกิดเหตุ นาย เสมอ รับจ้าง ขับรถ เป็น รายเที่ยว จึงไม่ ใช่ ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 เหตุ รถ ชนกัน เนื่องจากความ ประมาท ของ จำเลย ที่ 5 โจทก์ เรียก ค่า อุปการะ เลี้ยงดู 20 ปีนาน เกิน ควร หาก จำเลย ทั้ง สอง จะ ต้อง รับผิด ก็ ไม่ ควร เกิน 20,000 บาท ขอ ให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 5 และ ที่ 6 ให้การ ว่า เหตุ ละเมิด มิได้ เป็น ความผิด ของจำเลย ที่ 5 จำเลย ที่ 5 และ ที่ 6 จึง ไม่ ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าสินไหม ทดแทน ให้ โจทก์ ค่าปลงศพ หาก โจทก์ ต้อง จ่าย จริง ก็ ไม่เกิน1,000 บาท ส่วน ค่า อุปการะ เลี้ยงดู ไม่ ควร เกิน เดือน ละ 1,000บาท ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ร่วมกัน ใช้ เงิน แก่โจทก์ 252,000 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี นับแต่วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ และ ให้ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ร่วมกันชดใช้ ค่าฤชา ธรรมเนียม กับ ค่า ทนายความ แทน โจทก์ ทั้ง สอง 2,000 บาทให้ ยกฟ้อง โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 1 ที่ 5 และ ที่ 6
จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน ให้ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ใช้ ค่า ทนายความชั้นอุทธรณ์ 1,000 บาท แทน โจทก์ ทั้ง สอง
จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘ฯ ใน ปัญหา เรื่อง อำนาจฟ้อง นั้น โจทก์ ที่ 1นำสืบ ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น ภริยา โดย ชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นายจารุวัฒน์ ปรากฏ ตาม ใบสำคัญ การ สมรส เอกสาร หมาย จ.1 โจทก์ ที่ 2เป็น บุตร ของ นาย จารุวัฒน์ อัน เกิด จาก โจทก์ ที่ 1 ปรากฏ ตามสูติบัตร เอกสาร หมาย จ.2 เนื่องจาก ใบสำคัญ การ สมรส กับ สูติบัตรเป็น เอกสาร มหาชน ให้ สันนิษฐาน ไว้ ก่อน ว่า เป็น ของ แท้จริง และถูกต้อง เป็น หน้าที่ ของ คู่ความ ฝ่าย ที่ ถูก อ้าง เอกสาร นั้น มา ยันต้อง นำสืบ ความ ไม่ บริสุทธิ์ หรือ ความ ไม่ ถูกต้อง แห่ง เอกสาร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 และ ปรากฏ ว่า จำเลย ที่ 3และ ที่ 4 มิได้ นำสืบ หักล้าง ข้อสันนิษฐาน ดังกล่าว แต่ อย่างใด ศาลย่อม รับ ฟัง เอกสาร ทั้ง สอง นั้น เป็น พยาน ได้ ตาม เอกสาร หมาย จ.1ระบุ ชัด ว่า โจทก์ ที่ 1 จด ทะเบียน สมรส กับ นาย จารุวัฒน์ ที่ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัด สกนครฯ และ เอกสาร หมาย จ.2 ระบุ ว่า นาย จารุวัฒน์เป็น บิดา โจทก์ ที่ 2 โจทก์ ที่ 1 เป็น มารดา โจทก์ ที่ 2 ดังนั้นโจทก์ ทั้งสอง จึง มี อำนาจฟ้อง คดีนี้’
ฯลฯ
ปัญหา ที่ ว่า จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 จะ ต้อง ร่วม รับผิด ต่อ โจทก์หรือ ไม่ นั้น ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ว่ารถโดยสาร คัน เกิดเหตุ เป็น ของ จำเลย ที่ 3 ซึ่ง เป็น นิติบุคคล ประเภทห้างหุ้นส่วน จำกัด มี จำเลย ที่ 4 เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ ไม่ จำกัดความ รับผิดฯ นาย เสมอ เป็น คน ขับรถ โดยสาร คัน เกิดเหตุ ใน ขณะเกิด ชนกัน แม้ นาย เสมอ รับจ้าง ขับรถ โดยสาร คัน เกิดเหตุ เป็นรายเที่ยว ดัง ข้อต่อสู้ ของ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ก็ ตาม ก็ ย่อมถือ ได้ ว่า นาย เสมอ เป็น ลูกจ้าง และ ขับรถ โดยสาร คัน เกิดเหตุ ในทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 3 จำเลย ที่ 3 จึง ต้อง ร่วม รับผิด กับนาย เสมอ ใน ผล แห่ง ละเมิด ด้วย ส่วน จำเลย ที่ 4 ต้อง ร่วม รับผิด กับจำเลย ที่ 3 ใน ฐานะ เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ ของ จำเลย ที่ 3 ซึ่ง จะต้อง ร่วม รับผิด ต่อ โจทก์ ซึ่ง เป็น บุคคล ภายนอก โดย ไม่ จำกัด ความรับผิด’
ส่วน ปัญหา ที่ ว่า นาย จารุวัฒน์ ได้ โดยสาร มา ใน รถโดยสาร คันเกิดเหตุ ใน ขณะ เกิดเหตุ หรือไม่ นั้น ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘ฯ ฝ่ายจำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 คง มี แต่ จำเลย ที่ 4 ปากเดียว เบิกความ ขึ้นลอยๆ ว่า นาย จารุวัฒน์ มิได้ โดยสาร มา ใน รถโดยสาร คัน เกิดเหตุ โดยเหตุ ที่ ใบมรณบัตร เป็น เอกสาร มหาชน กฎหมาย ให้ สันนิษฐาน ไว้ ก่อนว่า เป็น ของ แท้จริง และ ถูกต้อง จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 มี หน้าที่นำสืบ ความ ไม่ บริสุทธิ์ หรือ ไม่ ถูกต้อง แห่ง เอกสาร นั้น เมื่อไม่ สามารถ นำสืบ หักล้าง ข้อสันนิษฐาน ดังกล่าว ได้ ศาล ก็ รับ ฟังใบมรณบัตร เป็น พยาน ได้ คดี จึง ฟัง ได้ ว่า นาย จารุวัฒน์ ได้ถึงแก่กรรม ใน รถโดยสาร คัน เกิดเหตุ ชนกัน รายนี้ จริง’
ฯลฯ
พิพากษา ยืน ให้ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ใช้ ค่า ทนายความ ชั้น ฎีกาให้ โจทก์ ทั้ง สอง 2,000 บาท